ธุรกิจสหรัฐวิกฤต! 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ชื่อดัง ประกาศหยุดจ้างพนง.ใหม่-ปลดพนักงานเดิมออก หวั่นเจอพิษศก.ขั้นรุนแรง
จากกรณีที่สื่อต่างประเทศ รายงานว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากวิกฤตโรคติดต่อระดับโลกที่ยังคงส่งผลล่าสุดโรคฝีดาษลิงถูก WHO ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทั่วโลกแล้ว สิ่งเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยทำให้บริษัทไฮเทคชื่อดังสหรัฐฯ ล่าสุดรวม “กูเกิล” “ไมโครซอฟท์” และ “แอปเปิล” รวมกลุ่มบริษัทใหญ่อื่นๆประกาศยกเลิกจ้างงานใหม่ชั่วคราวและสั่งประกาศลดตำแหน่งงานที่มีอยู่เดิม
โดยสื่อของอินเดียรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ดูเหมือนพนักงานอินเดีย บริษัทไฮเทคยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯจากทั้งกูเกิล ไมโครซอฟท์ และแอปเปิลจะรอดจากกระแสการประกาศลดตำแหน่งงานเดิม แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมชี้ว่า มาตรการหยุดการจ้างงานใหม่ชั่วคราวและการสั่งปลดพนักงานที่ออกมาจากบรรดาบริษัทไฮเทคสหรัฐฯเชื่อจะกระทบในระดับทั่วโลกอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ บลูมเบิร์กรายงานว่า ทั้งเกิล ไมโครซอฟท์ และแอปเปิลเดินตามรอยบริษัทไฮเทคสหรัฐฯยักษ์ใหญ่ก่อนหน้าที่ชะลอการจ้างงานใหม่ ปลดพนักงานเดิมออกบางส่วน และให้ความสนใจไปที่การเพิ่มประสิทธิผลแทน
บลูมเบิร์กชี้ว่า แอปเปิล (Apple Inc.) มีนโยบายสั่งลดต้นทุนและการเติบโตตำแหน่งงานลงในบางแผนก ขณะที่สื่ออื่นรายงานว่า ไมโครซอฟท์อาจสั่งปลดพนักงานออกถึง 1% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด 180,000 คน ด้านกูเกิล (Google Inc. ) จะมีการเห็นการจ้างงานใหม่ช้าลงภายในปี 2022 อ้างอิงเมโมภายในบริษัทที่ออกมาจากผู้บริหารระดับสูง ซันดาร์ พิไช (Sundar Pichai)
บลูมเบิร์กชี้ว่า อีลอน มัสค์ ซึ่งก่อนหน้าเคยออกมาแสดงความวิตกและย้ำว่าเทสลา (Tesla ) จำเป็นต้องประกาศเลิกจ้างพนักงานลง โดยพนักงานแผนกขับขี่อัตโนมัติ (Auto pilot) ลง 200 คนจากการที่โรงงานเทสลาในเมืองซานเมเทโอ(San Meteo)รัฐแคลิฟอร์เนียปิดลง
ซึ่งในการให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์ก มัสค์ยืนยันว่าพนักงานกินเงินเดือนจำนวนราว 10% จะต้องตกงานภายใน 3 เดือนซึ่งบริษัทเทสลามีพนักงานทั่วโลกสิ้นสุดปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 100,000 คน
ทวิเตอร์ อิงค์ (Twitter Inc.) ซึ่งกำลังมีปัญหาทางกฎหมายกับมัสค์เรื่องดีลการซื้อขายบริษัทที่เดินหน้าสู่ชั้นศาลแล้วได้ประกาศเริ่มการหยุดการจ้างงานชั่วคราวและเริ่มต้นการสั่งปลดพนักงานในเดือนพฤษภาคมซึ่งอ้างอิงจากเมโมภายในปี 2021 พบว่าบริษัทมีพนักงานทั้งหมด 7,500 คน
เมตา อิงค์ ( Meta Inc.) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กของผู้ก่อตั้งมาร์ค ซักเกอร์เบิร์กยกเลิกแผนการจ้างวิศวกรภายในไม่ต่ำกว่า 30% โดยซักเกอร์เบิร์กได้บอกกับพนักงานเมทา อิงค์ว่า เขาคาดการณ์ว่า กำลังจะเกิดวิฤตทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่จำเป็นทำให้บริษัทต้องสั่งถอยการจ้างงานลง
