เปิดเบื้องลึก วิกฤตการเมืองอิตาลี! รายได้ไม่พอจ่ายหนี้สิน-ขาดพลังงานหนัก หลังร่วมวงคว่ำบาตรรัสเซีย
จากกรณีที่นายมาริโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า เขาจะลาออกจากตำแหน่ง หลังจากที่พรรค Five Star Movement ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการลงคะแนนไว้วางใจต่อนโยบายรัฐบาลที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงเช้านี้ โดยเขาบอกว่า
“ผมจะยื่นใบลาออกต่อท่านประธานาธิบดีในเย็นวันนี้ เนื่องจากรัฐบาลขาดความเป็นเอกภาพ”
ทั้งนี้ พรรค Five Star Movement ได้คัดค้านกฤษฎีกาที่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และสกัดการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน รัฐสภาอิตาลีจัดการลงคะแนนไว้วางใจนโยบายของรัฐบาลในวันนี้ แต่พรรค Five Star Movement ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม แม้ว่านายดรากีเคยขู่ก่อนหน้านี้ว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่ง หากทางพรรคไม่ให้การสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
ต่อมาทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงเบื้องหลังการลาออกของนายมาริโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ระบุว่า
อิตาลี เป็นประเทศยุโรปใต้ ที่พึ่งพิงพลังงานน้ำมันรัสเซียมาตลอด พร้อมพึ่งพิงก๊าซจากรัสเซียผ่านมาจากเยอรมนี ปลายท่อ Nordstream1 ทำให้อิตาลีมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป มีฐานะทางการเงินอันดับ 15 ของโลก (รองจากไทย อันดับ 12 , ฝรั่งเศส อันดับ 13 , สหรัฐ อันดับ 14) แต่ปัญหาใหญ่ของอิตาลีหนักวิกฤติไปมาก คือ อิตาลี “มีหนี้สินล้นพ้นตัวมากเกินไปถึง 156% ของ GDP” สถานะรายได้จึงไม่พอรายจ่ายหนี้สินต่างชาติสูงสัดส่วนพอๆ กับศรีลังกา แท้จริงแล้วอิตาลี ควรมีสถานะ”ล้มละลายทางการคลัง” ไปแล้ว
แต่ฝ่ายระเบียบโลกเก่า กลับอ้างว่าการมีหนี้สินยิ่งมากยิ่งดี ไม่ถือว่าล้มละลายแต่จัดเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” เป็นการกลับตาลปัตรข้อเท็จจริงอย่างมาก ล่าสุดประเทศในฝ่ายระเบียบโลกเก่าที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจัดอยู่เลยวิกฤติล้มละลายไปแล้ว เช่น ญี่ปุ่น 254% , กรีซ 211% , อิตาลี 156% , โปรตุเกส 135% , สหรัฐ 134% , เสปน 120% ของ GDP ประเทศเหล่านี้กลับทำ QE พิมพ์เงินเยน ดอลลาร์ ยูโร ไร้ทองคำค้ำประกันอัดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเป็นงูกินหางไม่มีที่สิ้นสุด อัตราเงินเฟ้อจึงทะยานขึ้นทุกปีจากบรรดาเงินกระดาษเหล่านั้น แต่เมื่อใดที่ชาติอื่นมีหนี้สาธารณะเกิน 100% ฝ่ายระเบียบโลกเก่า จะโวยวายสถาบันจัดอันดับจะปรับลดเกรดความน่าเชื่อถือการชำระหนี้
อ้างว่าต้องประกาศล้มละลายรีเซ็ทการเงินก่อน จึงจะยอมให้กู้ธนาคารโลก และ IMF เช่น ศรีลังกา มีหนี้สิ้น 154% ก็ล้มละลายแล้ว , กรณีอิตาลี แม้รายได้จะไม่พอรายจ่าย หนี้สินล้นพ้นตัวถึง 156% ของ GDP สูงมากเสียกว่ากรีซ ที่หนี้ท่วมจนเคยล้มละลายมาก่อนแล้ว แต่อิตาลีกลับไม่ยอมประกาศล้มละลาย แถมยังขอกู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีความเสี่ยงจะหนี้สูญ ขาดหลักประกันหนี้ และเสี่ยงจะล้มละลายตามลูกหนี้ทั้งหลายในยุโรปไปด้วย จึงเริ่มปรับนโยบายการเงินให้กู้ที่เข้มงวดขึ้น ควบคุมความแตกต่างระหว่างต้นทุนการกู้ยืมของเยอรมนี กับต้นทุนการกู้ยืมของประเทศสมาชิก EU ที่เป็นหนี้สูงอย่างอิตาลี
การได้รับเงินกู้ล่าช้าจาก ECB มาประคองวิกฤติหนี้สินก่อนจะล้มละลาย ยิ่งทำให้อิตาลีขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขาดสภาพคล่องทางการเงินชักหน้าไม่ถึงหลัง ประจวบกับอิตาลี ร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย จึงขาดแคลนปุ๋ย ต้องซื้อพลังงานน้ำมัน ก๊าซ ในราคาแพงลิ่วจากสหรัฐ ที่กดขี่ขึ้นราคาอย่างหนักจนรัฐบาลอิตาลีถังแตก บาตรคว่ำไม่เหลือเงินคงคลัง ปัญหาสารพัดถาโถมเมื่อยุโรปเร่งใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
