จากที่ พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ ได้รายงานเกี่ยวกับการประกาศของกระทรวงกลาโหมจีน (MND) เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางกองทัพไทยไว้อน่าสนใจอย่างยิ่งนั้น
ทั้งนี้รายงานเปิดเผยว่า กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) เตรียมจัดการฝึกร่วม “Falcon Strike 2022” ร่วมกับกองทัพไทย (RTAF) เป็นเวลา 10 วัน ที่จังหวัดอุดรธานี โดยเริ่มในวันที่ 14 ส.ค.65
ท่ามกลางความวุ่นวายในภูมิภาคที่เกิดจากการแทรกแซงจากภายนอกในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งสะท้อนให้เห็นการแลกเปลี่ยนทางทหารที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่าง PLA และ RTAF
ตามรายงาน MND ของจีน การฝึกหลักของปีนี้ ได้แก่ การสนับสนุนทางอากาศ การโจมตีภาคพื้นดิน และการใช้กำลังทางอากาศ โดยกองทัพอากาศจีนจะส่งเครื่องบินขับไล่ J-10C/S จำนวน 6 ลำ เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7AI และเครื่องบินเตือนล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ KJ-500 เพื่อเข้าร่วมฝึก
ขณะที่ประเทศไทยส่งเครื่องบินกริพเพน 5 ลำ เครื่องบินโจมตีอัลฟ่าเจ็ท 3 ลำ และเครื่องบินเตือนล่วงหน้าและควบคุม SAAB 340 AEW อีก 1 ลำ
ด้านเพจ World Update ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 โดยอ้างถึงที่มา globaltimes ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า
“ความวุ่นวายในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ที่เกิดจากการแทรกแซงจากชาติตะวันตกภายนอกภูมิภาค กองทัพจีน (PLA) จึงจะจัดซ้อมรบร่วมกับกองทัพไทยภายใต้รหัส “Falcon Strike 2022” ช่วงวันที่ 14 – 24 ส.ค.2565 การฝึกซ้อมครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ปี 2558 การฝึกครั้งสุดท้ายจัดขึ้นในปี 2562 ที่จังหวัดอุดรธานี
การฝึกซ้อมหลักของปีนี้ ได้แก่ การสนับสนุนทางอากาศ การโจมตีภาคพื้นดิน และการใช้กำลัง เครื่องบินทิ้งระเบิด JH-7A ของจีนมีรัศมีการต่อสู้ประมาณ 1,500 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการโจมตีทางอากาศสู่พื้นดินระยะไกลด้วยความสามารถในการต่อสู้ป้องกันตัว เมื่อร่วมกับเครื่องบินควบคุมทางอากาศ KJ-500 จะทำให้ กองทัพไทยได้พิจารณาถึงบทบาทของเครื่องบินเตือนล่วงหน้าและเครื่องบินควบคุมทางอากาศของจีน และความสามารถในการค้นหาเป้าหมายทางอากาศในระยะไกล
เนื่องจากกองทัพบก และกองทัพเรือของไทย ได้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนแล้ว ส่วนกองทัพอากาศไทยช่วงการซ้อมรบร่วมครั้งล่าสุดในปี 2019 มีความประทับใจเครื่องบินขับไล่ J-10C/S ของจีนมาก และไทยยังซื้อเฮลิคอปเตอร์จากรัสเซียอีกด้วย
อาวุธส่วนใหญ่กองทัพอากาศไทยซื้อจากตะวันตก และใช้วิธีการฝึกอบรมแบบตะวันตก การฝึกซ้อมนี้จะช่วยให้จีนมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์และยุทธวิธีของอาวุธตะวันตก ส่วนกองทัพอากาศไทยก็เรียนรู้ประสิทธิภาพอาวุธยุทธวิธีของตะวันออกจากจีน รับรู้การเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยของกองทัพอากาศจีน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การฝึกซ้อมนี้ยังมีเป้าหมายในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ยังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลก
การซ้อมรบกองทัพจีน-ไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันและมิตรภาพระหว่างกองทัพอากาศของทั้งสองประเทศ กระชับความร่วมมือในทางปฏิบัติ และส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมจีน-ไทย
การซ้อมรบที่กำลังจะมีขึ้นนี้เป็นหนึ่งในการซ้อมรบร่วมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ โดยมีวิชาการฝึกที่ซับซ้อนและอุปกรณ์ทางทหารที่สมบูรณ์ แม้สหรัฐจะแสวงหาแนวร่วมทางทหารและกดดันอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งไทย วางตัวเป็นกลางไม่ต้องการเข้าข้างทั้งจีน และสหรัฐเพื่อต่อต้านจีน
อาเซียนต้องการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางการเมืองและการทหารกับประเทศต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ของตนเองจะสูงสุด จีนและไทยเป็นเพื่อนและเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ในภูมิภาคที่ซับซ้อนและผันผวน
การจัดซ้อมรบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจซึ่งกันและกันทั้งทางการเมือง และการทหารระหว่างสองประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ประเทศนอกภูมิภาคภายนอกต่อต้านจีนโดยดึงไทยไปเข้าข้าง ใครไม่กดดันเอาเปรียบ ไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของไทย และซื้อสินค้าไทยมากมิตรภาพก็มากตามไปด้วย เพราะไทยอยู่เป็น”