สื่อบารอนรายงานเมื่อวันที่ 3 ก.ค ว่า โดยอ้างอิงรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สว่า ซักเกอร์เบิร์กกล่าวผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับในวันพฤหัสบดี (30 มิ.ย) กับพนักงานเมตา อิงค์จำนวน 77,800 คนประกาศคำเตือนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯครั้งนี้ สื่อรีพับลิกเวิลด์ของอินเดียรายงานวันที่ 3 ก.คว่า โพลสำรวจของไฟแนนเชียลไทมส์รายงานกว่า 70% ของนักเศรษฐศาสตร์โลกชั้นนำลงความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในต้นปี 2024 และบริษัทต่างๆจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญหน้าเศรษฐกิจขาลงครั้งใหญ่ที่คาดว่ากำลังจะเริ่มภายในสิ้นปี 2022
นอกเหนือจากซักเกอร์เบิร์กพบว่าผู้บริหารเมธา อิงค์คนอื่นออกมาแสดงคำเตือนคล้ายกันว่า บริษัทกำลังเผชิญหน้าต่อช่วงเวลาที่ร้ายแรง และปัจจัยภายนอกกระทบทางเศรษฐกิจนั้นรุนแรง แอมะซอน อิงค์ (Amazon Inc.) แถลงก่อนหน้าเมื่อเมษายนว่า บริษัทมีจำนวนพนักงานมากเกินความต้องการหลังก่อนหน้าช่วงวิกฤตโควิด-19ทางบริษัทได้เพิ่มกำลังในกระบวนการและปัจจุบันทางบริษัทของผู้ก่อตั้ง เจฟฟ์ เบโซส (Jeff Bezos) ต้องการลดกำลังพนักงานลง
บลูมเบิร์กชี้ว่าซึ่งในเวลาแอมะซอนกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการเช่าพื้นที่โกดังชั่วคราวและยุติชั่วคราวสำหรับการพัฒนาพื้นที่สำนักงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ โดยทางบริษัทชี้ต่อว่ากำลังอยู่ระหว่างการประเมินว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากเพียงใดสำหรับพนักงานแบบไฮบริดที่ทำงานจากทั้งที่บ้านและบริษัท
ทั้งนี้ ที่ปรึกษานโยบายทางเทคดนโลยีของอินเดีย ปราซานโต เค. รอย( Prasanto K. Roy) ให้สัมภาษณ์กับมินท์ของอินเดียโดยชี้ว่า แรงงานในอินเดียยังคงมีความหลากหลาย บริษัททั้งหลายต้องกระทำด้วยความระมัดระวังจากการที่ความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage) ยังคงอยู่ในทิศทางลง ซึ่งในเวลานี้อินเดียไม่ได้มีราคาถูกแต่ทว่ายังคงเป็นศูนย์รวมของคนที่มีความสามารถจำนวนมากกว่าและมีความหลากหลายมากกว่า อย่างไรก็ตามเขาชี้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคทั้งหลายยังไม่สามารถย้ายโปรเจกต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯมาที่อินเดียเพราะจะกลายเป็นเผือกร้อนทางการเมือง
โดย CBS news รายงานเมื่อวันที่ 14 มิ.ยว่า การที่บริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคของสหรัฐฯแห่กันเหยียบเบรคเลิกว่าจ้างพนักงานใหม่ชั่วคราวเป็นผลมาจากกลัวการเผชิญหน้าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปีนี้ การประกาศเลิกจ้างจากจากบริษัทไฮเทคเกิดขึ้นมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม
โดยการประกาศเลิกจ้างครั้งใหญ้ที่สุดเกิดในเดือนพฤษภาคมสูง 10 เท่าของตัวเลข 4 เดือนแรกของปีนี้ กลายเป็นกระแสความกลัวเศรษฐกิจถดถอยจากสงครามยูเครน วิกฤตราคาเชื้อเพลิงพุ่ง และภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากวิกฤตโรคติดต่อระดับโลกที่ยังคงส่งผลล่าสุดโรคฝีดาษลิงถูก WHO ประกาศเป็นโรคติดต่อระดับโลก