อิตาลี ไปต่อไม่ไหว! นายกฯลาออกรอบ2 เจอหนี้ท่วม การเมืองในปท.แตกยับ-สารพัดม็อบลุกฮือต้าน!
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (21 กรกฎาคม 2565) มีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอิตาลี มาริโอ ดรากี ยื่นเอกสารขอลาออกจากตำแหน่งให้กับประธานาธิบดีอิตาลี เซอร์จิโอ มัตตาเรลลา หลังจากที่รัฐบาลของเขาขาดเอกภาพ ทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ
โดยรัฐบาลของดรากีเกิดความระส่ำระสาย หลังจากที่พรรคร่วมรัฐบาล Five Star Movement ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการลงคะแนนไว้วางใจต่อนโยบายของรัฐบาลดรากี ทำให้เขามองว่า รัฐบาลขาดเอกภาพ นอกจากนี้ Five Star Movement ยังคัดค้านการออกมาตรการควบคุมเงินเฟ้อ ค่าครองีชพ และราคาเชื้อเพลิงของรัฐบาลดรากีด้วย
ล่าสุดทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีสถานการณ์ในอิตาลี ที่เกิดการประท้วงอย่างหนัก การเมืองแตก ผู้นำลาออกรอบสอง โดยอ้างอิงจากRTnews และANSAnews ระบุว่า
อิตาลี ยุโรปใต้ พึ่งพิงพลังงานน้ำมัน และก๊าซจากรัสเซีย ผ่านมาจากเยอรมนี ท่อ Nordstream1 ทำให้อิตาลีมั่นคงมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป มาช่วงระยะหลังอิตาลี ก่อหนี้กู้ยืมต่างประเทศหนักมาก มีหนี้สินล้นพ้นตัวมากถึง 156% ของ GDP ราว 2.76 ล้านล้านยูโร (เกือบ 100 ล้านล้านบาท) สูงเป็นอันดับ 2 ใน EU ส่วนใหญ่เป็นหนี้ธนากลางยุโรป (ECB) สถานะรายได้จึงไม่พอรายจ่าย อิตาลี ต้องขอขยายเวลากำหนดชำระหนี้ เพื่อเลี่ยงการผิดนัดเพราะจะต้อง”ปรับโครงสร้างหนี้จนเกิดความเสี่ยงล้มละลายได้”
พออิตาลีคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้นในการนำเข้าพลังงานน้ำมัน ก๊าซ ราคาแพงจากสหรัฐ ส่งผลอัตราเงินเฟ้อสูง เกิดผลกระทบต่อฐานะการคลัง ณ สิ้น พ.ค.2022 เหลือเงินสดคงคลังหมุนสภาพคล่องแค่ 8,020 ล้านยูโรเท่านั้น ซ้ำเติมด้วยการขาดแคลนปุ๋ยรัสเซีย เกิดม็อบเกษตรกร บวกกับม็อบสารพัดทั้งคนทำงานออฟฟิศ สิงห์รถบรรทุก แท็กซี่ ปิดสนามบิน ปิดถนนสายต่างๆ ทั่วประเทศ ปิดชัทดาวน์เมืองหลวงหลายครั้งจนเป็นอัมพาต ม็อบประกาศว่า “ประเทศขาดนักการเมืองได้ แต่ขาดเกษตรกรไม่ได้” ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง
เมื่อสถานะการเงินอ่อนแอ อิตาลี จึงต้องการขอกู้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพิ่มอีก แต่ด้วยธนาคารมีการปรับนโยบายการเงินให้กู้ที่เข้มงวดขึ้น เตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี แต่รัฐบาลอิตาลีขาดเสถียรภาพ เศรษฐกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน การได้รับเงินกู้ล่าช้าจาก ECB มาประคองวิกฤติหนี้ ซ้ำด้วยสภาพอากาศยุโรปไต้เปลี่ยนแปลงฉับพลัน เกิดภาวะภัยแล้ง แหล่งน้ำแห้งเหือด เกิดไฟป่าลามวงกว้างถึงเมืองหลวง
ยิ่งทำให้รัฐบาลอิตาลี ระส่ำระสาย เมื่อรัฐบาลเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาบรรเทาวิกฤติพลังงาน (กู้ยืมเงินชุดใหม่) หวังเอามาชดเชยต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น ลดอัตราเงินเฟ้อ และวิกฤติเศรษฐกิจ แต่พันธมิตรพรรคร่วมรัฐบาล Five Star โหวตคว่ำกฎหมายนี้ในสภานิติบัญญัติ วันที่ 14 ก.ค.2022 นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี แห่งอิตาลี ได้ยื่นหนังสือลาออกรอบแรกต่อประธานาธิบดีเซอร์จิโอ มัตตาเรลลา แห่งอิตาลี แต่ถูกระงับใบลาออกของนายกฯ ดรากี และพยายามเกลี้ยกล่อมเขาให้พยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีไร้เสถียรภาพเปราะบางบริหารต่อไม่ได้
ล่าสุดวันที่ 21 ก.ค.2022 นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี แห่งอิตาลี วัย 74 ปี อดีตประธานธนาคารกลางยุโรปผู้คร่ำหวอดทางการเงินทนอยู่ต่อไม่ไหว เขาประกาศลาออกเป็นรอบที่ 2 หลังจากพรรคร่วมรัฐบาลล่มสลาย ขณะนี้รัฐสภากำลังถูกยุบเพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว เขาจะเป็นนายกฯ รักษาการจนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่..ยุโรป ล้มไป 5 รัฐบาลแล้ว