เยอรมันอ่วมอีก! อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่อพัง เสียตลาดให้จีน-รัสเซีย! ขณะธุรกิจอื่นทรุดตาม เสียกำลังผลิตอาหาร

0

เยอรมันอ่วมอีก! อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่อพัง เสียตลาดให้จีน-รัสเซีย! ขณะธุรกิจอื่นทรุดตาม เสียกำลังผลิตอาหาร

จากกรณีสหภาพยุโรป ประกาศแผน “ประหยัดก๊าซเพื่อฤดูหนาวที่ปลอดภัย” โดยจะบังคับให้ 27 ประเทศสมาชิกลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลง 15% ระหว่างเดือน ส.ค. ปีนี้ ถึง มี.ค. ปีหน้า แต่เกิดข้อถกเถียงจากประเทศที่ยังคงต้องพึ่งพาก๊าซรัสเซีย ต่อมารัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของ 27 ประเทศสมาชิก ยกเว้นฮังการี ได้เห็นชอบสนับสนุนการลดใช้ก๊าซโดยสมัครใจ 15% ในช่วงฤดูหนาว

ล่าสุดทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่เยอรมัน ขณะนี้ที่กำลังลดใช้ก๊าซและพลังงาน ทำให้อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์พังและ ธุรกิจอื่นทรุดตามไปด้วย โดยอ้างอิงจากสำนักข่าว reuters ระบุว่า ที่ผ่านมาเยอรมนี มี GDP อันดับหนึ่งในสหภาพยุโรปมูลค่าราว 4 ล้านล้านดอลลาร์/ปี และรายได้ราว 25% มาจากภาคอุตสาหกรรม โดยเยอรมีพึ่งพาก๊าซราคาถูกจากรัสเซียราว 50% ของความต้องการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม เช่น เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ฯลฯ ส่งขายภายในประเทศและส่งออกในยุโรป และทั่วโลก เมื่อเยอรมนีคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ถูกสวนกลับโดยปรับลดการส่งก๊าซจากท่อ Nord Stream1 เหลือแค่ 20% จากเดิม เหลือแค่ราว 33 ล้านคิวบิกเมตร/วัน

