“ยุโรปสปริง” เดือดอีกรอบ! ปชช.เกือบทั้งทวีป แห่ประท้วงหนัก การเมืองในปท.ล่ม-เจอวิกฤตพังไม่เป็นท่า
จากกรณีที่สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากต้องเผชิยกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพพุ่งสูง อีกทั้งยังเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ในขณะที่เงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งแตะ 9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี หลังจากที่ราคาอาหารและพลังงานต่างพุ่งขึ้นจากการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา
ในขณะที่รัฐบาลในประเทศยุโรปหลายประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหาการเมืองภายในประเทศ อย่างที่บัลแกเรีย ที่ถูกสภาโหวตจนผู้นำตกเก้าอี้ ในขณะที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสซึ่งเพิ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในเวลาเพียงไม่ถึงสองเดือนก่อนหน้านี้ กำลังจะสูญเสียการควบคุมในรัฐสภา
ล่าสุดทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่การเมืองในประเทศยุโรป กำลังเจอปัญหา โดยอ้างอิงจากสำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า ขณะนี้นักลงทุนมีความเห็นตรงกันทั่วโลก ว่าสหรัฐ ยุโรป ถึงจุด “เศรษฐกิจถดถอยแล้ว” ความต้องการใช้พลังงานน้ำมันในระยะต่อไปนี้อาจจะลดลง ราคาจะปัจจุบันไม่เกินราว 100 ดอลลาร์/บาร์เรล จะค่อยๆ ลดลงเท่าเดิมก่อนเกิดสมรภูมิรบในยูเครน เหลือราว 65 ดอลลลาร์/บาร์เรล ในช่วงปลายปี 2022 แต่สมมุติฐานนี้อ้างอิงที่การผลิตน้ำมันรัสเซียคงที่ราว 10 ล้านบาร์เรล/วัน เท่านั้น หากรัสเซีย หัวหน้า OpecPlus ตกลงกับกลุ่ม Opec ลดกำลังการผลิตลงประเทศเดียวเหลือ 5 – 7 ล้านบาร์เรล/วัน ราคาดังกล่าวก็ยากที่จะเป็นไปได้ เพราะโลกตะวันออกจีน อินเดีย เอเซีย อาเซียน ที่เศรษฐกิจกำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวจากโควิด-19 จึงมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นทดแทนส่วนของโลกตะวันตก
ขณะนี้ยุโรป กำลังโกลาหล อลหม่านอย่างหนักจากการขาดแคลนพลังงานน้ำมัน ก๊าซ ในการเตรียมตุนช่วงฤดูหนาวสุดโหดที่จะมาถึง โดยแต่ละชาติไม่สนใจสภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อมอะไรกันอีกแล้ว EU เร่งนำเข้าถ่านหินกักตุนกันขนานใหญ่ จนท่าเรือในยุโรปแน่นขนัด ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐฯ โคลัมเบีย ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ การขนส่งระยะทางไกลมากราคาจึงแพงกว่าถ่านหินรัสเซียหลายเท่าตัว ต่อไปนี้ยุโรปจะเข้าสู่ “ยุคหินเก่า” เผาถ่านหินโรงไฟฟ้ากันขนานใหญ่ สภาพอากาศ ฝุ่นละออง จะปกคลุมด้วยควันมลพิษสีดำทั้งทวีป และไม่มีโอกาสกลับมาท้องฟ้าสดใสเหมือนก่อนอีกแล้ว
ส่วนการเมืองภายในยุโรป “เดือดระอุมืดมัวระส่ำระสาย” ยิ่งกว่า เช่น ในบัลกาเรีย ผู้นำประเทศที่โปรสหรัฐ ถูกสภาโหวตตกเก้าอี้ไปแล้ว , ฝรั่งเศส พรรครัฐบาลแพ้เลือกตั้ง ส.ส.กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยออกกฎหมายไม่ได้เลย ,
เยอรมนี เกิดม็อบวุ่นวายในหลายเมืองให้เลิกหนุนอาวุธให้ยูเครน และ NATO อุตสาหกรรมทั้งหมดในเยอรมนีเสี่ยงล่มสลายอย่างถาวร เช่น อะลูมิเนียม แก้ว เคมี ฯลฯ , เนเธอร์แลนด์ ม็อบเกษตรกรเรือนแสนไม่พอใจรัฐบาลมากที่อัตราเงินเฟ้อสูง ละทิ้งลอยแพเกษตรกร ,
โปแลนด์ ม็อบจำนวนมากออกมาประท้วงโห่ร้องขับไล่ชาวยูเครน กลับไปดินแดนตนเอง เพราะชาวโปแลนด์พบว่าผู้ลี้ภัยจำนวนมากจอดรถยุโรปหรูราคาแพงเต็มอาคารไปหมด ร่ำรวย ใช้ชีวิตสุขสบายกว่าชาวโปแลนด์ ไม่ใช่ผู้เดือดร้อนแท้จริง จึงควรกลับไปยูเครน
