สหรัฐและพันธมิตรตะวันตกได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อรัสเซีย ภายหลังปฏิบัติการพิเศษทางทหารของในยูเครน โดยมุ่งเป้าทำลายเศรษฐกิจ ธุรกิจ สื่อ กีฬา หรือแม้แต่วัฒนธรรมของรัสเซีย ล่าสุดประกาศจะคว่ำบาตรรอบที่ ๗ ห้ามซื้อขายทองคำ และแบนบริษัทและบุคคลากรของรัสเซียเพิ่ม เมื่อเป็นเช่นนี้นับจากนี้ไปคงได้เห็นรัสเซียปฏิบัติการเฉียบขาดในหลายมิติอย่างที่ตะวันตกจะไม่อาจปฏิเสธได้
วันที่ ๑๙ ก.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวทาซซ์และสปุ๊ตนิกรายงานว่า ปธน.วลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซียกล่าวกับทีมบริหารของเขาในการประชุมสภาเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ว่า “รัสเซียจะไม่ถูกแยกออกจากส่วนที่เหลือของโลกด้วยการคว่ำบาตรของตะวันตก”
ปูตินกล่าวว่า “ในโลกสมัยใหม่ เป็นไปไม่ได้ที่จะวาดวงกลมรอบๆ บางสิ่งแล้วล้อมรอบมันไว้ มอสโกจะไม่ “งุนงง” กับความพยายามของตะวันตกในการจำกัดหรือปิดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ไฮเทคโดยสิ้นเชิง
ผุ้นำรัสเซียกล่าวย้ำว่า “เราจะไม่ยอมแพ้หรือสับสน หรือแม้แต่เป็นดังที่ผู้ไม่หวังดีหลายคนทำนายว่ารัสเซียจะตกต่ำย้อนเวลาไปหลายสิบปีในแง่ของการพัฒนา ในทางกลับกัน เมื่อยอมรับปัญหาจำนวนมหาศาลที่เราเผชิญ เราจะมองหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ อย่างเข้มแข็ง ใช้ทุนสำรองทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ของเราอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบริษัทนวัตกรรมในประเทศอย่างเต็มศักยภาพ”
เมื่อต้นเดือนก.ค. ปธน.รัสเซียยอมรับว่ามีความเสี่ยงมากมายที่เกิดจากการคว่ำบาตร แต่ข้อจำกัดของชาติตะวันตกได้ส่งผลเสียต่อผู้ที่บังคับใช้มาตรการดังกล่าว ทั้งสหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรป ต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นภายหลังการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซีย
เมื่อต้นสัปดาห์ สหภาพยุโรปคิดที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียบางที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ น้ำมัน และปุ๋ย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะขัดขวางการส่งออกอาหาร
ประธานาธิบดีกล่าวว่ารัสเซียกำลังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ไฮเทคจากต่างประเทศโดยสิ้นเชิง ปูตินอธิบายว่า”เราตระหนักถึงอุปสรรคจำนวนมหาศาล ดังนั้นรัสเซียจะมองหาวิธีแก้ไขปัญหาใหม่ และใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศและการวิจัยโดยบริษัทนวัตกรรมรัสเซียเอง เราจะพึ่งตนเองอย่างถึงที่สุด และเป็นที่ชัดเจนว่าเราจะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยวจากส่วนอื่นๆ ของโลก”
ปูตินเน้นงานที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด คือการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ end-to-end ซึ่งหมายภึงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจ ทั้งให้คำมั่นว่ารัสเซียทำได้และจะทำ
นอกจากนี้ ในวันอังคารที่ ๑๙ ก.ค.นี้ปธน. ปูติน แห่งรัสเซีย กำลังทำงานในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านเพื่อจัดการเจรจาทวิภาคี และเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับประเด็นสงครามซีเรีย ในการพบกับผู้นำอิหร่านและตุรกี
ปูตินมีกำหนดเดินทางถึงเมืองหลวงอิหร่านในตอนกลางวัน และจะเริ่มการเยือนด้วยการพบปะกับประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี ประธานาธิบดีอิหร่าน อ้างจากผู้ช่วยของเครมลิน ยูริ อูชาคอฟ ตามด้วยการสนทนากับอาลี คาเมเนอี ผู้นำทางจิตวิญญาณของอิหร่านและผู้นำสูงสุด ผู้ช่วยเครมลินเรียกอิหร่านว่าเป็นหุ้นส่วนสำคัญของรัสเซียเพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นมิตร มีประวัติอันยาวนาน และกำลังพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายด้าน มอสโกและเตหะรานมีแผนที่จะยกระดับความร่วมมือทวิภาคีขึ้นอีกระดับ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นข้อตกลงทวิภาคีฉบับใหม่จึงอยู่ระหว่างการเตรียมการ
ประเด็นเรื่องการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียกับอิหร่านมีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาจากมาตรการคว่ำบาตรทางตะวันตกที่เข้มงวดต่อรัสเซีย และโอกาสในการลงนามข้อตกลงถาวรระหว่างอิหร่านและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียนในเขตการค้าเสรีในปี 2565 ซึ่งควรมาแทนที่ ข้อตกลงชั่วคราว
ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย(Dmitry Pescov)เปิดเผยว่า การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งทั้งรัสเซียและสาธารณรัฐอิสลามเห็นชอบที่จะฟื้นฟูข้อตกลงในรูปแบบเดิม เมื่อผู้นำรัสเซียพบกับผู้นำของอิหร่าน พวกเขาถูกคาดหวังให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแง่มุมสำคัญของความร่วมมือทวิภาคี และความมั่นคงระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการร่วมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
“เราทุกคนรู้ว่าความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียและอิหร่าน มีมูลค่าเกิน๔,๐๐๐ ล้านดอลาร์สหรัฐฯเมื่อปีที่แล้ว แต่บางทีอาจไม่ถูกต้องที่ประเมินในมูลค่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และในวันข้างหน้า ในอนาคตอันใกล้ เราจะหันหนีแนวทางปฏิบัตินี้ ในขณะที่เรายกระดับความร่วมมือระหว่างกันในขอบเขตการเงินและการธนาคารอย่างใกล้ชิด” เปสคอฟให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่าน
โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย ระบุด้วยว่าทั้ง รัสเซียและอิหร่าน มีโอกาสเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มขึ้นในทุกๆด้าน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก
นอกจากนี้ เขายังแสดงความหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมืออย่างหนึ่งอย่างใด ไม่นานหลังจากการแก้ไขบางอย่างในรายละเอียดข้อตกลงผ่านความเห็นชอบ
เขาสรุปว่า”เราหวังว่าจะมีการลงนามในข้อตกลง ซึ่ง มีการปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมบางอย่างและพิจารณาทบทวนความเห็นของฝ่ายอิหร่านตามที่ตกลงกัน มันมีความเป็นไปได้ที่จะมีการลงนามข้อตกลงอย่างรวดเร็วและในอนาคตอันใกล้นี้”
ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ธน.ปูติน จะพบปะกับปธน.อิบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน และอยาตอลเลาะห์ ซายิด อาลี คาเมเนอี ผู้นำการปฏิวัติอิสลาม