เปิดเบื้องลึก “อินโดฯไม่ตามก้นสหรัฐ” แจ้นให้จำกัดน้ำมันรัสเซีย แถมสวนกลับทำประเทศอื่นเดือดร้อน

0

จากที่วันนี้ 13 สิงหาคม 2565 มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกครั้งเกี่ยวกับประเทศอาเซียนต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพจThailand Vision ก็ได้นำเสนอไว้อย่างมีนัยยะสำคัญ ที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้โดยข้อมูลระบุถึงสื่อต่างประเทศรายงานว่า ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังเสาะหาแรงสนับสนุนจากพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น และอินเดีย ในการกำหนดมาตรการจำกัดเพดานควบคุมราคาน้ำมันรัสเซีย แต่บรรดานักวิเคราะห์มองว่า อินโดนีเซียน่าจะปฏิเสธความพยายามล็อบบี้ดังกล่าว ซึ่งคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้

เอลิซาเบธ โรเซนเบิร์ก ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านต่อต้านเงินอุดหนุนก่อการร้าย และอาชญากรรมทางการเงิน อยู่ระหว่างเดินทางเยือนกรุงจาการ์ตา เป็นเวลา 2 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อพบปะกับบรรดาผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเล และการลงทุน

(L-R) EU Council President Donald Tusk, Italian Prime Minister Giuseppe Conte, Japanese Prime Minister Shinzo Abe, U.S. President Donald Trump, French President Emmanuel Macron, German Chancellor Angela Merkel, Canadian Prime Minister Justin Trudeau attend a work session during the G7 summit in Biarritz, France, August 26, 2019. Ian Langsdon/Pool via REUTERS

ระหว่างพบปะพุดคุยกับ โรเซนเบิร์ก ประณามสงครามที่ปราศจากการยั่วยุ และไม่ชอบธรรมของรัสเซียในยูเครน และหารือถึงความพยายามต่างๆ ในการลดผลกระทบที่ลุกลามออกมาจากสงคราม ในนั้นรวมถึงความเป็นไปได้ของการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

โรเซนเบิร์ก สานต่อความพยายามของ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่เคยเรียกร้องมาตรการนี้ระหว่างร่วมประชุมกับรัฐมนตรีคลังจี 20 และบรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม โดยเยลเลน ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศรีมุลยานี รัฐมนตรีคลังอินโดนีเซีย และลูฮุท ปันด์จัยตัน ผู้ประสานงานกระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุน เรียกร้องให้สนับสนุนแผนกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

ในตอนนั้น ศรีมุลยานี ตอบกลับเพียงว่า อินโดนีเซียจะพิจารณาผลที่ตามมาจากการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เนื่องจากมันจะส่งผลกระทบต่อบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลาย รวมถึงประเทศผู้ซื้อด้วย

นอกเหนือจากอินโดนีเซีย สหรัฐฯ จะพูดคุยกับมาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ด้วยเช่นกัน เพื่อโน้มน้าวให้สนับสนุนเป้าหมายของจี 7 ในการฉุดราคาน้ำมันรัสเซียให้ลดต่ำลง จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่วอชิงตันรายหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับจาการ์ตาโพสต์

ถ้าจาการ์ตาสนับสนุนข้อเสนอนี้ เจ้าหน้าที่วอชิงตัน ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนามอ้างว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับอินโดนีเซียเอง เพราะว่าปัจจุบันรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับการอุดหนุนราคาน้ำมัน

ในปีนี้ อินโดนีเซียต้องจัดสรรงบประมาณไปแล้วกว่า 502 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 34,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากระดับ 170 ล้านล้านรูเปียห์ในปีที่แล้ว สำหรับอุดหนุนราคาพลังงาน สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูง ขณะที่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ยอมรับเมื่อวันอังคาร (9 ส.ค.) ว่ามาตรการอุดหนุนน้ำมันในปัจจุบันนั้นใช้เงินมากเกินไป

ที่ประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน บรรดาผู้นำจี7 บอกว่าจะพิจารณากำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เพื่อควบคุมแหล่งเงินทุนทำสงครามของเครมลิน ด้วยที่คาดหมายว่ากลไกกำหนดเพดานนี้อาจเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม บรรดานักวิเคราะห์คาดว่า อินโดนีเซีย ไม่น่าจะสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของจี 7 คงอยากรอดูก่อนว่าจีนกับอินเดีย จะเข้าร่วมในแผนการนี้หรือไม่

“ระหว่างกลุ่มประเทศจี 7 จีนและอินเดีย น่าจะพิจารณาในเรื่องนี้มากกว่าอินโดนีเซีย เนื่องจาก จีน เป็นหนึ่งในผู้นำเข้าน้ำมันรัสเซียรายใหญ่ที่สุด” Bhima Yudhistira ซีอีโอของศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจและกฎหมายในจาการ์ตา กล่าว

Bhima อ้างด้วยว่าอินโดนีเซียมีหลักการนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระและคล่องตัว ซึ่งนั่นหมายความว่าอินโดนีเซียจะไม่เลือกฝ่ายไหน ไม่ว่าจะเป็นตะวันตกหรือรัสเซีย อินโดนีเซียไม่น่าจะเข้ารวบมาตรการจำกัดเพดานราคาน้ำมัน เพราะนั่นอาจเท่ากับเป็นการสนับสนุนการคว่ำบาตรรัสเซีย และจนถึงตอนนี้ อินโดนีเซีย ไม่ต้องการเกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้ Bhima ระบุว่า “อินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันรัสเซีย ในปริมาณที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการนำเข้าจากบรรดาเทรดเดอร์น้ำมันดิบที่มีสำนักงานในสิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจได้ว่า สหรัฐฯ พยายามโน้มน้าวให้ อินโดนีเซีย สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประธานปัจจุบันของจี 20 ซึ่งมีรัสเซียอยู่ในฐานะชาติสมาชิก สหรัฐฯ คาดหวังว่าอินโดนีเซียจะเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองใส่รัสเซีย เพื่อยุติสงครามในยูเครน” Bhima ระบุ