เกิดภาวะภัยแล้ง แหล่งน้ำแห้งเหือด เกิดไฟป่าลามถึงเมืองหลวงกรุงโรม สำนักวาติกัน เกิดม็อบเกษตรกร และสิงห์รถบรรทุกคว่ำบาตรรัฐบาล ปิดสนามบิน ปิดถนนสายต่างๆ ทั่วประเทศ หยุดวิ่งส่งน้ำมัน และชัทดาวน์เมืองหลวงหลายครั้งถี่ยิบมาตั้งแต่คว่ำบาตรรัสเซีย แต่รัฐบาลก็มิได้นำพา นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี แห่งอิตาลีเดินทางขายอาวุธเป็นเงินกู้ให้ยูเครน และรับประกันความมั่นคงจะมายืนเคียงข้างเสมอไม่ต้องกลัวรัสเซีย สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอิตาลีอย่างรุนแรง ม็อบออกมาขย่มรัฐบาลรายวันจนสั่นคลอนจะล้มมิล้มแหล่
จนรัฐบาลผสมที่นำโดย นายดรากี เสนอพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การกู้ยืมเงินชุดใหม่ หวังเอามาชดเชยต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น ลดอัตราเงินเฟ้อ และวิกฤติเศรษฐกิจ แต่พันธมิตรพรรคร่วมรัฐบาล Five Star ประกาศว่าหากนายกฯ เสนอกฎหมายกู้เงินชุดใหม่นี้ จะโหวตคว่ำบาตรในสภานิติบัญญัติ แม้ว่าผลการเจรจาต่อรองนายกฯ ดรากี ขู่ว่าจะลาออกหากพรรคร่วมรัฐบาลไม่สนับสนุนให้กู้เงินมาพยุงวิกฤติพลังงาน แต่กลุ่มพันธมิตรการเมือง Five Star ก็ยืนยันประกาศว่าจะคว่ำบาตรโค่นล้มรัฐบาลให้ได้
ส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีเผชิญวิกฤตการเมือง ไม่มั่นคงเสียเอง หาทางออกวิกฤติหนี้สิน ราคาพลังงานแพง และขาดแคลนไม่ได้ นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี แห่งอิตาลี วัย 74 ปี อดีตประธานธนาคารกลางยุโรป หัวหน้ากลุ่มการเมืองพันธมิตร Five Star เอกภาพแห่งชาติประกาศว่า “ได้ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดีอิตาลีในวันที่ 14 ก.ค.2022 ที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตร Five Star เอกภาพแห่งชาติที่สนับสนุนรัฐบาลนี้ไม่มีอยู่แล้ว เขาไม่ต้องการเป็นผู้นำรัฐบาลโดยปราศจากกลุ่มพันธมิตรการเมือง Five Star ซึ่งกลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2018”
ล่าสุดประธานาธิบดีเซอร์จิโอ มัตตาเรลลา แห่งอิตาลี ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดสูงสุดใน การเมืองอิตาลี ได้ตัดสินใจระงับใบลาออกของนายกฯ ดรากี และพยายามเกลี้ยกล่อมเขาให้พยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ และขอให้เขากล่าวกับรัฐสภาเพื่อให้ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง พยายามต่อรอง ลากรัฐบาลอิตาลีออกไป เนื่องจากพรรคต่างๆ เตรียมที่จะต่อสู้ชิงอำนาจกันเองในการเลือกตั้งระดับชาติที่จะถึงในกลางปี 2023 การคว่ำบาตรการโหวตให้รัฐบาลในสภาเพราะสูญเสียการสนับสนุนจากสาธารณชนต่อบทบาทของนายกฯ ดรากี จะเกิดความเสี่ยงการล่มสลายของรัฐบาลอิตาลี วิกฤติความไม่แน่นอนทางการเมือง รัฐบาลอยู่ในสภาวะที่ไร้เสถียรภาพในสภาวะที่เปราะบางบริหารต่อไม่ได้
ส่งแรงกระเพื่อมผ่านตลาดการเงินต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีที่บ่งชี้ว่านักลงทุนต้องการหลักประกันที่สูงขึ้นเพื่อระงับหนี้ และหุ้นร่วงลง 3.3% ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2020 นายกดรากี เคยถูกมองว่าสร้างความมั่นใจว่าอิตาลีจะเคารพเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับกลไกการกู้และชำระหนี้ชุดใหม่ของธนาคารกลางยุโรป แต่ถ้าเขาต้องตกเก้าอี้นายกฯ ไปจะสร้างความไม่แน่นอนใหม่ๆ ในหลักประกันว่ารัฐบาลอิตาลีจะมีศักยภาพใช้หนี้คืนธนาคารฯ ได้ไหว
สรุป..นายกฯ อิตาลี นำชาติคว่ำบาตรรัสเซีย สนับสนุนอาวุธส่งให้ยูเครน จนเกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน เกิดวิกฤติการเงินการคลัง รัฐบาลผสมล้มเหลว จนอิตาลีตกอยู่ในความสับสนวุ่นวายทางการเมือง..สาเหตุนี้ล้มรัฐบาลยุโรป 5 ชาติในเวลาแค่ 4 เดือนมาแล้ว คือ ฝรั่งเศส , บัลกาเรีย , อังกฤษ , เอสโตเนีย , อิตาลี และนอกยุโรป คือ อิสราเอล ก็ล้มไปพร้อมกัน รัฐบาลชาติใดที่คว่ำบาตรรัสเซียจะเป็นคิวถัดไป