ส่วนสหราชอาณาจักรรัฐบาลกำลังร่อแร่ ผลจากรัฐมนตรีคลัง และสาธารณสุขลาออก เพราะหมดความเชื่อมั่นต่อผู้นำประเทศ สร้างแรงสั่นสะเทือนทางการเมืองรุนแรงเกินคาด นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน กำลังเคว้งขาลอยสะเปะสะปะ แต่งตั้งนายนาดิม ซาฮาวี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ให้มารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สร้างความงุนงงและวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอังกฤษ ว่าในสภาพเศรษฐกิจวิกฤติอย่างนี้ ยังตั้งคนไม่เหมาะสมมาบริหารคลังประเทศ , ตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลกลางอังกฤษ จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ประมาณ 22 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รวมเป็นคณะบริหารรัฐบาลกว่า 100 คน (ไม่มีการกำหนดจำนวนรัฐมนตรี)
ล่าสุดรัฐบาลกลางอังกฤษ มีรัฐมนตรีว่าการ และช่วยว่าการ ท้อแท้ถอดใจลาออกชิ่งหนีก่อนเรือจะล่มไปแล้วกว่า 38 ราย หรือเกือบ 40% คณะรัฐบาลจึงอยู่ในสภาพ “ทุลักทุเล” มากที่สุด , ในระบบการปกครองของอังกฤษนั้น เป็นต้นแบบสังคมโลกมายาวนาน โดยปกครองด้วย “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงดำรงในฐานะ “ประมุขแห่งรัฐ” ทรงใช้พระราชอำนาจฝ่ายบริหารผ่านทางรัฐบาล นายกรัฐมนตรี “จะต้องเข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานสถานการณ์ของประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์” โดยที่พระองค์จะเสนอแนะและซักถามเหตุการณ์ต่างๆ เป็นจารีตไม่เคยเปลี่ยนแปลง พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร จะมีพระราชอำนาจดังนี้ เช่น
– การโปรดเกล้าฯ “แต่งตั้งหรือ ให้พ้นจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ตามพระราชอัธยาศัย” โดยรับฟังคำแนะนำจากเสียงส่วนใหญ่ในสภา
– การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรี โดยคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี
– การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการยับยั้งกฎหมาย
– การบังคับบัญชากองทัพในฐานะองค์จอมทัพแห่งชาติ โดยผ่านสภากลาโหม ในพระปรมาภิไธยในพระมหากษัตริย์
– ประกาศสงครามหรือประกาศสันติภาพ , ส่ง หรือ ถอนกำลังทหารในเขตโพ้นทะเล
– โปรดเกล้าแต่งตั้งองคมนตรี (หรือที่ปรึกษาฯ มีกว่า 500 คน มากที่สุดในโลก รัฐมนตรีทุกคนราว 100 คนจะเป็นองคมนตรีโดยตำแหน่ง ส่วนที่เหลือ 400 คน แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการ และผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ)
– พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– รับรองสถานะทางการทูต , ให้อำนาจและรับรองตราตั้งราชทูต
การเมืองภายในสหราชอาณาจักรยามนี้สั่นคลอน “ไม่มั่นคงอย่างรุนแรงวิกฤติหนักที่สุด” นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลกลาง แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะบริหารประเทศต่อไปอย่างราบรื่น มีแต่นับวันถอยหลังจบลงวันใดเท่านั้น , ล่าสุดนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งอังกฤษ ต่อสายหาประธานาธิบดีเซเลนสกี้ แห่งยูเครน ขอให้สั่งทหารสู้ต่อไปอย่ายอมแพ้ จะยึดคืนพื้นที่จากรัสเซียได้แน่นอน อังกฤษ จะรับประกันความมั่นคง และจะยืนเคียงข้างเสมอ..ทนทู่ซี้ต่อไปสักอีกนิด คว่ำบาตรรัสเซียต่ออีกสักหน่อย..สู้ต่อไป ชนะคว่ำถูลู่ถูกังแน่นอน