สงครามเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐขุมอำนาจระเบียบโลกเก่ากับกลุ่มหลายขั้วอำนาจใหม่อย่างจีน เห็นภาพชัดขึ้นทุกทีว่า อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ครอบงำโลกมานาน กำลังพ่ายแพ้ตกต่ำลงเรื่อยๆ ล่าสุดในการเจรจาทางเศรษฐกิจ มีข่าวอื้ออึงว่า รวม.คลังสหรัฐขอให้ทางจีนซื้อพันธบัตรเพิ่ม แต่จีนเมิน ไม่พูดอะไรแต่ออกมาไม่นาน ประกาศทุ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ๒.๒ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมขายพันธบัตรจีนทั้งระยะสั้น ระยะยาวสวนลงแข่งในตลาด หลังจากก่อนหน้านี้ ประกาศให้เสรีหยวนเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆเพียบ
ประเด็นสำคัญครั้งนี้ เพจสาธารณะ World Maker ได้รวบรวมเหตุการณ์ไว้ดังนี้
จับตาเศรษฐกิจจีน !!! หรือรอบนี้เอาจริงแล้ว ?? ล่าสุดรัฐบาลกำลังพิจารณา ‘จัดหนักกระตุ้นเศรษฐกิจ’ ด้วยงบประมาณมหาศาลถึง 2.2 แสนล้านดอลลาร์ในครึ่งหลังปีนี้ ! โดยอาจจะมีการออกขายพันธบัตรอย่างไม่เคยมีมาก่อน !! งานนี้ถ้าผ่านออกมาถือว่าชุดใหญ่ของจริง มารอดูกัน !
หรือว่าทางพี่จีนจะเอาจริงแล้ว ??? ล่าสุดสื่อระดับโลกเผย ! กระทรวงการคลังจีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นสูงถึง 2.2 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ !
บอกเลยว่าถ้ามาตรการนี้ผ่านออกมาจริง แปลว่าเศรษฐกิจของจีนในช่วงครึ่งปีหลังจะได้รับการ ‘จัดเต็ม’ อย่างแน่นอน เพราะหมากนี้ของรัฐบาล หากเลือกเดินแล้วจะเป็นการพลิกกลับจากการปฏิรูปกฏระเบียบตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป้นแรงกดดันหลักให้ตลาดการเงินของจีนโดนเทขายอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ รายละเอียดเบื้องต้นเปิดเผยว่ามาตรการดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การระดมทุนเข้าสู่ภาค ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ ซึ่งจะเป็นการอัดฉีดเงินครั้งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ! และจะมุ่งเน้นไปที่การ ‘หนุนเศรษฐกิจ’ ใน Sector ที่ประสบปัญหาของประเทศด้วย (รวมถึงอสังหาริมทรัพย์)
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลจากนักวิเคราะห์ฝั่งตะวันตก ที่มองเศรษฐกิจของจีนกำลังเผชิญวิกฤตเลวร้าย แม้ว่าจีนจะตั้งเป้าหมาย GDP ไว้ +๕.๕% และรัฐบาลจีนก็ให้คำมั่นจะทำเช่นนั้นให้ได้ในปีนี้
หมากของจีนถือว่าสวนทางโลกกันเลยทีเดียว เพราะเกิดขึ้นในขณะที่ FED และธนาคารกลางแห่งอื่น ๆ เร่งขึ้นดอกเบี้ย และถือเป็นการก้าวเดินที่รัฐบาลจีนมั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมาย GDP ได้ ! ดังนั้นคงต้องมาลุ้นกันแล้วว่าระหว่างฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของจีนกับนักวิเคราะห์ฝั่งตะวันตกที่มองว่าจีนจะเผชิญวิกฤต มุมมองของใครจะแม่นยำกว่ากัน ?
