โลกจับตา!! ว่าที่ปธน.คนใหม่แห่งอินเดีย คะแนนนำโด่ง จ่อเป็นผู้นำหญิงชนเผ่าคนแรก เสริมฐานอำนาจโมดีแน่นปึ้ก

0

อินเดียจัดการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ในวันนี้ทั่วประเทศ เนื่องจากนายราม นาถ โกวินท์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจะดำรงตำแหน่งครบวาระ ๕ ปีในปลายสัปดาห์นี้ รัฐสภาอินเดียเริ่มลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ โดยมีนักการเมืองหญิงจากชนเผ่าชายขอบของประเทศเป็นตัวเต็ง

ผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (MP) และสมาชิกสภานิติบัญญัติ (MLA) จากทุกรัฐจะลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีคนที่ ๑๕ ของอินเดีย โดยแต่ละรัฐจะมีค่าคะแนนเสียงแตกต่างกันไป และจะเริ่มนับคะแนนกันในวันที่ ๒๑ ก.ค.ที่จะถึงนี้

ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งนี้ นางดรูปาตี มูร์มู ผู้สมัครจากกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (NDA) คาดว่าจะเอาชนะนายยศวันต์ สิงหะ ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้าน เนื่องจากพรรค NDA ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมรัฐบาล ครองเสียงข้างมากในทั้งสองสภา

ทั้งนางมูร์มูและนายสิงหะต่างก็มีเส้นทางทางการเมืองที่ประสบความสำเร็จในอดีต โดยนางมูร์มูเป็นสมาชิกพรรคภารตียชนตา (BJP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลหลักของกลุ่ม NDA นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฌารขัณฑ์อีกด้วย

ด้านนายสิงหะคู่แข่ง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเคยเป็นสมาชิกพรรค BJP ด้วยเช่นกัน ก่อนจะย้ายมาเข้าร่วมกับพรรคตรีนามูลคองเกรส ซึ่งมีฐานเสียงหลักในรัฐเบงกอลตะวันตก แล้วออกจากพรรคเพื่อลงสมัครชิงตำแหน่งปธน.ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มพรรคฝ่ายค้าน

วันที่ ๑๙ ก.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวเอเอฟพีและอินเดียนเอ็กซ์เพรสรายงานว่า รัฐสภาอินเดียทำการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในวันจันทร์ โดยดรูปาดี เมอร์มู Droupadi Murmu  จากชนเผ่าสันธาล ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคภารติยะ ชนะตา (บีเจพี) ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เพื่อเข้าชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีกับ ยศวันท์ สินหะ อดีตสมาชิกพรรคบีเจพี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและกิจการภายนอก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้านและรัฐสภา

รายงานล่าสุดจากผลโพล การลงคะแนนเสียงโดยส่วนใหญ่สนับสนุนดรูปาดี เมอร์มู ได้รับรายงานผลจากหลายรัฐรวมถึงรัฐบ้านเกิดของเธอเมืองโอดิสชา( Odisha) และ จาร์คฮัน (Jharkhand)

การนับคะแนนจะมีขึ้นในวันที่ ๒๑ ก.ค. ในขณะที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะเข้าพิธีสาบานตนในวันที่ ๒๕ ก.ค. ๒๕๖๕

หากเมอร์มูได้รับเลือก เธอจะเป็นประธานาธิบดีชนเผ่าคนแรกของอินเดียและเป็นประธานาธิบดีหญิงคนที่ ๒ ของอินเดีย ต่อจากนางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล

เมอร์มู วัย ๖๔ ปี เริ่มต้นอาชีพการเป็นครูในรัฐโอริสสา ทางตะวันออกก่อนจะเข้าสู่การเมือง  เธอเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐโอริสสา และเคยเป็นผู้ว่าการรัฐฌาร์ขัณฑ์

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ทวีตสนับสนุนเมอร์มูว่า

“เมอร์มูได้อุทิศชีวิตของเธอเพื่อรับใช้สังคมและผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของคนยากจน, ผู้ถูกกดขี่ เช่นเดียวกับคนชายขอบ”ประธานาธิบดีของอินเดียจะได้รับเลือกจากสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเกือบ ๕,๐๐๐ คน จากทั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติระดับภูมิภาคทั่วประเทศ

คะแนนโหวตแต่ละครั้งจะถ่วงน้ำหนักตามขนาดของเขตเลือกตั้ง และจัดอันดับผู้สมัครตามลำดับความนิยม

หากผู้สมัครไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเกินร้อยละ ๕๐ ผู้สมัครที่มีคะแนนต่ำสุดจะถูกตัดออก และจะมีการโหวตใหม่จนกว่าจะมีผู้ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดเกินร้อยละ ๕๐ ซึ่งผลการลงคะแนนคาดว่าจะประกาศได้ในปลายสัปดาห์นี้

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอินเดียเป็นตำแหน่งสูงสุดในการใช้อำนาจบริหาร แต่ตำแหน่งประธานาธิบดีสามารถระงับยับยั้งหรือสั่งทบทวนการบริหารได้ รวมถึงบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล