เค้าลางการแทรกแซงของมหาอำนาจสหรัฐและพันธมิตรจะเข้มข้นมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อฝั่งยุโรปเป็นขาลงของความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ บรรดาอดีตนักล่าอาณานิคมและบริวาร ต่างมุ่งหน้ามาสู่ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรอย่างเอเชีย ล่าสุดในการประชุมทางออนไลน์ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปีการลงนามภาคีทะเลจีนใต้ กับในระหว่างประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปักกิ่งย้ำว่าทะเลจีนใต้ไม่ใช่ “เวทีการต่อสู้” สำหรับเกมมหาอำนาจ และต้องไม่ใช่สนามซาฟารีของนักล่าอาณานิคม ทั้งเรียกร้องให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกันต่อต้านการเข้ามาแทรกแซงการตกลงแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาคอย่างมีเป้าหมาย และมาเคลื่อนไหวทางทหารยั่วยุขยายความขัดแย้ง
วันที่ ๒๖ ก.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า หวัง ยี่มนตรีแห่งรัฐและรมว.ต่างประเทศจีน กล่าวส่งสัญญารไปยังสหรัฐว่า “ทะเลจีนใต้ไม่ใช่ ‘สนามประลองกำลัง” ของมหาอำนาจภายนอกที่จะมาแทรกแซงข้อพิพาทในภูมิภาค
ปัญหาในทะเลจีนใต้ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมโดยประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะต้องไม่ใช้เป็น “พื้นที่ล่าสัตว์ซาฟารี” สำหรับประเทศมหาอำนาจภายนอก ท่ามกลางความตึงเครียดทางทหารกับสหรัฐฯและพันธมิตร ที่เพิ่มขึ้นจากการซ้อมรบทางทะเลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
หวัง ยี่ได้แสดงความคิดเห็นระหว่างการเปิดการประชุมทางวิดีโอ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๐ ปีของการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC) ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับจีนและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)ในการจัดการแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดโดย Department of Boundary and Ocean Affairs กับกระทรวงการต่างประเทศของจีน สถาบัน China Institute of Boundary and Ocean Studies (CIBOS) กับมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น( Wuhan) รวมถึงสถาบัน National Institute for South China Sea Studies (NISCSS)
พวกเขาเห็นพ้องกันว่าจีนและสมาชิกอาเซียนควรให้ความสำคัญกับความร่วมมือ ดำเนินการตามแนวทางที่เห็นชอบทั้งสองฝ่าย ในการจัดการกับปัญหาทะเลจีนใต้ต่อไป และหวังว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นของจรรยาบรรณในทะเลจีนใต้ (COC)
ในการกล่าวเปิดงานหวัง ยี่ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาครักษาจุดยืนในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ที่ฟันฝ่ากันมายาวนานกว่า ๒๐ ปี
หวัง ยี่ประณามประเทศสำคัญบางประเทศ ที่เข้ามาแทรกการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคทะเลจีนใต้เพื่อรักษาอำนาจของตน ได้เพิ่มความตึงเครียดโดยจงใจ และยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้า และคุกคามสิทธิอันชอบธรรมและผลประโยชน์ของรัฐชายฝั่งและระเบียบทางทะเลตามปกติ โดยเรียกร้องให้จีนและสมาชิกอาเซียน ทำให้ทัศนคติของพวกเขาชัดเจนว่า ถ้าคุณมาเพื่อสันติภาพและความร่วมมือ เรายินดีต้อนรับคุณ หากคุณมาที่นี่เพื่อสร้างปัญหาหรือสร้างความเสียหาย กรุณาไปไกลๆ!
หวังกล่าวว่า “เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เราคว้าโอกาสทางประวัติศาสตร์เพื่อเริ่มการเจรจาและความร่วมมือในประเด็นทะเลจีนใต้ ภายใต้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ใหม่ เราควรระลึกถึงความตั้งใจดั้งเดิมของเรา ยังคงรักษาวัตถุประสงค์และหลักการของ DOC และ นำบรรทัดฐานและข้อเสนอของ DOC ไปปฏิบัติจริง ยังคงริเริ่มและมีอำนาจในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ในมือของประเทศในภูมิภาคของเรา และทำให้ทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมืออย่างแท้จริง”
ฮอร์ นัมฮง(Hor Namhong) รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวในวิดีโอสุนทรพจน์ว่า นี่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทะเลจีนใต้ นับตั้งแต่ลงนามใน ๒๐๐๒ ได้ส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในทะเลจีนใต้
ไซฟุดดิน อับดุลลาห์ (Saifuddin Abdullah) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซีย กล่าวว่า สมาชิกอาเซียนและจีน ทุกคนต่างมองการณ์ไกลและตระหนักว่าเสถียรภาพในทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำ DOC ไปปฏิบัติ สิ่งนี้มีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อมาตรฐาน COC
อู ชานไอย์(U Chan Aye) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา กล่าวว่า สมาชิกอาเซียนและจีนจะหารือถึงวิธีการนำ DOC ไปปฏิบัติอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น และหวังว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับ COC ที่มีประสิทธิผลและเป็นรูปธรรมซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคอย่างแท้จริง
ฟาม เซา ไม(Pham Sao Mai) เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศจีนกล่าวว่า “ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ ฉันรู้สึกถึงความมุ่งมั่นและความหวังของตัวแทนของสมาชิกอาเซียนและจีนที่จะร่วมกันศึกษาและค้นหาแนวทางแก้ไขเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบสุขและมั่นคงในภูมิภาค”