ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงทั่วโลก ซึ่งเริ่มด้วยผลกระทบของการระบาดใหญ่และเลวร้ายลงจากวิกฤตน้ำมันที่เกิดจากการคว่ำบาตรรัสเซียในสงครามยูเครน ยุโรปต้องเผชิญหน้าความยากลำบากสาหัส ด้วยวิกฤตพลังงานส่งผลให้เกิดวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารจะตามมา
ล่าสุดปรากฏการณ์จากฟาร์มลงสู่ถนนกำลังลามทั่วยุโรป คลื่นการประท้วงของชาวนาในเนเธอแลนด์ อิตาลี เยอรมนี โปแลนด์ สเปนและเบลเยี่ยม ส่อเดือด ขณะที่เมืองใหญ่ที่เคยสวยงามอย่างปารีสต้องหมองเศร้า เมื่อประธานาธิบดีมาครงได้เรียกร้องให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการตัดก๊าซของรัสเซียด้วยการประหยัดพลังงาน พร้อมสั่งปิดไฟช่วงกลางคืนแล้ว
วันที่ ๑๗ ก.ค.๒๕๖๕ สำนักข่าวเดอะดีฟไดว์ของแคนาดาและรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ภาคเกษตรกรรมของยุโรปกำลังเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “จากฟาร์มสู่ถนน” เนื่องจากกระแสการประท้วงได้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคยุโรป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ตรงจุด ดูแลภาคเกษตรกรรมด้วยไม่ใช่สนใจแต่ความต้องการของอุตสาหกรรม
เนเธอร์แลนด์เริ่มต้นคลื่นโดยเกษตรกรชาวดัตช์ชุมนุมประท้วง เกี่ยวกับข้อเสนอกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเพื่อลดการปล่อยมลพิษ คณะรัฐมนตรีของประเทศเสนอโครงการมูลค่า ๒๒,๐๐๐ ล้านปอนด์หลังจากได้รับคำสั่งจากศาลให้ลดการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์และแอมโมเนียที่เกิดจากปศุสัตว์ลง๕๐% ภายในปี ๒๕๗๓
ตามข้อมูลของสหภาพเกษตรกรชาวดัตช์ มาตรการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ กรุงเฮกกำลังจับตาการซื้อฟาร์มภาคบังคับที่อาจนำไปสู่การปิดตัวลง สิ่งนี้อาจทำให้ฟาร์มถึง ๓๐% ของประเทศต้องเลิกกิจการ ทำให้ชาวนาดัตช์พากันไปที่ถนนเพื่อประท้วงกฎระเบียบใหม่ โดยปิดกั้นถนนสายหลักและทางเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต
🔴POLAND :#VIDEO MASSIVE PROTESTS OF POLISH FARMERS IN WARSAW!
They protested against the government's politics destabilizing production by raising interest rates, which does not stop inflation#Flash #Warsaw #Varsovia #Protests #Protesta #Farmers #Inflation pic.twitter.com/sNLGF5c6Ml
— loveworld (@LoveWorld_Peopl) July 8, 2022
ไม่นานหลังจากนั้น เกษตรกรชาวเยอรมันได้เข้าร่วมกลุ่มผู้ประท้วงชาวดัตช์ในการปิดกั้นถนนบริเวณชายแดนร่วมของพวกเขา
สมาคมเกษตรกรผลักดันการแก้ไขกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่งผ่านร่างโดยรัฐสภาของประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งการขยายตัวด้านพลังงานหมุนเวียนของเบอร์ลิน แต่ทางกลุ่มเสียใจที่การแก้ไขกฎหมายไม่ได้ช่วยอะไร ในการสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพ
เบอร์นาร์ด ครุสเคน(Bernhard Krüsken) เลขาธิการสมาคมเกษตรกรเยอรมนี กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมากว่า ในช่วงกลางของวิกฤตด้านพลังงานที่ขยายวงกว้างนี้ แหล่งพลังงานภายในประเทศที่ยั่งยืน เช่น ก๊าซชีวภาพ กลับถูกขัดขวางและจำกัดการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และไบโอมีเทน”
อีกด้าน ชาวนาโปแลนด์ประท้วงด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยคัดค้านนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งรวมถึงราคาปุ๋ยที่สูงขึ้นและการอนุญาตให้นำเข้าอาหารราคาถูกแข่งขันกัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในท้องถิ่นพุ่งสูงขึ้น และสินค้าเกษตรของท้องถิ่นขายไม่ออก
ชาวนาชุมนุมกันตามถนนในกรุงวอร์ซอและตะโกนประท้วงเดือดว่า “พอแล้ว! เราจะไม่ปล่อยให้ตัวเองถูกปล้น!” “พวกเราคนงานไม่สามารถจ่ายให้กับวิกฤตที่นักการเมืองสร้างขึ้นได้อีกต่อไป!”