นักวิเคราะห์ฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่ให้การยืนยันอย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนัก และอาจขยายตัวน้อยกว่าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ
ขณะที่ทางจีนก็เร่งดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและหนักแน่น ซึ่งดูแล้วคงไม่สามารถกล่าวได้ว่าจีนแค่ทำเล่น ๆ เพราะงานนี้ดูเหมือนจะถึงเวลาใส่เต็มแบบไม่กั๊ก
เศรษฐกิจโลกมาถึงช่วงรอยต่อที่สำคัญสำหรับการวางระเบียบไปสู่ยุคอนาคตแล้ว และเราต้องมาจับตาดูกันอย่างใกล้ชิดว่าแต่ละประเทศจะเดินหมากกันอย่างไร ขณะที่ตอนนี้ทางฝั่งสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย และเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่องเทียบกับทุกสกุลเงินทั่วโลก
ตอนนี้มีคาดการณ์กันอย่างท่วมท้นเลยว่า FED อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย ๐.๗๕% ต่อไปอีก ! เพราะการขึ้น ๐.๕% นั้นอาจทำให้ตลาดผิดหวังและคิดว่า FED ไม่ตั้งใจจะควบคุมเงินเฟ้อ
รายงานเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ของ FED หลายคนเริ่มยอมรับว่าถ้าหากยังไม่จริงจังในการขึ้นดอกเบี้ย ตลาดจะไม่เชื่อว่า FED ต้องการควบคุมเงินเฟ้อ และอาจทำให้ความคาดหวังเงินเฟ้อสูงขึ้นจนคุมไม่อยู่ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ FED ต้องมี ‘จุดยืนที่เข้มงวด’ อย่างชัดเจน
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นการยอมรับโดยตรงว่าแรงกดดันเงินเฟ้อตอนนี้มากเกินไปที่ FED จะนิ่งนอนใจต่อไปได้ ขณะที่ตลาดก็เดิมพันว่า FED จะต้องขึ้นดอกเบี้ย ๐.๗๕% ในปลายเดือนนี้ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ ๔๐ ปี
นักวิเคระาห์หลายคนชี้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังชะลอตัว และนโยบายการเงินที่ตึงตัวจะทำให้เกิด Recession ขึ้น ซึ่งหลายคนตั้งความหวังว่า Recession ตรงนี้จะช่วยลดเงินเฟ้อได้
อัตราดอกเบี้ยบ้าน (Mortgage Rates) ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นถึง ๒ เท่านับตั้งแต่ต้นปีมานี้ ซึ่งใครซื้อบ้านก็จะรู้ดีว่าการที่ดอกเบี้ยพุ่งขึ้น ๒ เท่าตัวมันเยอะแค่ไหน และไม่ต้องสงสัยเลยว่าดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อ Demand บ้านโดยตรง ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือตอนนี้ราคาบ้านของสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงลิ่ว
ดังนั้นหาก Demand ลดลงอย่างกะทันหัน ให้จับตาดูว่าราคาบ้านจะร่วงฮวบลงตามมาด้วยหรือไม่ ? ขณะที่ตอนนี้แรงงานราว ๘๐% ในสหรัฐฯ กำลังกลัวการตกงานท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ตัวเลขที่น่าตกใจกว่านั้นคือมีคนงานถึง๕๔% ที่ตอบแบบสำรวจ ซึ่งระบุว่าพวกเขาโดนลดค่าจ้างลงเพื่อให้มีงานทำต่อไป ขณะที่ผลสำรวจในกลุ่มผู้จัดการพบว่าประมาณ ๙ ใน ๑๐ คนระบุว่าพวกเขาจะต้องเลิกจ้างพนักงงานเพิ่มเติมหากเกิด Recession ขึ้น
นอกจากนี้ ชาวอเมริกันถึง ๕๖% ในการสำรวจระบุว่าพวกเขารู้สึก ‘ไม่พร้อม’ หรือ ‘ไม่รู้จะรับมืออย่างไร’ กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย