จากที่ ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสำนักข่าวกรองกลาง หรือ ซีไอเอ หน่วยงานข่าวกรองฝ่ายพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐนั้น
ทั้งนี้นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความลง Blockdit เมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2565 โดยมีเนื้อหาที่น่าติดตามเกี่ยวกับซีไอเอว่า “อเมริกาใช้หน่วยงาน CIA จับกุมผู้เห็นต่างและทรมาน แต่ชอบสร้างภาพว่าตนเองส่งเสริมสิทธิมนุษยชนกลบเกลื่อน
“รอน พอล อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งเป็นวิญญูชนอเมริกา พร้อมทีมงาน ได้ออกมาแฉเองว่าหน่วยงาน CIA ของรัฐบาลอเมริกาได้จับกุมตัวผู้เห็นต่างมาขังไว้ในแคมป์แล้วทรมาน
โดยเฉพาะในช่วงนางจีนา ฮัสเปล เป็นผู้อำนวยการซีไอเอ นางจับชาวอิรักจำนวนมากมาทรมานในคุกจนตายแล้วอเมริกาก็สร้างภาพว่าตนเองส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยกลบเกลื่อนภาพจริงของตนเอง”
ต่อมาเมื่อเรื่องราวดังกล่าวเผยแพร่ออกไปสู่โลกโซเชียลฯ ก็มีการเข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีบางความคิดเห็นที่น่าพิจารณาเมื่อปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายกับความเคลื่อนไหวในประเทศไทย เช่น
“สหรัฐอเมริกาไปรุกรานกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่าคนชาติตะวันออกมากมายหลายชาติ ต้องได้รับการโต้ตอบคืนอย่างสาสมเมื่อลมตะวันออกเปลี่ยนทิศทางรวมกำลังกันต่อสู้เอาคืนทำลายล้างจากชาติอาหรับ”
“คนหนุ่มสาวของอิรักก่อนปี 2546 ที่ไม่ชอบการปกครองของซัดดัม พากันประท้วงไม่เอาซัดดัม โบกมือเรียกอเมริกา นาโต้ รีบมาปลดปล่อยเผด็จการจากซัดดัม หวังอยากได้ ปชต. ที่เบ่งบาน ไม่มีประชาธิปไตยที่เบ่งบานจนถึงทุกวันนี้ ทรัพยากรโดนปล้น คนอิรักถูกฆ่าเป็นล้าน”
“เด็กหนุ่มสาวไทยก็เป็นเช่นนั้น อยากได้ประชาธิปไตยจนลืมรากเหง้าของตัวเอง ทุกวันนี้มีความสุขขนาดไหนก็ไม่เข้าใจสุขจนเลยเถิดต้องเป็นขี้ข้าเขาคงจะพอดี”
อย่างไรก็ตามทีมข่าวเดอะทรูธ ตรวจสอบประวัติ ซัดดัม ฮุสเซน หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี เบื้องต้น ก็พบว่าซัดดัมเป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.
โดยซัดดัม ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ได้พัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยมีการให้เสรีภาพสตรีที่เพิ่มขึ้น และให้งานตำแหน่งสูงๆ ในรัฐบาลและอุตสาหกรรม สร้างระบบกฎหมายแบบตะวันตก ทำให้อิรักเป็นประเทศเดียวในอ่าวเปอร์เซียที่ไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม (ชาเรีย)
ซัดดัม มีความโดดเด่นในหมู่ผู้นำอาหรับอื่นๆในฐานะผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านสหรัฐ และให้การสนับสนุนปาเลสไตน์ ภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆในประชาคมโลก เฝ้าระวังจับตามองซัดดัมด้วยความหวาดระแวงว่ามีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง
กระนั้นในที่สุด ซัดดัม ก็ถูกถอดถอนโดยสหรัฐและฝ่ายพันธมิตรในการบุกอิรักเมื่อปี พ.ศ. 2546 ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก ในฟาร์มแห่งหนึ่งชานเมืองติกรีต ต่อสู้คดีในศาลพิเศษอิรักที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก
และในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ เมื่อในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ท่ามกลางสายตาของชาวโลก