นอกเหนือจากความขัดแย้งในยูเครน ตอนนี้ยุโรปกำลังเผชิญกับความขัดแย้งในโคโซโว ซึ่งเป็นเมืองที่แตกแยกของเซอร์เบีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโคโซโวและเมโทฮิจาตามรัฐธรรมนูญของเซอร์เบีย การแยกตัวออกจากเซอร์เบียของโคโซโวได้รับการยอมรับจากมหาอำนาจตะวันตกในปี ๒๕๕๑ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเก้าปีหลังจากการโจมตีของนาโต้ในเซอร์เบียและสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย หลังจากที่กองกำลังนาโต้เข้ายึดครองพื้นที่และช่วยจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มชาติพันธุ์แอลเบเนียซึ่งปกครองโดยอดีตสมาชิกองค์กรก่อการร้ายกองทัพปลดปล่อยโคโซโวซึ่งสหรัฐและตะวันตกหนุน
สถานการณ์ดูผิวเผินคล้ายกับกรณีการแยกตัวเป็นอิสระของดอนบาสในยูเครนแต่เนื้อหาแตกต่างกันและได้รับการสนับสนุนคนละฝ่าย แกนกลางของเรื่องมีสหรัฐและรัสเซียเป็นตัวจักรสำคัญ สงครามตัวแทนในยูเครนสหรัฐและบริวารพ่ายแพ้ตลอดมาไม่ว่าจะพยายามโฆษณาชวนเชื่อด้วยสื่อในมือว่า สูญเสียยับเยินแค่ไหน แต่ความจริงปรากฎชัดว่า การรุกคืบของกองทัพรัสเซียครอบคลุมทั้งตะวันออกและภาคใต้แล้วแนวโน้มชัยชนะอยู่ไม่ไกล แต่เกิดแนวปะทุคุโชนใหม่อีกครั้งกรณีโคโซโวเพื่อต่อต้านเซอร์เบียพันธมิตรใกล้ชิดรัสเซีย กูรูรัสเซียมองว่าเพื่อบั่นทอนกำลังรบของรัสเซียให้จงหนัก ตรึงรัสเซียให้ติดกับสาละวนกับสงครามพื้นที่และอ่อนกำลังลงในที่สุด
วันที่ ๒ ส.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์ ได้รายงานบทวิเคราะห์ของอเล็กซานดาร์ พาวิค (Aleksandar Pavic) นักวิเคราะห์การเมืองรัสเซียเกี่ยวกับสถานการณ์และเบื้องหลัง การปะทุสงครามในโคโซโวว่า วิกฤติในปัจจุบันเกิดขึ้นจากนายกรัฐมนตรีอัลบิน เคอร์ติ (Kurti)นายกรัฐมนตรีชาวแอลเบเนียของโคโซโว (Kosovo’s ethnic Albanian Prime Minister, Albin Kurti)ซึ่งในตอนแรกต้องการบังคับประชากรชาวเซิร์บส่วนใหญ่ในภาคเหนือของภูมิภาค ให้ยอมรับพาสปอร์ตและเอกสารประจำตัวของชาวโคโซวานตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคมเป็นต้นไป และห้ามไม่ให้เข้าไปในพื้นที่เมือง หรือห้ามการออกเอกสารชั่วคราวให้กับนักเดินทางที่มีเอกสารที่ออกโดยเซอร์เบีย
เคอร์ติพยายามกระตุ้นขัดแย้งที่คล้ายคลึงกันนี้เมื่อเดือนกันยายน ๒๐๒๑ ทำให้เกิดวิกฤตที่ชาวเซิร์บ (Serbs)ในพื้นที่ทางตอนเหนือของโคโซโว จัดสิ่งกีดขวางบนถนและมีรายงานว่าตำรวจโคโซโวทุบตีและข่มขู่พลเรือนชาวเซิร์บในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางในเบลเกรด และกองทัพเซอร์เบียตื่นตัวสูง ได้สั่งให้เครื่องบินรบบินข้าม เขตแดนขู่ดำเนินการเด็ดขาดระหว่างเซอร์เบียและโคโซโว ในที่สุดสหภาพยุโรปได้เปิดเจรจาทำข้อตกลงชั่วคราว โดยอยู่ระหว่างรอข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่คาดว่าจะบรรลุได้ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอ้างวิกฤตในยูเครนล้มการเจรจาข้อตกลงขั้นสุดท้าย
