การต่อสู้ระหว่างมหาอำนาจเศรษฐกิจกลุ่มโลกเก่าอย่างสหรัฐและพันธมิตร กับรัสเซีย-จีนพันธมิตรตะวันออก กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นในด้านการปะทะทางเศรษฐกิจหลายรูปแบบ ทั้งสงครามเงินตรา และการค้าขาย ล่าสุดในขณะที่เกิดเหตุการณ์ร้อนแรงในช่องแคบไต้หวัน โลกได้หันมาจับตาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ ทั้งสหรัฐและจีนกำลังขับเคี่ยวกันโดยมีไต้หวันเป็นจุดกึ่งกลางความสนใจ หลังประธานสภาผู้แทนสหรัฐ นางแนนซี่ เปโลซีดึงดันไปเยือนไต้หวันพบกับผู้นำและทีมบริหารไต้หวันแล้ว ตรงดิ่งเจาะจงไปพบประธานบริษัทTSMC ยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์เสียด้วย
สถานการณ์ล่าสุดของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทางเพจสาธารณะWorld Maker รายงานมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้น่าสนใจดังนี้:
มีรายงานออกมาว่ายอดขายชิปทั่วโลกได้ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ ๖ ติดต่อกันแล้ว ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่าง ๒ มหาอำนาจโลกจีนและสหรัฐ และภาวะดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงการหยุดชะงักทางด้านห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน(Supply Chain)
โดยที่การเติบโตของยอดขายในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ +๑๓.๓% เมื่อเทียบจากปีก่อน ลดลงจาก ๑๘% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งแม้ว่ายังคงอยู่ในโซนขยายตัว แต่ก็ชะลอตัวลงในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม ทำให้หลายคนมองว่านี่อาจเป็นผลกระทบจากความเสี่ยงเรื่อง Recession ทั่วโลก
ยอดขายชิปที่ชะลอตัวลง อาจบ่งชี้ถึงความต้องการสินค้า digital ที่ลดลงเช่นกัน เนื่องจากชิปเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับ digital และเทคโนโลยี
การชะลอตัวเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป้นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งยอดขายชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่สินค้าคงคลังพุ่งสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี
การ Lockdown และการหยุดชะงักทางด้าน Supply Chain ของจีน ถือเป้นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ Demand ชิปลดลง เพราะจีนถือเป็นอันดับ ‘๑ ในโรงงานของโลก’ เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม IMF และหลายคนยังคงมองว่า GDP โลกจะยังอยู่ในโซนบวกในปีนี้ แม้จะมีคาดการณ์เรื่อง Recession และความเสี่ยงอื่น ๆ มากมาย ดังนั้นก็ต้องมาดูกันว่าการชะลอตัวของการเติบโตที่เกิดขึ้นนี้ จะทำให้เกิดวิกฤตตามมาจนเศรษฐกิจโลกไปถึงจุดที่หดตัวหรือไม่ ?
นั่นเป็นคำถามที่ต้องรอระยะเวลาหนึ่งจึงจะพบคำตอบ
ปัญหาเซมิคอนดักเตอร์เกิดขึ้นเพราะสาเหตุหลายมิติที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ระหว่างมหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐและพันธมิตรตะวันตก กับจีนและพันธมิตรตะวันออกที่ผลักดันวาระระเบียบโลกใหม่ที่แตกต่างจากที่สหรัฐประกาศและวาดหวังไว้
วิเนย์ กุปตา(Vinay Gupta)ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ IDC หรือInternational Data Corporation
เขามองว่าการชะลอตัวของชิป (Chip Slowdown) เป็นผลจากความกดดันด้านเงินเฟ้อและความคาดหวังของนโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้นของสหรัฐและยุโรป และได้นำไปสู่การชะลอตัวของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมชิป
นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้จ่ายด้านไอทีกำลังชะลอตัว โดยเฉพาะการใช้จ่ายด้านไอทีของผู้บริโภค แม้ว่าการใช้จ่ายขององค์กรจะยังคงดำเนินต่อไป
แต่ความหวังว่าจะชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังพยายามรักษาสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
กุปตามองว่า การจ้างงานและการใช้จ่ายที่ชะลอตัวในภาคส่วนเทคโนโลยีของเอเชีย จะเริ่มในปลายปี ๒๕๖๕ หรือต้นปี ๒๕๖๖ หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นในขณะนั้น
นักวิเคราะห์ระบุว่า “ความเชื่อมโยงระหว่างสงครามรัสเซียกับยูเครน สงครามในยุโรปตะวันออกกรณีโคโซโวและ อาเซอร์ไบจานที่กำลังดำเนินอยู่ได้สร้างความตึงเครียดให้กับอุตสหกรรมวัสดุชิปอย่างมาก”
ปีเตอร์ ฮันบิวรีย์(Peter Hanbury) นักวิเคราะห์เรื่องชิปของเบนแอนด์โค(Bain & Co.) กล่าวว่า “รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกคริปทอนรายใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นก๊าซที่ใช้ในการผลิตชิป มากกว่าครึ่งหนึ่งของก๊าซนีออนของโลกที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งผลิตโดยบริษัทไม่กี่แห่งในยูเครน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Bloomberg รายงานแผนการของ Apple ที่จะชะลอการจ้างงานและการใช้จ่ายเพื่อการเติบโตในปีหน้าเพื่อรับมือกับภาวะถดถอยที่อาจเกิดขึ้น กุปตาจากDIC ประเมินว่ามีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันที่สังเกตได้ทั่วทั้งภาคส่วนเทคโนโลยีของเอเชีย “หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นผมเชื่อว่านั่นจะเป็นเทรนด์ที่เราจะเริ่มเห็นในปลายปี ๒๐๒๒นี้ หรือต้นปี ๒๐๒๓ ”