นักวิชาการไทยเปิดเบื้องลึก สื่อตะวัตกดิสเครดิตจีนบี้ลาวจ่ายหนี้รถไฟฯ แฉโยงสถาบันการเงินโลก?

0

จากที่วันนี้ 14 กรกฎาคม 2565 ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงการรายงานข่าวของสื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งออกมาดิสเครดิตจีนต่อการเป็นเจ้าหนี้ลาวนั้น

ทั้งนี้ดร.ปฐมพงษ์ ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ชวนตั้งข้อสังเกตุผ่านโพสต์ลงใน Blockdit โดยระบุว่า “ระวังการนำเสนอข่าวของสื่อตะวันตก:

อย่าเพิ่งไปด่วนเชื่อข่าวข้างล่างนี้จากสำนักข่าวอเมริกันอย่าง  VOA ปรกติ จีนจะมีทางออกให้ประเทศที่กู้ยืมเงินเสมอ เจตนาของสำนักข่าวอเมริกาคือ discredit จีน ให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหันไปกู้ IMF และ World Bank ที่พวกตนเองคุมอยู่แทน

สถาบันการเงินอย่าง IMF และ World Bank นี่แหละครับคือ โคตรตัวแสบ เป็นที่มาของ Debt Trap อย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่แค่ให้ยืมเงินเท่านั้น

หากเป็นหนี้เป็นสินมากๆ ยังบีบให้เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศและแก้กฎหมายภายในประเทศด้วย เพราะมีสถาบันการเงินซึ่งมีการเมืองแอบแฝงอย่าง IMF และ World Bank นี่เอง ทำให้เกิดประเทศกลุ่ม BRICS ที่ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องตามมา

ประเทศลาว ซึ่งเป็นหนี้จำนวนมหาศาลต่อประเทศจีน กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก”

ขณะที่เว็บไซต์ ThaiPublica ได้เผยแพร่ข้อมูลถึงการลงทุนและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้สินของลาวไว้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2021รายงานโดยปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจว่า  เดือนสิงหาคมนี้ ขบวนรถไฟ CR200J Fuxing EMU 2 ขบวน จะถูกส่งจากจีนไปถึงลาวเพื่อเริ่มทดลองเดินรถตามเส้นทางรถไฟลาว-จีน ก่อนเปิดให้บริการจริงในวันที่ 2 ธันวาคม ระหว่างการเตรียมความพร้อม เสียงวิพากษ์วิจารณ์โครงการนี้ก็เริ่มดังขึ้น โดยเฉพาะประเด็นภาระหนี้สินของรัฐบาลลาว

หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับภาระหนี้จำนวนมหาศาลที่รัฐบาลลาวต้องแบกรับจากโครงการทางรถไฟลาว-จีน ที่กำลังจะเปิดให้บริการในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยต้นทางหนึ่งของเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น ดังไปจากประเทศไทย

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2564 สอนสัก หน่อยานสะนะ อดีตรองหัวหน้ากรมทางรถไฟลาว กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ที่เป็นผู้มีบทบาทกับโครงการนี้มาตั้งแต่ต้น ได้เขียนบทความเรื่อง “ผลประโยชน์ที่แท้จริงของเส้นทางรถไฟลาว-จีน คืออะไร ?” เพื่อชี้แจงข้อมูล ให้ความกระจ่างต่อประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ผ่านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ไทม์” ภาคภาษาลาว

บทความของอดีตรองหัวหน้ากรมทางรถไฟลาว มีรายละเอียดบางช่วงที่สำคัญดังนี้ว่า จุดประสงค์ของโครงการเส้นทางรถไฟลาว-จีน คือส่วนหนึ่งของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการค้าและการท่องเที่ยว ระหว่างจีนและประเทศอื่นๆในโลก

เส้นทางรถไฟลาว-จีน ได้ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบการลงทุนระหว่างภาครัฐ-เอกชน(PPP) ก่อสร้าง ดำเนินงาน และส่งมอบ(BOT) และกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล(G to G) ซึ่งจากรูปแบบความร่วมมือเหล่านี้ รัฐบาลลาวและจีนได้ตกลงจัดตั้งบริษัทร่วมทุน(บริษัททางรถไฟลาวจีน จำกัด – ผู้เขียน) โดยแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นกัน 30 : 70 เปอร์เซ็นต์ (ลาว 30% จีน 70%)

การจัดสรรทุนในรูปแบบ Debt Financing คิดเป็นสัดส่วน 60% ของเงินลงทุนทั้งหมด 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหมายความว่าบริษัทร่วมทุนลาว-จีน จะต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินจากรัฐบาลจีน จำนวน 3.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามความเป็นจริงแล้ว จำนวนเงินที่รัฐบาลลาวได้กู้ยืมจากจีนเพื่อรับประกันให้ลาวได้ถือหุ้นในสัดส่วน 30% ของเงินทุนในโครงการนั้น มีเพียง 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราดอกเบี้ย 2.3% ต่อปี ส่วนที่ยังเหลือ คือเงินส่วนที่เป็นของรัฐบาลลาวเองเป็นผู้ใส่เข้าไป ซึ่งตกประมาณ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อดูจำนวนเงินที่ประเทศลาวต้องได้กู้ยืมจากประเทศจีนแล้ว เห็นว่ารัฐบาลลาวจะไม่เผชิญกับการเป็นหนี้สินขนาดใหญ่ และจะไม่มีความเสี่ยงด้านการลงทุนมาก ดังที่นักวิจารณ์หลายคนได้แสดงความกังวลไว้ก่อนหน้านี้

(อ่านรายละเอียดได้ที่ https://thaipublica.org/2021/07/pundop37/)