ปรากฎการณ์จากโคโซโวถึงยูเครน ดูเหมือนว่าจะมีรูปแบบเกี่ยวกับข้อตกลงที่มหาอำนาจสหรัฐและตะวันตกมีส่วนร่วมทั้งสองกรณี นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการทางทหารพิเศษของปีนี้ในยูเครน เจ้าหน้าที่รัสเซียได้ย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่าตะวันตกไม่เคยกดดันให้เคียฟบรรลุข้อตกลงสันติภาพมินสค์ เมื่อปี ๒๐๑๕จริง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างเคียฟกับสาธารณรัฐดอนบาส เมื่อเร็ว ๆ นี้ อดีตประธานาธิบดียูเครน โปโรเชนโก(Pyotr Poroshenko) ได้ยอมรับอย่างเปิดเผยว่า ยูเครนไม่เคยตั้งใจที่จะบรรลุข้อตกลงมินส์แต่อย่างใด เป็นเพียงการซื้อเวลาจนกว่าจะสามารถสร้างกองทัพที่สามารถเอาชนะ ดอนบาสได้เท่านั้น
สถานการณ์ความขัดแย้งในโคโซโวปะทุขึ้นไม่แตกต่างกันมากนัก สหภาพยุโรปได้ทำข้อตกลงระหว่าง โคโซโว และเซอร์เบีย ในเดือนเมษายน ๒๐๑๓ ที่เรียกว่าข้อตกลงบรัสเซลส์เจรจาสันติภาพจัดความสัมพันธ์อย่างวินวิน แต่ค้างเติ่งจนบัดนี้ไม่มีความคืบหน้า
ประธานาธิบดีอเล็กซานดาร์ วูซิส (Aleksandar Vucic) แห่งเซอร์เบียระบุไว้เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ๓,๓๙๐ วันผ่านไปแล้วนับตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงบรัสเซลส์ และยังไม่มีวี่แววที่โคโซโวจะปฏิบัติตามข้อตกลงแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับกรณีของประเทศยูเครน กลุ่มประเทศตะวันตกได้สนับสนุนเคียฟทั้งที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ลงนามแล้ว นาโต้ได้เปิดหน้าสนับสนุนให้โคโซโวแสดงท่าทีเปิดศึกแยกตัวมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ร้ายแรงขึ้นได้
ข้อสำคัญในกรณีโคโซโว เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งในยูเครนด้วย เพราะชาวเซิร์บ – ทั้งในเซอร์เบียและในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา – เลือกยืนอยู่ข้างรัสเซียและปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการคว่ำบาตรรัสเซีย อีกทั้งแสดงการสนับสนุนอย่างเปิดเผยต่อการปฏิบัติพิเศษทางทหารของรัสเซียในยูเครน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลในกรุงเบลเกรดจึงอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มแรงกดดันจากสหรัฐสหภาพยุโรปและนาโ้ต ให้เปลี่ยนนโยบายและเข้าร่วมการฆ่าตัวตายทางเศรษฐกิจโดยรวมกับตะวันตก
ด้วยเหตุนี้สนามจุดวาบไฟแห่งที่สองในยุโรปนี้คือ โคโซโวที่อาจมีสภาพเป็นยูเครนแห่งที่ ๒ เพื่อบั่นทอนกำลังรบและศักยภาพในการต่อสู้ของรัสเซียอย่างถึงที่สุด ในฐานะกลุ่มกบฎที่ต่อต้านมหาอำนาจเก่าผู้ถือครองอำนาจเปโตรดอลลาร์อย่างโจ่งแจ้ง แต่ปธน.ปูตินแห่งรัสเซียจะไม่นิ่งเฉยอย่างแน่นอน ต้องจับตาดูว่าจะรับมือเรื่องนี้อย่างไร ไม่ช้าจะได้เห็น!???