ขั้วอำนาจเก่าหงายเงิบ! อิหร่าน-รัสเซีย จับมือพัฒนาแหล่งก๊าซ! ผนึก “ตุรเคีย” ส่งออกอาหาร แซงหน้าสหรัฐ-ยุโรป
จากกรณีที่บริษัทน้ำมันแห่งชาติอิหร่าน (NIOC) และผู้ผลิตก๊าซรัสเซีย Gazprom ได้ลงนามข้อตกลงเมื่อวันอังคารที่มีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย Gazprom จะช่วย NIOC ในการพัฒนาแหล่งก๊าซ Kish และ North Pars และแหล่งน้ำมันอีก 6 แห่งตาม SHANA แก๊ซพรอมจะมีส่วนร่วมในโครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และการก่อสร้างท่อส่งก๊าซเพื่อส่งออก
อิหร่านอยู่ในแหล่งก๊าซสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากรัสเซีย แต่การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ขัดขวางการเข้าถึงเทคโนโลยีและชะลอการพัฒนาการส่งออกก๊าซ
การเยือนเตหะรานของปูตินกำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียทำให้ตลาดน้ำมันและก๊าซทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยผลักดันราคาให้อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น
ต่อมาทางด้าน World Update ได้ดพสต์ข้อความถึงกรณีที่รัสเซีย ผนึกอิหร่าน ตุรเคีย จัดระเบียบพลังงานโลก โดยอ้างอิงข้อมูลจาก RTnews ระบุว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาชาวโลกโฟกัสไปที่ฝ่ายระเบียบโลกเก่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ เดินทางไปป่วนตะวันออกกลาง เพื่อบังคับขู่เข็ญให้ชาติกลุ่มโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มส่งให้ตนเอาไปขายยุโรปกินกำไรอีกทอดหนึ่ง และสหรัฐ ยังขอให้ชาติอาหรับติดตั้งขีปนาวุธปกป้องอิสราเอลให้เป็นไข่ในหิน ทั้ง 2 ประเด็น สหรัฐ “กินแห้วพร้อมน้ำใบบัวบก” แก้ช้ำในกลับบ้านมือเปล่า เพราะชาติอาหรับไม่มีใครยอมผลิตน้ำมันเพิ่มขายให้สหรัฐ ยุโรปขณะนี้ ทุกชาติยืนกรานโควต้าเดิม แต่จะผลิตเพิ่มในอีก 5 ปีข้างหน้า 2027 สนองต่อตลาดทวีปเอเซียที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ
เสมือนชาติอาหรับปล่อยหมัดตรงเข้าใบหน้าสหรัฐ อย่างจังจนร่วง แสดงถึงความเสื่อมถอยของอิทธิพลฝ่ายระเบียบโลกเก่าที่ไม่มีใครกลัวคำขู่เสียงแหบพร่าอินทรีย์ชราอีกแล้ว , สัปดาห์นี้โฟกัสยังอยู่ที่ตะวันออกกลาง เมื่อประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เดินทางเยือนกรุงเตหะราน ของอิหร่าน
พบกับ อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน , ประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี แห่งอิหร่าน และประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน แห่งตุรกี ที่นัดพบกันในกรุงเตหะราน โดยรัสเซียและอิหร่านสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามสหรัฐ โดยทั้ง 3 ประเทศ ได้ข้อสรุปเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นซีเรีย คือ
1. วิกฤติในซีเรีย ที่ชาติตะวันตกก่อไว้นั้น รัสเซีย อิหร่าน ตุรเคีย แก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทั้งสามชาติกำหนดให้ใช้มาตรการส่งเสริมการเจรจาภายในซีเรีย
