ท่ามกลางกระแสเทดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากพันธมิตรตะวันออก ล่าสุดอินเดียเริ่มเป็นทางการชัดเจนว่า จะลดถือครองดอลลาร์ลงจากเงินทุนสำรองเพื่อประคองค่าเงินรูปี ซึ่งผูกกับดอลลาร์สหรัฐมาอย่างยาวนาน ด้านสหรัฐอเมริกาป่วนหนัก
ซารา เฮ้าส์(Sarah House) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Wells Fargo และ เคิร์ต แรนคิน(Kurt Rankin, a senior economist) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ PNC Financial Services Group ประสานเสียงโวยรัฐบาลไบเดนชัดๆว่า “สถานการณ์เศรษฐกิจของเมกาจะไม่ดีขึ้นแน่นอน เพราะเฟดจะทำให้เกิดภาวะถดถอย เนื่องจากใช้วิธีเดียวหวังที่จะชะลอเงินเฟ้อคือการลดความต้องการบริโภค ผ่านการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง และมันก็จะแก้ไขอะไรไม่ได้”
ด้านอินเดียที่เป็นหนึ่งในพันธมิตรควอดที่สหรัฐค่อนข้างเกรงใจ แม้ว่าจะทำในสิ่งตรงข้ามกับกานคว่ำบาตรรัสเซียก็ไม่กล้าลงโทษ ทำเพียงต่อว่าและเกลี้ยกล่อม วันนี้เลิกเกรงใจประกาศเทดอลลาร์กันเห็นๆ ประเด็นนี้มาฟังเพจสาธารณะWorld Mader รายงานไว้ล่าสุดดังนี้:
อินเดียเริ่มเทขายเงินดอลลาร์จากทุนสำรองเพื่อประคองค่าเงินรูปี !!! มารอดูกันว่างานนี้จะไหวหรือไม่ ? สิ่งที่อยากให้จับตามองมากที่สุดก็คือการที่ประเทศใหญ่ ๆ หลายแห่งเริ่มเทขายเงินดอลลาร์มากขึ้นเพื่อประคองค่าเงินตัวเอง ขณะที่ตอนนี้ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยที่ ๑๐๖,๕ หน่วย !
น่าจับตามองเหลือเกินครับท่านผู้ชม !!! ล่าสุดมีรายงานออกมาว่าธนาคารกลางของอินเดีย ‘กำลังเทขายเงินดอลลาร์ออกจากทุนสำรอง’ เพื่อประคองค่าเงินรูปี โดยมองว่าค่าเงินกำลังเคลื่อนไปสู่มูลค่ายุติธรรมมากขึ้น
การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากรูปีอ่อนค่าสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยพึ่งแตะระดับ ๘๐ ต่อ ๑ ดอลลาร์ไปไม่นานนี้ และคิดเป็นการร่วงลงราว ๆ -๗% ตลอดปีนี้ ในขณะที่เงินดอลลาร์แทบจะแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินทั่วโลก
หลายคนกำลังจับตามองว่าเราจะได้เห็นดัชนีเงินดอลลาร์พุ่งไปถึง ๑๑๐ หน่วยหรือไม่ ? ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีแนวโน้มจริง ๆ หากปัจจัยระดับมหภาคยังไม่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศใหญ่ ๆ หลายแห่งเริ่มเทขายเงินดอลลาร์ออกจากทุนสำรองเพื่อประคองค่าเงินนี้ สามารถทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ล่าสุดนี้ US Dollar Index ร่วงลงมาเล็กน้อยที่ ๑๐๖.๕ หน่วยจากเดิมราว ๑๐๘ หน่วย แม้ว่าแนวโน้มหลักใหญ่ ๆ ตอนนี้จะยังคงเป็นการแข็งค่าอยู่
ตลาดหุ้นของอินเดียเผชิญเงินทุนไหลออกราว ๓ หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ และรัฐบาลมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้นเป็น ๑.๖ หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเนื่องจากการเร่งนำเข้าสินค้าจากทั่วโลก