เยอรมนี ไม่มีท่าเทียบเรือก๊าซเหลว (LNG) ไม่มีโรงงานแปรรูปก๊าซเหลว LNG กลับไปเป็นสถานะก๊าซ เพื่อทดแทนก๊าซของรัสเซีย นั่นหมายความว่าบริษัทต่างๆ ต้องถูกบีบให้ลดการใช้ก๊าซอย่างมหาศาล เมื่อรัสเซียลดการส่งมอบก๊าซลงไปอีก ทำให้เยอรมนีขาดแคลน และต้องซื้อก๊าซสัญญาระสั้นราคาแพงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า แม้ทางการจะมีมาตรการให้เมืองใหญ่ปิดไฟยามค่ำคืนจนมืดสนิททั้งเมืองแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร บริษัทเคมีภัณฑ์เป็นกลุ่มผู้ใช้ก๊าซทางอุตสาหกรรมรายใหญ่มากที่สุดในเยอรมนี เคมีภัณฑ์ที่สำคัญของเยอรมนี คือ “แอมโมเนีย” มีบทบาทสำคัญในการผลิตปุ๋ยแอมโมเนีย และไนโตรเจน พลาสติกวิศวกรรม น้ำมันดีเซล และยังให้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง (CO2) เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และเครื่องดื่มเบียร์ น้ำอัดลม ฯลฯ
ในช่วงเวลาปกติ การผลิตแอมโมเนีย ใช้ก๊าซราว 5% ของก๊าซที่ใช้อุตสาหกรรมของเยอรมนี มูลค่าก๊าซรวมราว 15,000 ล้านดอลลาร์/ปี เมื่อขาดก๊าซจากรัสเซีย โรงงานผลิตแอมโมเนีย ก็ถูกบีบบังคับให้ลดการผลิตลง ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อบริษัทเคมีภัณฑ์ BASF เยอรมนี ที่เป็น “ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ราว 40% ขายให้ยุโรป และ 60% ขายทั่วโลก มีหุ้นมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์ สำนักงานใหญ่ในลุดวิกส์ฮาเฟิน และที่ศูนย์เคมีขนาดใหญ่ในเมืองแอนต์เวิร์ป เบลเยียม จากเดิม BASF เป็นผู้ขายแอมโมเนีย ปัจจุบันกลายเป็นผู้ซื้อแอมโมเนียจากซัพพลายเออร์ภายนอกเพื่อเติมสต็อคว่างของตน โดยบริษัท Yara ยักษ์ใหญ่ด้านปุ๋ย ซึ่งมีโรงงานผลิตแอมโมเนียที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเมือง Brunsbuettel ทางเหนือของเยอรมนี
Yara ระบุว่าผลผลิตปุ๋ยทั่วยุโรปในปัจจุบันต่ำกว่ากำลังการผลิต 27% เนื่องจากราคาก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น ผลกระทบยังเกิดโดมิโนไปถึงการทำฟาร์มที่เกษตรกรจะต้องเผชิญกับต้นทุนราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงหฤโหดขึ้น , โรงงานผู้ผลิตแอมโมเนียรายใหญ่ SKW Piesteritz ลดกำลังการผลิตลง 20% และ Ineos ของอังกฤษ ก็ถูกบังคับให้ลดการผลิตเช่นกัน เกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีฟองฟู่รายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ที่ใช้ส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน และอะเซทิลีนอีกด้วย บริษัทที่ลดการผลิตแอมโมเนียจะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในการนำเข้าจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศที่ใช้ก๊าซราคาถูกจากรัสเซีย
การผลิตแอมโมเนียที่ลดลงเนื่องจากราคาก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น ยังส่งผลกระทบถึงอังกฤษ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซ CO2 ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และเครื่องดื่ม ขณะนี้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรม แอมโมเนียในยุโรป สูงกว่าปี 2019 ถึง 5 เท่าและสูงกว่าทวีปอื่นๆ ของโลกอย่างมาก จนไม่อาจแข่งขั้นราคาได้ และถ้าในช่วงฤดูหนาวรัสเซียตัดส่งก๊าซให้เยอรมนีเหลือศูนย์ จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้น การใช้ก๊าซทางอุตสาหกรรมของเยอรมัน เช่น โรงงานลุดวิกส์ฮาเฟินขนาดยักษ์ของ BASF จะต้องลดการผลิตลง 50% จะทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทลดลง 1,500 ล้านยูโร เมื่อเศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอลง จะส่งผลให้ความต้องการสารเคมีลดลง เพิ่มความเสียหายเป็น 3,000 ล้านยูโร และอาจต้องสูญเสียตลาดให้ผู้ผลิตแอมโมเนียจากรัสเซีย จีน อินเดีย ซาอุ ฯลฯ และทวีปอื่นไปในอนาคต
สรุป การขาดก๊าซราคาถูกระยะยาวจากรัสเซีย จะส่งผลให้รายได้จากภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีราว 25% ของ GDP ลดลง ฉุด GDP ภาพรวมต่อปีดิ่งลง ผลกระทบจากเยอรมนี จะลุกลามไปยังเศรษฐกิจ EU ชาติอื่นแน่นอน ต้นทุนอุตสาหกรรมที่สูงจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ต้องเสียส่วนแบ่งตลาดไป ในอนาคตความภาคภูมิใจของภาคอุตสาหกรรมเยอรมันต่างๆ จะทนอยู่ไม่ไหว จนต้องปิดตัวและย้ายฐานการผลิตไปยังทวีปอื่นที่ได้รับพลังงานก๊าซราคาถูกกว่า เช่น เอเซีย อาเซียน ตะวันออกกลาง และเมื่อผลิตปุ๋ยเกษตรลดลง ก็บีบให้ลดการผลิตอาหารและเนื้อสัตว์ลง