ผู้นำอียูเพ้อต่อ! จะคว่ำบาตรจีน หากรุกรานไต้หวัน ขู่จะ รุนแรงกว่ารัสเซียหลายเท่า แต่ความจริงยุโรปตกต่ำ จนต้องหยุดแบนมอสโก

0

ผู้นำอียูเพ้อต่อ! จะคว่ำบาตรจีน หากรุกรานไต้หวัน ขู่จะ รุนแรงกว่ารัสเซียหลายเท่า แต่ความจริงยุโรปตกต่ำ จนต้องหยุดแบนมอสโก

จากกรณีที่ จ้าว ลี่เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ประกาศว่า กองทัพของตนจะไม่นั่งอยู่เฉย ๆ หากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวัน 

“นั่นจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และนำไปสู่เหตุการณ์หายนะและผลที่ตามมาอย่างร้ายแรง”
พร้อมเน้นย้ำว่า รัฐบาลของเขาจะจัดการขั้นเด็ดขาด ถึงการมาถึงของ นางเพโลซีในดินแดนเกาะแห่งนี้ ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนและการละเมิดหลักการจีนเดียวโดยเจตนา การเดินทางของ นางเพโลซีจะส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีนอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน
ขณะที่ ด้านกองทัพจีนระบุว่า “พวกเขาจะไม่นิ่งเฉยเหมือนหิน และพร้อมจะใช้มาตรการตอบโต้ที่รุนแรงอย่่างเด็ดขาด” เพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตน
ต่อมาทางด้าน อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวเมื่อวานนี้ว่า “หากกองทัพจีนรุกรานไต้หวัน เราได้แสดงให้เห็นว่าสหภาพยุโรป สหรัฐ และพันธมิตร จะร่วมกันใช้มาตรการที่คล้ายคลึงกันหรือยิ่งใหญ่กว่าที่เราเคยลงโทษกับสหพันธรัฐรัสเซียหลายเท่า”

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ที่ EU ได้ประกาศมาตราการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมัน และพลังงานพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง หลัง EU ได้ข้อตกลงร่วมกัน โดยจะหยุดนำเข้าน้ำมัน 90% จากรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ แม้ก่อนหน้านี้จะมีหลายชาติคัดค้าน โดยบางชาติยืนยันว่าจะขอถอนตัวจากมาตรการคว่ำบาตร เพราะไม่อาจจะแบนน้ำมัน และพลังงานรัสเซียได้ 100 % แลกกับให้ประชากรของชาติตนเองยังอยู่รอด แม้ว่าจะเริ่มปรากฎเหตุการณ์ในอังกฤษ ที่ประชาชนบางส่วนยอมรับว่า ต้องอดมื้อกินมื้อ และปิดฮีตเตอร์ทนหนาว เนื่องจากค่าพลังงานสูงขึ้น เนื่องมาจากการแบนรัสเซีย

ทั้งยังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์มากกว่า 8% ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งยุโรป อัตราเงินเฟ้อทำให้ราคาผลิตภัณฑ์พลังงานจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 40% อัตราเงินเฟ้อสูงสุดอยู่ในรัฐบอลติก-มากถึง 18.5% ขณะที่ ชาวยุโรปรู้สึกได้ว่าเศรษฐกิจตกต่ำ และ 25% ของชาวเยอรมันประเมินสถานการณ์ของพวกเขาว่าเป็น “เหตุฉุกเฉิน” และ 1 ใน 4 ของชาวอังกฤษยอมรับว่าพวกเขาอาศัยอยู่แบบ “หาเช้ากินค่ำ”