เรื่องราวเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งที่พยายามเน้นย้ำมาเสมอเลยว่าให้ท่านจับตา ‘กระแสเงินทุนไหลออก’ เอาไว้ดี ๆ เพราะปัจจัยระดับมหภาคหลายอย่างกดดันให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น และส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะภาวะ Yield Gap ที่สูงขึ้นจากการที่ FED ขึ้นดอกเบี้ย แต่ประเทศอื่น ๆ ยังคงตามหลัง ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเริ่มเทเงินกลับไปสู่พันธบัตรที่ให้ Yield สูงกว่า ซึ่งเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกลับไปเป็นดอลลาร์ นั่นจึงถือเป็น ๑ ในแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ดอลลาร์ยิ่งแข็งค่าขึ้นไปอีก
สิ่งที่ต้องการเน้นย้ำอีกอย่างคือ ในช่วงหลังจากนี้ไปเรื่อย ๆ ให้ลองจับตาดูว่าประเทศอื่น ๆ จะเริ่มมีการระบายเงินดอลลาร์ออกจากทุนสำรองตามมาอีกหรือไม่ ? เพราะอย่างที่บอกไปว่าตอนนี้ค่าเงินทั่วโลกกำลังอ่อนลงเทียบกับดอลลาร์ แม้แต่เงินบาทเองตอนนี้ก็แตะ ๓๖.๖๐ เข้าไปแล้ว ดังนั้นธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จึงต้องเร่งปรับนโยบายอย่างเร่งด่วน แต่นั่นก็ไม่ใช่การการันตีว่าจะแก้ไขปัญหาเงินอ่อนค่าได้
ในอีกแง่หนึ่ง หากเงินดอลลาร์มีการแข็งค่าต่อไปให้ระยะยาวจริง ๆ และโลกของเรายังไม่มีสกุลเงินใหม่มาทดแทน การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ก็อาจทำให้เกิดภาวะเงินสะพัดทั่วโลกได้เช่นกัน แต่ก่อนจะเป็นเช่นนั้น ตลาดคงต้องเผชิญวิกฤตหลาย ๆ อย่างให้จบเสียก่อน ถึงจะเข้าสู่ยุครุ่งเรืองได้อีกครั้ง
โดยสรุปแล้ว เรื่องของเงินดอลลาร์และเงินเฟ้อทั่วโลกยังถือว่าน่าจับตามองมากที่สุด ซึ่งตอนนี้แนวโน้มใหญ่ของเงินดอลลาร์ยังคงเป็นการแข็งค่าอยู่ แม้ว่าจะมีการปรับตัวลงได้บ้างจากการเทขายของธนาคารกลางต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความเสี่ยงนั้น ต้องบอกว่าเงินดอลลาร์กำลังเผชิญความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกันสำหรับการคงบทบาทอำนาจในเวทีโลก เนื่องจากความตึงเครียดทางการเมืองทำให้หลายประเทศเริ่มพัฒนาระบบสกุลเงินสำรองของตัวเองขึ้นมาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มขั้วอำนาจใหม่อย่าง BRICS ตอนนี้ที่กำลังถูกจับตามองจากทั่วโลกเช่นกัน
ดังนั้นหากเกิดสงครามใหญ่หรือสงครามรุนแรงขึ้นมาจริง ๆ ก็มีโอกาสที่สกุลเงินดอลลาร์จะโดนโจมตีกลับได้ แต่ถ้าทุกอย่างยังสามารถเคลียร์ไกล่เกลี่ยกันได้ ก็ไม่แน่ว่าโลกของเราอาจจะใช้สกุลเงินดอลลาร์เป็นหลักต่อไปอีกนานเลยทีเดียว และหากเป็นเช่นนั้น เราก็อาจเห็นดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้อีกในระยะยาว
สรุปว่า ทางฝั่งตะวันตกและผู้ที่ยังให้ความหวังกับดอลลาร์สหรัฐ ยังเชื่อว่าอาจมีการไกล่เกลี่ยกันได้ระหว่างคู่ขัดแย้งมหาอำนาจเก่าและกลุ่มพหุอำนาจใหม่ แต่ถ้าดูแนวโน้มความเคลื่อนไหวของมหาอำนาจกลุ่มใหม่หลายขั้วทั้งรัสเซีย-จีน-อินเดีย อิหร่าน-ซาอุดิอาระเบียแล้ว ได้สะท้อนข้อเท็จจริงของการเลือกข้างชัดเจน ทำให้ออกอาการว่ายากที่สองฝ่ายจะประนีประนอมได้ มีแต่ต้องสู้กันจนกว่าจะชนะเบ็ดเสร็จกันไปอย่างแน่นอน เพราะคนแพ้จะสูญเสียทุกอย่าง เนื่องจากคำขวัญของสหรัฐคือ ผู้ชนะกินรวบ หรือ “The Winner takes all”!!!