ขั้วอำนาจเก่าสะเทือน! กลุ่มระเบียบโลกใหม่ อาจตั้งสหประชาชาติใหม่-ซาอุฯ-อิหร่านอยู่ร่วมชายคาใน BRICS

0

ขั้วอำนาจเก่าสะเทือน! กลุ่มระเบียบโลกใหม่ อาจตั้งสหประชาชาติใหม่-ซาอุฯ-อิหร่านอยู่ร่วมชายคาใน BRICS

จากกรณีที่มีรายงานว่า ซาอุดีอาระเบีย ตุรกีและอียิปต์ มีแผนเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และหากพวกเขายื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็อาจมีหารือและให้คำตอบในที่ประชุมซัมมิตปีหน้าในแอฟริกาใต้ จากการเปิดเผยเปอร์นิมา อานันท์ ประธานฟอรัมขององค์กรแห่งนี้

ทั้งยังกล่าวด้วยว่า “ประเทศต่างๆทั้งหมดนี้แสดงความสนใจเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และกำลังเตรียมการสมัครเป็นสมาชิก ดิฉัน เชื่อว่านี่คือก้าวย่างที่ดี เพราะว่าการขยับขยายดูเป็นเรื่องดีเสมอ แน่นอนว่ามันจะช่วยส่งเสริมอิทธิพลโลกของ BRICS” เธอให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อิซเวสเตีย สื่อมวลชนรัสเซีย

ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ มีประชากรรวมกันคิดเป็นสัดส่วน 40% ของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของจีดีพีโลก จุดประสงค์ต่างๆนานาของทางกลุ่ม รวมไปถึงส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง การพัฒนาและความร่วมมือระหว่างประเทศ และสนับสนุนพัฒนาการของมนุษยชาติ

ต่อมาทางด้าน ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า โลกของ BRICS จะขยายใหญ่ขึ้นก่อนสิ้นปีนี้แน่นอน: จีน รัสเซียและอิหร่านกำลังวางแผนรวมพลังกันจัดซ้อมรบที่อเมริกาใต้โดยมีเวเนซุเอล่าเป็นเจ้าภาพเพื่อแสดงแสนยานุภาพทางทะเลให้มะกันรู้ว่าประเทศอเมริกาใต้ไม่ได้โดดเดี่ยว

ขณะเดียวกัน ข่าวแว่วมาว่ากลุ่มประเทศที่จะเข้าคิวเป็นสมาชิก BRICS ตามมาหลังจากอิหร่านและอาร์เจนติน่าคือซาอุฯ อียิปต์และตุรกีจะยื่นสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ในการประชุมคราวหน้า ประชาคม BRICS ที่จะร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจก็จะกว้างใหญ่มากยิ่งขึ้น

ดีไม่ดี ในอนาคตยาวๆ อาจตั้งสหประชาชาติใหม่ขึ้นมาเลย ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับอเมริกาและแก๊งพันธมิตรนาโต้ซึ่งชอบเอารัดเอาเปรียบได้ด้วยซ้ำ

ในขณะเดียวกัน ก็มีชาวเน็ตได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยว่า ซาอุดีอาระเบียประกาศตัดหน้าก่อนไบเดนไปเยือนในไม่กี่ชั่วโมงได้เข้าร่วมกับกลุ่มบริกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในบ้านบริกส์นี้ มีอิหร่านอาศัยชายคาอยู่ร่วมกันกับซาอุดิอารเบียได้ด้วยดี

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ของอิหร่านและซาอุดีอาระเบีย ก็เกิดความความระหองระแหงอันเกิดจากที่มีนิกายในศาสนาอิสลามต่างกัน กว่าร้อยละ 90 ของคนอิหร่านนับถือนิกายชีอะฮ์ ขณะที่ซาอุฯวางตัวเป็นแกนนำของนิกายสุหนี่ โดยประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางที่นับถือนิกายไม่เหมือนกัน ต่างก็ต้องการให้อิหร่านหรือซาอุฯเป็นแกนหลักในการปกป้องตนเอง

และเมื่อปีที่แล้ว เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษแก่สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มีเนื้อหาตอนหนึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่าน พระองค์ทรงมีพระดำรัสว่า อิหร่าน “เป็นประเทศเพื่อนบ้าน” ที่รัฐบาลริยาด “ให้ความสนใจ” และ “ต้องการมีความสัมพันธ์อันดีด้วย” หลังมีการยุติความสัมพันธ์กันครั้งล่าสุด เมื่อปี 2559

(FILES) This file photo taken on October 24, 2017 shows Saudi Crown Prince Mohammed bin Salman attending the Future Investment Initiative (FII) conference in Riyadh.
The war of words between Saudi Arabia and Iran reflects a growing rivalry between the regional heavyweights, but experts believe the risk of a direct military clash between them is low. / AFP PHOTO / FAYEZ NURELDINEFAYEZ NURELDINE/AFP/Getty Images