ไบเดนเหวอ!?ศก.สหรัฐสาหัส เงินเฟ้อ+ถดถอย แม้โชว์CPI ๘.๕% แต่ไข่-สินค้าราคาพุ่ง เฟดจ่อขึ้นดอกแรง ๓.๕๐%

0

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เข้าสู่ภาวะสแต็คเฟลชั่น(Stagflation)เพราะว่าเจอทั้งเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ถดถอยในเวลาเดียวกัน ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม ไม่ร้อนแรงเท่าที่คาดหมายไว้ แต่ราคาสินค้ายังพุ่งไม่หยุด แม้แต่ไข่ไก่ของไบเดนยังแพงทั้งแผ่นดิน ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯกลับไม่ดี้ด๊า ปิดในกรอบแคบๆเหมือนไม่ค่อยแน่ใจในรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่าดีขึ้น  ทั้งด้านธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเชิงรุก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก เรียกว่าลากเศรษฐกิจโลกมาค้ำยันแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐก็ว่าได้

ประเด็นเรื่องราคาสินค้าพุ่งส่วน ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯทำให้น่าสงสัย เพจสาธารณะWorld Maker รายงานไว้ดังนี้:

ไข่ไก่อเมริกาพุ่งหนัก !!! เงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่แท้จริงคือ +๘.๕% จริงหรือ ?? เพราะล่าสุดพบว่าราคาไข่ไก่แพงขึ้นถึง +๔๗% ในเดือนก.ค. และอาหารอีกหลายอย่างก็ดีดตัวมากกว่า +๒๐% เลยทีเดียว ! งานนี้ชาวโลกเริ่มไม่แน่ใจว่าเงินเฟ้อในชีวิตจริงที่ไม่ใช่ตัวเลขมันเท่าไหร่กันแน่ ??

หลังจากสหรัฐฯ พึ่งประกาศ CPI ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ที่ ๙.๕% ไม่นานนี้ แต่ปัจจุบันหลายคนเริ่มไม่แน่ใจแล้วเหมือนกันว่าจริง ๆ เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เป็นเท่าไหร่กันแน่ ?? เพราะล่าสุดมีรายงานออกมาว่าราคาไข่ไก่ในร้านขายของชำของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นถึง +๔๗% เมื่อเทียบจากเดือน ก.ค. ปีก่อน

ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าราคาสินค้าอีกหลายอย่างพุ่งขึ้นมากกว่า +๒๐% ยกตัวอย่างเช่น ส้มสด (+๒๗%), เนย (+๒๖%), อาหารกลางวัน (๒๔%), อาหารแช่แข็ง (๒๓%)

ราคาสินค้าต่าง ๆ พุ่งขึ้นจากปัญหาทางด้าน Supply Chain โดยเฉพาะหลังจากมีปัจจัยกดดันเรื่องการระบาดของไข้หวัดนกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของหสรัฐฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ซ้ำเติมโควิดที่ยังไม่หมดไป

ราคาอาหารโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย +๑๔% เมื่อเทียบเป็นรายปีตลอดเดือนนี้ ซึ่งดูจะสวนทางกับตัวเลข CPI ที่ออกมาเพียง +๘.๕% เท่านั้น ! จึงเกิดเป็นคำถามมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตอนนี้เป็นเท่าไหร่กันแน่ ? จะตรงตาม CPI หรือจริง ๆ สูงกว่านั้นเยอะ ??

มาดูการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ชัดเจนว่าจะดำเนินการต่อไปไม่หยุด อ้างคุมเงินเฟ้อของตัวเอง เป็นการสั่นคลอนความมั่นคงทางการเงินของประเทศอื่นๆ  อีกทั้งยังเป็นการสุมเชื้อไฟให้เงินเฟ้อทั่วโลกทวีความรุนแรงขึ้นอีกด้วย สาเหตุสำคัญคือการที่ดอลลาร์สหรัฐยังเป็นสกุลเงินหลักของโลก เมื่อสหรัฐเปิดสงครามค่าเงินดันดอลลาร์แข็งค่าไม่หยุดย่อมส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก

‘สงครามค่าเงิน’ (currency war) หมายถึงแทรกแซงค่าเงินของตนเอง โดยทั่วไปจะทำให้อ่อนค่ากว่าความเป็นจริงเพื่อให้สินค้าส่งออก ‘ราคาถูก’ กว่าที่ควรจะเป็นโดยมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในต่างแดน  แต่สถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกลับกัน เพราะสหรัฐทำ ‘สงครามค่าเงินแบบกลับด้าน’ (reverse currency wars) โดยทำให้เงินของตนเอง ‘แข็งค่า’ เพื่อลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง

การขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ แบบก้าวกระโดดย่อมทำให้เงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งนักลงทุนจำนวนมากมองว่ามั่นคง กลายเป็นหลุมหลบภัยชั้นเยี่ยมในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงเช่นในปัจจุบัน เม็ดเงินที่เคยกระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลกอาจไหลกลับไปอยู่ในรูปสกุลดอลลาร์สหรัฐ ผลักให้เกิดการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตลอด ๑ ปีที่ผ่านมาเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแล้วกว่า๑๓ เปอร์เซ็นต์ เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อปราบเงินเฟ้อ เงินสกุลดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน ประเทศอื่นที่ไม่ใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักก็ต้องเผชิญภาวะอ่อนค่าอย่างรวดเร็วและรุนแรงเป็นเช่นนี้ทั่วทุกภูมิภาคของโลก

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ชะลอตัวลงในเดือนก.ค. ถือเป็นข้อมูล “ในเชิงบวก” เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินแต่ก็ยังสูงในระดับในรอบ ๔๐ ปีอยู่ดี

ซึ่งก็ยังไม่อาจยอมรับได้ ทำให้เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจากระดับ ๒.๒๕-๒.๕๐% ในปัจจุบัน สู่ระดับ ๓.๒๕-๓.๕๐% ในสิ้นปีนี้ และสู่ ๓.๗๕-๔.๐๐% ในช่วงปีหน้า

สรุปว่าเฟดตั้งเป้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกแน่ ภาวะเงินเฟ้อสูงชันก็จะยังคงอยู่กับสหรัฐและโลกไปอีกนานเรื่องนี้โกลด์แมนแซคยืนยัน 

นายเดวิด​ โซโลมอน ซีอีโอของโกลด์แมน แซคส์ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า เงินเฟ้อฝังตัวลึกอยู่ในเศรษฐกิจโลก และมันยังไม่มีความแน่นอนว่าสถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ในช่วงหลังของปี ๒๐๒๒นี้