3. การปรากฎตัวของกลุ่มก่อการร้ายใดๆ ที่ชาติตะวันตกหนุนหลังจะถูกกำจัด
การที่ประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย มุ่งหน้าเดินทางไปต่างประเทศยังอิหร่านคล้อยหลังผู้นำสหรัฐ 3 วัน หมายถึงปูตินกำลังส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังชาติตะวันตกว่ารัสเซียจะสร้างความสัมพันธ์กับอิหร่าน ซึ่งเป็นศัตรูของสหรัฐฯ และสำหรับอิหร่าน การสร้างความสัมพันธ์กับรัสเซียเป็นวิธีสร้างสมดุลระหว่างอิทธิพลของสหรัฐฯ และพันธมิตรอิสราเอล , โดยระดับบริหารอิหร่านระบุว่า
“เราต้องการพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และรัสเซียก็คือมหาอำนาจรายหนึ่ง” ด้วยราคาน้ำมันที่สูง ทำให้อิหร่านมีผลกำไรมากขึ้นจากการส่งออกน้ำมันไปยังจีน และอินเดีย อีกทั้งอิหร่าน และตุรเคีย ก็เพิ่งแสดงความจำนงค์สมัครเข้ากลุ่ม BRICS อีกด้วย
โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติอิหร่าน (NIOC) และผู้ผลิตก๊าซ Gazprom รัสเซีย ได้ลงนามข้อตกลงมูลค่าประมาณ 2,600,000 ล้านล้านรูเบิล กระทรวงน้ำมันของอิหร่าน ระบุว่าข้อตกลงดังกล่าว Gazprom รัสเซียจะช่วย NIOC อิหร่านในการพัฒนาแหล่งก๊าซ Kish และ North Pars และแหล่งน้ำมันอีก 6 แห่ง โดยรัสเซียจะร่วมทุนโครงการก๊าซเหลว (LNG) และการก่อสร้างท่อส่งออก
อิหร่าน อยู่ในแหล่งก๊าซสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากรัสเซีย นั่นหมายถึงรัสเซีย-อิหร่าน ได้ยึดครองสัดส่วนผู้ผลิตก๊าซโลกในอนาคตแน่นอน ส่วนซาอุดิอาระเบีย ได้ฟื้นสัมพันธ์กับอิหร่านมาได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยมีอิรักเป็นคนกลางเจรจาได้ข้อตกลงคืบหน้ามาเรื่อยๆ รวมถึงประเด็นข้อขัดแย้งในเยเมน และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสหรัฐ อาหรับอิมิเรต (UAE) ก็ฟื้นคืนสัมพันธ์กับอิหร่านเช่นกัน โดยมีแผนจะส่งรัฐมนตรีต่างประเทศไปเยือนอิหร่านอย่างเป็นทางการ , ส่วนรัสเซีย – ตุรเคีย นั้นได้บรรลุข้อตกลงทางด้านพลังงานก๊าซ และการส่งออกอาหารให้ตุรเคียรวมทั้งตุรเคียจะไม่เสนอให้สภาโหวต เพื่อบล็อคสวีเดน และฟินแลนด์ไม่ให้เข้ากลุ่ม NATO
เนื่องจาก 2 ชาติดังกล่าวเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ที่ลงนามร่วมกันให้ส่งผู้ก่อการร้าย PKK เคิร์ดจำนวน 72 คนให้กับตุรเคีย ดังนั้นตุรเคีย จึงมีสิทธิ์ฉีกข้อตกลงทิ้งทันทีและเดินหน้าเป็นจระเข้ขวางคลองกีดกันทั้ง 2 ชาติไม่ให้เข้า NATO ตราบเท่าที่ตุรเคีย ยังเป็นสมาชิกซึ่งตามกฎแล้วจะขับตุรเคียออกจากกลุ่มไม่ได้ เพราะมีช่องแคบบอสฟอรัสทางเดินเรือ และฐานทัพ NATO ในตุรเคียเป็นตัวประกัน ส่วนผู้นำสหรัฐนั้นได้ให้การคาราวะนางโอลีนา เซเลนสกี้ ชาวอังกฤษภริยาผู้นำยูเครนชาวยิวที่เดินทางไปเยือนขอสนับสนุนอาวุธ , ล่าสุดสหรัฐ ยังสั่งจับกุมสมาชิกสภาคองเกรสจำนวน 16 คนในข้อหาก่อม็อบต่อต้านรัฐอีกด้วย