เปิดเบื้องลึก โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยูเครน รัสเซียเรียก UNSC ประชุมด่วน หวั่นเกิดหายนะทั้งยุโรป
จากกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟียที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพรัสเซีย ตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตกเป็นเป้าโจมตีหลายครั้ง หลังเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เมื่อปลายเดือน ก.พ.
ต่อมาทางด้าน เจริญสุข ลิมป์บรรจงกิจ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว โดยระบุว่า #รัสเซีย เรียกประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ #UNSC เพื่อหารือที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporozhye ใน #ยูเครน ถูกยูเครนถล่มหนัก จนเกรงจะเป็นหายนะต่อยุโรป โดยพรุ่งนี้จะมีการประชุมด่วน ด้านยูเครนบอกบ่ฮู้บ่หันการโจมตีนี้
โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ราฟาเอล มาริอาโน กรอสซี ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporizhzya ของยูเครน ระบุว่า
ตามรายงานของยูเครน เหตุการณ์ในวันเสาร์ซึ่งเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากการโจมตีครั้งก่อน ระบบจ่ายไฟภายนอกของโรงงานเสียหาย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ ยังทำให้ผนัง หลังคา และหน้าต่างในบริเวณห้องเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วเสียหาย ตลอดจนสายสื่อสารที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมการแผ่รังสี แต่ไม่มีความเสียหายที่มองเห็นได้กับภาชนะบรรจุที่ใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วหรือบริเวณแนวเขตป้องกันด้านนอกของโรงงาน
จากข้อมูลที่ได้รับจากยูเครน ผู้เชี่ยวชาญของ IAEA ประเมินว่า “ไม่มีภัยคุกคามต่อความปลอดภัยนิวเคลียร์ในทันทีอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม” Grossi กล่าว
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 กลุ่มประเทศ G7 เรียกร้องให้รัสเซียคืนการควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซาโปริเฟีย “รัสเซียยังคงควบคุมโรงงานอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นอันตรายต่อภูมิภาค” ส่วนหนึ่งของการแถลงของกลุ่มประเทศ G7 พร้อมเสริมว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนที่ปฏิบัติการในโรงงานต้องมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกคุกคามหรือกดดันจากการยึดครองกองกำลังรัสเซีย
หัวหน้าสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ กล่าวเมื่อวัน 9 สิงหาคมว่า การโจมตีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporizhzhia เมื่อวันเสาร์ เป็นการ “ละเมิด” เกือบทุกอย่างทั้ง “หลักความปลอดภัยและความมั่นคงของนิวเคลียร์” หรือแม้แต่ “ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทันที ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์”
ในขณะที่ทางด้าน รัสเซียเรียกร้องให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุให้ “เคียฟโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporizhzhya”
ทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติกล่าวว่า มอสโกได้ขอให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวันที่ 11 สิงหาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporizhzhya ซึ่งกองทหารรัสเซียเข้ายึดไว้ในช่วงต้นของการบุกยูเครนรวมเวลากว่า 5 เดือน
รองผู้แทนถาวรคนแรกประจำ UN “Dmitry Polyanskiy” ยังยืนยันเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมว่ารัสเซียต้องการให้ Rafael Grossi หัวหน้าหน่วยงานพลังงานปรมาณูของสหประชาชาติ (IAEA) เป็นผู้บรรยายสรุปเข้าร่วมประชุม
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม รัสเซียยินดีที่จะช่วยเหลือสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ในการเยี่ยมชมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporozhye แต่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ปฏิเสธที่จะอนุมัติการเยี่ยมชมดังกล่าว
Igor Vishnevetsky รองผู้อำนวยการแผนกไม่แพร่ขยายอาวุธและควบคุมอาวุธของรัสเซียกล่าวว่า “เราได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาของการเยี่ยมชม การจัดการด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ไม่กี่วันก่อนการมาถึงของคณะผู้แทน IAEA สำนักเลขาธิการสหประชาชาติปฏิเสธที่จะอนุมัติการเยือนครั้งนี้”
การปฏิเสธที่จะอนุญาตให้เยี่ยมชม IAEA ตามที่ Vishnevetsky เสนอ ก็เพราะมันเป็นการเล่นเกมส์ของเคียฟโดยมีผู้สนับสนุนเป็นกลุ่มตะวันตก Vishnevetsky กล่าวเสริม
ทำนองเดียวกับ Maria Zakharova โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียที่กล่าวกับสื่อว่า “สำนักเลขาธิการสหประชาชาติได้หยุดการเดินทางของ IAEA ไปยังสถานีพลังงานนิวเคลียร์ Zaporozhye ด้วยเหตุผลทางการเมือง”
โดยหัวหน้า IAEA ให้เหตุผลว่า ภารกิจไม่ได้ถูกขัดขวาง แต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากทุกฝ่ายซึ่งไม่สามารถทำได้ในขณะนี้
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ รัสเซียได้หักล้างข้อกล่าวหาของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ที่อ้างว่ากองกำลังรัสเซียกำลังใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Zaporozhye (NPP) เป็นฐานทัพทหาร ตามคำแถลงที่ออกโดยคณะผู้แทนรัสเซียประจำสหประชาชาติเมื่อวันจันทร์
“เราปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวอย่างรุนแรง เรากล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าการกระทำของฝ่ายเราไม่ได้บ่อนทำลายความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ของยูเครนหรือขัดขวางการปฏิบัติงานตามปกติของ NPP” เป็นคำกล่าวตอบโต้ต่อคำปราศรัยของ Blinken ในระหว่างการประชุมทบทวนสนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ครั้งที่ 10 ใน สำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