“160ประเทศ อียู รัสเซีย”แบนสารเร่งเนื้อแดงสหรัฐ ล่าสุดจีนตรวจพบถึงผงะสั่งระงับนำเข้าทันที

0

จากที่วันนี้ 12 สิงหาคม 2565 เพจ World Update ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกเนื้อ ที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งปรากฏว่าเป็นฝีมือของสหรัฐ ทำให้ทางจีนสั่งระงับทันที รวมทั้งท่าทีของชาติยุโรปและรัสเซียที่ต่อต้านเรื่องนี้ด้วย!?!

ทั้งนี้ เพจ World Update โพสต์ข้อความโดยระบุแหล่งที่มาจาก cgtn และ the101.world เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนเปิดเผยว่า

“สารเร่งเนื้อแดง ในสัตว์มีด้วยกันหลายชนิด เช่น Clenbuterol , Zilpaterol , Ractopamine เป็นต้น สารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำให้เปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อ และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อ จึงถูกนำมาใช้ผสมในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงวัว ไก่งวง และหมู เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อแดงและลดไขมันลง ทำให้เนื้อหมูดูภายนอกสีแดงสวยแต่แฝงด้วยอันตราย หมูที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยใช้อาหารน้อยลง

Russian President Vladimir Putin (L) and Chinese President Xi Jinping pose for a photograph during their meeting in Beijing, on February 4, 2022. (Photo by Alexei Druzhinin / Sputnik / AFP)

สารกลุ่มนี้มีผลเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มแรงในการบีบตัว และเพิ่มความเร็วในการนำไฟฟ้าของหัวใจอีกด้วย ต่อมาสหรัฐ ได้นำใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดง พบว่ามีการตกค้างในเนื้อสัตว์ที่บริโภค เพราะสารกลุ่มนี้มีเสถียรทนต่อความร้อนทั้งน้ำเดือดที่ 100 องศา และน้ำมันเดือดที่ 260 องศา การต้ม อบ ทอด หรือใช้ไมโครเวฟ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารกลุ่มนี้ได้

ในต่างประเทศจึงมีการรายงานพบผู้ป่วยได้รับพิษจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยมีอาการกล้ามเนื้อสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดศีรษะ อาเจียน มีไข้ ต่อมาพบผู้ป่วยมีอาการลักษณะเดียวกันจากการได้รับพิษในอีกหลายประเทศทั้งในยุโรปและเอเชียต่อเนื่องมาอีกหลายปี กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายมากได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์  หญิงตั้งครรภ์  เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

กว่า 160 ประเทศทั่วโลก เช่น สหภาพยุโรป (EU) รัสเซีย จีน และไทย จึงเลือกใช้มาตรการ “ปลอดภัยไว้ก่อน” ห้ามใช้หรือห้ามไม่ให้มีการตกค้างของสารพวกนี้ในเนื้อสัตว์ที่ใช้ในการบริโภคโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของทุกคน แต่สหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อหมูรายใหญ่ของโลก กลับอนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณที่ควบคุมไว้ และกดดันให้ประเทศต่างๆ ลดความเข้มงวดของมาตรการห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงลง

ต่อมาปี 2555 คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) องค์กรภายใต้องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้จัดการลงมติของประเทศสมาชิก มีเสียงสนับสนุน 69 เสียง ยอมรับการตกค้างของสาร Ractopamine ในเนื้อวัวและเนื้อหมูที่ใช้ในการบริโภค  และมีเสียงคัดค้าน 67 เสียง ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกันมาก

ทำให้ Codex กำหนดปริมาณมาตรฐานสากลการตกค้างสูงสุด (MRLs) ในเนื้อและไขมันไว้ว่าต้องค้างไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/กก. ในตับไม่เกิน 40 ไมโครกรัม/กก. และในไตไม่เกิน 90 ไมโครกรัม/กก. แต่หลายประเทศที่มาตรฐานสุขภาพประชาชนสูง ไม่ยอมรับมติดังกล่าว เช่น สหภาพยุโรป (EU) จีน รัสเซีย โดยให้เหตุว่าค่ามาตรฐาน MRLs ที่ Codex กำหนดนี้ไม่ได้มาจากมติเอกฉันท์ และมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ อ้างอิงจากการศึกษาเดียวที่ทดลองในกลุ่มตัวอย่างเพียง 6 คนเท่านั้น

ส่วนรัสเซีย ที่มาตรฐานสุขภาพสูงกว่าสหรัฐ ให้เหตุผลว่าการคำนวณ MRLs มาจากข้อมูลที่ไม่มีการตรวจสอบที่เพียงพอ และเมื่อนำมาประเมินร่วมกับปริมาณเนื้อสัตว์ที่คนรัสเซียบริโภคแล้วพบว่า อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับที่ยอมรับไม่ได้ ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และลดอายุเฉลี่ยประชากรลง

แต่สหรัฐฯ กลับดันทุรังอนุญาตให้ใช้ สาร Ractopamine เป็นสารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสัตว์เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์ เอากำไรทางการค้ามากๆ บวกกับปัจจัยเสี่ยงอื่นส่งผลให้ชาวอเมริกัน ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเกือบ 50% ของประชากร และเป็นโรคอันดับ 3 ที่ทำให้เสียชีวิต ในขณะที่หลายประเทศห้ามใช้ หรือห้ามไม่ให้มีการตกค้างของของสารชนิดนี้ในเนื้อสัตว์ที่ใช้บริโภค

ล่าสุดสำนักงานศุลกากรจีน (Chinese General Administration of Customs) รายงานว่าตรวจพบสารต้องห้ามเร่งเนื้อแดง Ractopamine ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารสัตว์ชนิดหนึ่งในเนื้อวัวที่ส่งออกไปยังประเทศจีน ที่ขนส่งโดยบริษัท King Meat Service ของสหรัฐ ศุลกากรจีนจึงสั่งระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์จากบริษัทสหรัฐ ทั้งหมดทันทีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และแจ้งให้กระทรวงเกษตรสหรัฐทราบแล้ว”