หลังจากที่ความหายนะต่าง ๆ ได้คืบคลานเข้าเยือนเยอรมัน ทั้งเรื่องค่าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าครองชีพ ลามไปถึงธุรกิจการบินและอุตสาหกรรมระดับประเทศที่ต้องรับผลกระทบ ต่อมาทางการเยอรมันได้มีมาตรการทยอยปิดไฟ กำหนดใช้น้ำร้อน-เย็น โดยในเมือง Hanover นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีและเป็นเมืองแรกที่เริ่มออกมาตรการเช่นนี้ มีคำสั่งให้ปิดน้ำร้อนสำหรับอาบน้ำในห้องน้ำของศูนย์พักผ่อนในตัวเมืองด้วย นอกจากนี้บางสถานที่ ที่ยังต้องมีการฌาปนกิจร่างผู้เสียชีวิต ก็ไม่ได้ทำได้ เนื่องจากไฟไม่เพียงพอต่อการใช้เตาเผา
ล่าสุด มีข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการจ้างงาน หรือ IAB ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของเยอรมนีจากผลกระทบของสงคราม รัสเซีย-ยูเครน และราคาพลังงานที่พุ่งสูง ว่า จะทำให้เยอรมนีสูญเสียมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากกว่า 265,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 9.4 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ทั้งสงคราม รัสเซีย-ยูเครน และราคาพลังงานที่พุ่งสูง ส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดแรงงาน โดยปีหน้าเยอรมนีจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงที่ 1.7% และจะมีคนเข้าสู่ภาคแรงงานน้อยกว่า 240,000 คน
ระดับการจ้างงานจะคงในระดับนี้ไปจนถึงปี 2026 (พ.ศ.2569) กระทั่งมาตรการต่าง ๆ ช่วยลดผลกระทบทางลบ จนเริ่มเพิ่มการจ้างงาน 60,000 ตำแหน่งได้ในปี 2030 สำหรับภาคเศรษฐกิจที่จะปราชัยมากที่สุดคืออุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งกระอักหนักมากในช่วงโรคโควิดระบาด และยังต้องมาเจอสภาพที่อำนาจการจับจ่ายของผู้บริโภคซีดเซียวและตึงตัว
ส่วนภาคพลังงาน อย่างอุตสาหกรรมเคมี และการผลิตโลหะ จะเจอกับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ ถ้าราคาพลังงาน ที่ทุกวันนี้พุ่งสูงไปแล้ว 160% เกิดเพิ่มอีกเป็นสองเท่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะดิ่งลงอีก 4% ถึงแม้จะไม่มีสงครามแล้วก็ตามภายใต้การบริโภคนี้ จะมีการจ้างงานคนน้อยกว่า 660,000 คนหลังจากผ่านไป 3 ปี และจะยังเพิ่มน้อยกว่า 60,000 คนในปี 2030