ด้านอิตาลี ที่กำลังเผชิญภัยแล้วอยู่ในขณะนี้ การประท้วงของชาวนากำลังก่อตัวขึ้นบนถนนในพื้นที่ชนบท รถแทรกเตอร์ที่ยึดถนนสายหลักขู่ว่าจะ “มาที่กรุงโรม” หากรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ต่อไป
Italian farmers also rise up: "We are not slaves, we are farmers! We cannot make ends meet!" Then a warning to politicians: "Let's come to Rome!" The unjustified and nefarious increase in raw materials and basic necessities have brought the agricultural sector to its knees. pic.twitter.com/3yOTuM6Md9
— RadioGenova (@RadioGenova) July 7, 2022
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ อิตาลีประกาศภาวะฉุกเฉินใน ๕ ภูมิภาค เนื่องจากทางตอนเหนือของประเทศเผชิญกับภัยแล้งที่คุกคามเศรษฐกิจ แม่น้ำโปที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งสร้างผลผลิตทางการเกษตรประมาณ ๑๔% ของอิตาลี อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ ๗๐ ปี สมาพันธ์เกษตรกรในท้องถิ่นประเมินความเสียหายประมาณ ๓ พันล้านยูโรเนื่องจากการขาดแคลนน้ำ
ฟาบิโอ โบนัคคอร์โซ โฆษกสมาพันธ์เกษตรกรแห่งชาติของอิตาลี โคลด์ดิเรตตี (Fabio Bonaccorso, spokesman of Italy’s national farmers’ confederation Coldiretti)กล่าวว่า “เรามีการผลิตนมน้อยลงประมาณ ๓๐เปอร์เซ็นต์ ซีเรียลและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์น้อยลงประมาณ ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์” “การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์สำหรับอนาคตในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ เราจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการชลประทานแบบใหม่และการเพาะปลูกรูปแบบใหม่”
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวประท้วงทั่งในสเปนและออสเตรียอย่างกว้างขวางในปี๒๐๒๐ สหภาพยุโรปผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้ทั้งหมด ๓๓๕.๙ พันล้านยูโร โดยฝรั่งเศสและอิตาลีเป็นผู้นำในด้านการสนับสนุนที่ประมาณ ๑๘% และ ๑๔% ตามลำดับ
มาวันนี้ปรากฏการณ์จากฟาร์มสู่ถนน เป็นสัญญาณบ่งบอกยุคมืดของยุโรปกำลังคืบคลานเข้ามา เมื่อรัฐบาลใช้การเมืองโลกภายใต้คำสั่งวอชิงตัน นำพาประเทศเข้าสู่ความเสื่อมทรุดทางเศรษฐกิจอย่างเป็๋นโดมิโน แม้แต่ฝรั่งเศสอดีตมหาอำนาจผู้เกรียงไกรก็หมองมัวลงเรื่อยๆ เมื่อปธน.เอ็มมานูเอล มาครงสั่งปิดไฟตอนกลางคืน เรียกร้องให้รัฐบาลและประชาชนเตรียมรับผล จากการหยุดซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียทั้งหมด และขอให้ประหยัดการใช้พลังงานทุกครั้งที่ทำได้
ฝรั่งเศสพึ่งพาก๊าซรัสเซียน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในยุโรป นำเข้าเพียง ๑๗% ของการนำเข้าก๊าซทั้งหมดจากมอสโกว์ยังเดือดร้อนขนาดนี้ ประเทศอื่นๆที่เคยนำเข้าจำนวนมากแล้วตัดเสียดื้อๆจะสาหัสขนาดไหนเมื่อฤดูหนาวกำลังจะมาถึง!!