คว่ำบาตรรัสเซีย จะจบลงในเร็วนี้!? “ยุโรป” ยอมจำนนหันหน้าหาจีน เหตุไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐฯ

0

คว่ำบาตรรัสเซีย จะจบลงในเร็วนี้!? “ยุโรป” ยอมจำนนหันหน้าหาจีน เหตุไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐฯ ในการต่อสู้บนเวทีโลกได้!?

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสออกมาว่า สหภาพยุโรปก็กำลังพิจารณามาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียใหม่ หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป ได้พบปะกันเมื่อวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับการห้ามซื้อทองคำจากรัสเซีย

โดยทางด้านของนักวิเคราะห์ชาวจีน ได้เปิดเผยผ่าน Globaltimes เมื่อวันที่ 19 ก.ค.65 ว่าอาจจะไม่มีการคว่ำบาตรใดๆอีกแล้วจากยุโรปต่อรัสเซีย เนื่องจากว่า อียูตระหนักดีว่าล้มเหลวในการบดขยี้รัสเซียแม้จะมีการคว่ำบาตรสูงสุด

ดังนั้นการคว่ำบาตรมากขึ้นจะมีประสิทธิภาพน้อยลง และการอภิปรายเรื่องการคว่ำบาตรเกิดขึ้นเนื่องจากสหภาพยุโรปเผชิญกับแรงกดดันจากสหรัฐฯ และตะวันออกกลางบางส่วน

โดยทางด้านของ Globaltimes ยังได้จี้ถามอีกด้วยว่า สหภาพยุโรปจะยังคงมีมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียรอบที่เจ็ดต่อไปหรือไม่ โดยทางด้านของนักวิเคราะห์ชาวจีนเชื่อว่า กุญแจสำคัญอยู่ที่ว่าพรรคการเมืองของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ จะชนะในสภาคองเกรสในการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนหรือไม่

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์หลายคนเชื่อว่าการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น

โดยทางด้านของ วอร์เรน แพตเตอร์สัน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ของ ING Groep NV บริษัทบริการทางการเงินของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ผลกระทบจากการห้ามนำเข้าทองคำของรัสเซียโดยกลุ่มประเทศ G7 มีแนวโน้มค่อนข้างจำกัด เนื่องจากอุตสาหกรรมได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อจำกัดทองคำรัสเซียแล้ว โดยสังเกตว่า “ดูเหมือนว่าส่วนใหญ่จะเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น”

ซึ่งทางด้านของ Wang Yiwei ผู้อำนวยการสถาบันวิเทศสัมพันธ์แห่งมหาวิทยาลัย Renmin แห่งประเทศจีน ยังได้เปิดเผยต่ออีกด้วยว่า “หลายประเทศในยุโรปกังวลว่ารัสเซียอาจลด หรือตัดการจ่ายก๊าซไปยังยุโรปอย่างถาวร เนื่องจากพวกเขาไม่ได้คิดแผนที่เป็นไปได้สำหรับฤดูหนาวอันโหดร้ายที่จะมาถึงนี้”

โดยทางด้านของ Wang ยังได้เสริมต่ออีกด้วยว่า สำหรับระยะเวลาที่สหภาพยุโรปจะคว่ำบาตรรัสเซียต่อ หวังกล่าวว่ากุญแจสำคัญอยู่ที่สหรัฐฯ เนื่องจากหลายมาตรการจำเป็นต้องประสานงานกับวอชิงตัน

แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปเริ่มวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสหรัฐฯ และรู้ว่าไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐฯได้ ทำให้สหภาพยุโรปกำลังแสวงหาความร่วมมือกับประเทศสำคัญอื่นๆ รวมทั้งจีน และตระหนักว่าการแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลกจำนวนมากจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับจีน