ทำไมถึงไม่ขึงขัง เหมือนตอนแรก!? ยุโรปเริ่มอ่อนยวบ ไม่ขัดขืน แถมยอมปรับตัว ตามกระแสรัสเซียลดปริมาณส่งออกก๊าซ!?
สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค.65 สหภาพยุโรป หรือ อียู ได้มีการเปิดแผนการผ่อนปรน อนุญาตให้บริษัทรัสเซีย ทั้ง Rosneft และ Gazprom สามารถส่งขายน้ำมันออกไปยังประเทศที่ 3 ได้ อีกทั้งทางด้านของ บริษัทต่างๆในอียู ก็ได้รับอนุญาตให้สามารถซื้อน้ำมันดิบขนส่งทางทะเลของรัสเซียและส่งออกมันไปยังประเทศที่ 3 ได้เช่นกัน
ซึ่งต่อมาในวันที่ 26 ก.ค.65 ทางด้านของ อียู ก็ได้ลงคนเห็นชอบแผนฉุกเฉินฉบับหนึ่ง ซึ่งในเนื้อหาถือได้ว่าเป็นการปรับให้โอนอ่อนผ่อนปรนลงเพื่อควบคุมอุปสงค์ หลังจากที่รัสเซีย ปรับลดปริมาณก๊าซที่ป้อนผ่านท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม1 เหลือเพียง 1 ใน 5 ของศักยภาพ
โดยทางด้านของ เหล่ารัฐมนตรีพลังงานอียู ได้เห็นชอบข้อเสนอที่ให้ทุกชาติสมาชิก ร่วมกันสมัครใจ ลดใช้ก๊าซลง 15% ในเดือนสิงหาคมถึงมีนาคม แต่ถึงอย่างไรก็ตามได้มีการเปิดเผยว่า ฮังการี เป็นประเทศเดียวที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวของอียู
แต่ข้อตกลงดังกล่าวนี้ของอียูได้มีข้อยกเว้น ประเทศไอร์แลนด์ มอลตาและไซปรัส เนื่องจากว่าทั้ง 3 ประเทศนี้ ไม่ได้มีช่อเชื่อมต่อกับสมาชิกอื่นๆในสหภาพ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถปันก๊าซสำรองได้หากมีความจำเป็น รวมถึงประเทศสเปน ที่ออกมาคัดค้านแผนดังกล่าว เนื่องจากสเปน ไม่ได้พึ่งพิงก๊าซจากรัสเซีย
ถึงอย่างไรก็ตามแผนนี้ก็ยังเกิดเสียงแตกคอกันในสหภาพ ผู้แทนหลายๆคนมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป โดยทางด้านของ โรเบอร์โต ซินโกลานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนผ่านทางนิเวศวิทยาของอิตาลี ได้เห็นด้วยกับแผนการดังกล่าวนี้ว่าเป็นบททดสอบความเป็นหนึ่งเดียวกันของอียู
แต่ในส่วนของ แอนนา มอสควา รัฐมนตรีสภาพภูมิอากาศ มองอีกอย่างว่า อุตสาหกรรมของประเทศหนึ่งๆ ไม่ควรถูกบีบให้ลดใช้ก๊าซเพื่อช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ถึงอย่างไรก็ตามหลายๆประเทศยังเกิดความเป็นห่วงว่าแผนดังกล่าวอาจจะใช้ไม่ได้ผล หรือพอจะให้หลีกเลี่ยงภาวะขาดแคลนในช่วงฤดูหนาว