โดเนตสก์ เปิดตัวสถานทูตแห่งแรกในรัสเซีย! ประเดิมลงโทษประหาร “ทหารรับจ้างในยูเครน” พบอังกฤษ-โมร็อกไม่รอด

0

โดเนตสก์ เปิดตัวสถานทูตแห่งแรกในรัสเซีย! ประเดิมลงโทษประหาร “ทหารรับจ้างในยูเครน” พบอังกฤษ-โมร็อกไม่รอด

จากกรณีที่ทหารรับจ้าง 3 คน ที่ต่อสู้เคียงข้างทหารยูเครน ถูกศาลในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์พิพากษาประหารชีวิต ภายหลังการพิจารณาคดีที่รวดเร็ว โดยการพิจารณาคดีดังกล่าวใช้เวลาเพียง 3 วัน และการพิจารณาคดีครั้งแรก

ซึ่งอาสาสมัคร 2 คน ได้แก่ ชอน พินเนอร์ อายุ 48 ปี ไอเดน แอสลิน อายุ 28 ปี และ อาสาสมัครชาวโมร็อกโก ซาดัน บราฮิม ถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย ก่ออาชญากรรมโดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาชญากร และการยึดอำนาจโดยใช้กำลัง

ศาลยังพบว่าทั้ง 3 คนมีความผิดฐานทำหน้าที่เป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าทั้ง 3 คนจะยืนยันพวกเขาเป็นทหารประจำการ ซึ่งประจำการในหน่วยนาวิกโยธินยูเครนก็ตาม ทั้งนี้ ทหารที่ถูกจับเป็นเชลยศึกจะไม่สามารถประหารชีวิตได้ภายใต้อนุสัญญาเจนีวา

ล่าสุด มีรายงานว่า สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ (Donetsk People’s Republic : DPR) ซึ่งประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากยูเครนเปิดตัวสถานทูตที่กรุงมอสโกของรัสเซียเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา พร้อมกล่าวปกป้องคำตัดสิน ประหารชีวิต ชาวต่างชาติที่สมัครเข้ามาช่วยกองทัพยูเครนรบกับรัสเซีย

นาตาเลีย นิโคโนโรวา รัฐมนตรีต่างประเทศของ DPR แถลงต่อสื่อมวลชนว่า การลงโทษประหารชีวิต “ทหารรับจ้าง” ชาวอังกฤษ 2 คน และชาวโมร็อกโกอีก 1 คน กับการแสวงหาการยอมรับจากนานาชาตินั้น “เป็นคนละเรื่องกัน”
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การนำบทลงโทษเช่นนี้มาใช้จะไม่ยิ่งทำให้ DPR เสียภาพลักษณ์ไปกันใหญ่หรือ? รัฐมนตรีหญิงผู้นี้ก็ตอบว่า “เราถือว่าการเป็นทหารรับจ้างคืออาชญากรรมร้ายแรง เพราะพวกเขาเห็นแก่อามิสสินจ้างจนถึงกับเดินทางเข้ามาในประเทศอื่นเพื่อฆ่าคน ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเลย”

“มันคือบทลงโทษขั้นสูงสุดตามกฎหมายของเรา และไม่ข้องเกี่ยวอะไรกับกระบวนการที่สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์จะได้รับการยอมรับจากชาติอื่น”
ไอเดน อัสลิน และ ชอน พินเนอร์ สองพลเมืองอังกฤษ และ บราฮิม ซาดูน ชายชาวโมร็อกโก ถูกศาลของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนโดเนตสก์ตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือน มิ.ย. ซึ่งนักการเมืองตะวันตกชี้ว่าเป็นเสมือนการ “เชือดไก่ให้ลิงดู” โดยขณะนี้ทั้ง 3 คนยังอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์
ญาติของชายทั้ง 3 คนอ้างว่า พวกเขาทำสัญญาจ้างเข้ามาเป็นทหารให้กับกองทัพยูเครน ดังนั้นจึงมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยสงคราม
จนถึงตอนนี้มีเพียง “รัสเซีย” และ “ซีเรีย” เท่านั้นที่ประกาศรับรอง DPR เป็นรัฐเอกราช แต่ นิโคโนโรวา ระบุว่าพวกเขาอยู่ระหว่างหารือกับทูต “เกาหลีเหนือ” เพื่อแสวงหาการยอมรับจากเปียงยางด้วย โดยพิธีเปิดสถานทูต DPR ในกรุงมอสโกถูกจัดขึ้นอย่างไม่มีพิธีรีตองมากนัก และปราศจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียเข้าร่วม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ DPR ยอมรับว่า “อันที่จริงพวกเขาตั้งใจจะจัดพิธีเปิดสถานทูตอย่างใหญ่โต แต่ก็ต้องพับแผนไป เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครนตะวันออกที่ยังคงรุนแรง เราไม่อาจจัดงานเฉลิมฉลองได้ ในขณะที่เพื่อนร่วมชาติยังบาดเจ็บล้มตายอยู่” โอลกา มาเกเยวา เอกอัครราชทูต DPR ประจำรัสเซีย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ต่อมาก็มีรายงานว่า เกาหลีเหนือ เป็นชาติล่าสุดที่ให้การรับรองเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ (DPR) และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ (LPR) อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (13 .. 2565) สร้างความไม่พอใจให้กับยูเครน ถึงขั้นตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