จากกรณีเยอรมนีบรรลุข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานในระยะยาวกับกาตาร์ เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
เยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป พยายามที่จะพึ่งพาแหล่งพลังงานของรัสเซียน้อยลง จึงได้บรรลุข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานในระยะยาวกับกาตาร์แล้วที่ผ่านมา รัสเซียเป็นซัพพลายเออร์ก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดให้กับเยอรมนี แต่นับตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน โรเบิร์ต ฮาเบ็ค รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนี ก็ได้ริเริ่มแผนการต่าง ๆ ที่จะลดการพึ่งพารัสเซีย
ล่าสุดทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่กาตาร์ฉีกสัญญาก๊าซเยอรมนี ให้จีนเสียบแทนคุมก๊าซยุโรป โดยอ้างอิงจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวลาตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เยอรมนี เป็นผู้นำเข้าก๊าซรัสเซียรายใหญ่ที่สุดในในยุโรป ใช้เพื่อให้พลังงานแก่บ้านเรือน บริษัทผลิตไฟฟ้า ปรุงอาหาร และตามท้องถนนทั่วเยอรมนี และขายต่อให้กับชาติในสหภาพยุโรป (EU) ก๊าซ น้ำ ถ่านหิน จากรัสเซีย ทำให้เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเยอรมัน ยุโรป มั่งคั่งเหนือทวีปอื่น เพราะความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์พลังงาน แต่สหรัฐ อังกฤษ ไม่ชอบและระแวงการผงาดขึ้นจากอิทธิพลของเยอรมนี ต่อยุโรป จึงต้องเตะตัดขาโดยยุยงให้คว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ แห่งเยอรมนี มีความกลัวสหรัฐมากจึงทำตามแต่โดยดี แม้ภายในพรรคร่วมรัฐบาลจะระส่ำระสาย
ช่วง มี.ค.2022 สหรัฐ และสหภาพยุโรป (EU) กำลังคึกจัดเพราะฝันไปว่าจะหลอกใช้ยูเครน เอาชนะรัสเซีย ได้แน่ช่วงนั้น EU มอบให้ผู้นำเยอรมนี ไปเจรจากับราชวงศ์กาตาร์ เพื่อจะลงนามในสัญญาซื้อก๊าซเหลว LNG แล้ว EU จะซื้อต่อจากเยอรมนีอีกที ฝันว่าจะเลิกพึ่งพาพลังงานรัสเซีย แต่แล้วก็เกิดเรื่องแปลกๆ ขึ้นเมื่อกาตาร์ ได้กำหนดเงื่อนไขโหดขึ้นมาในสัญญาก๊าซ เช่น สัญญา 20 ปี , ราคาขึ้นลงตามจริงอิงเอเซียไม่มีส่วนลด และห้ามขายต่อ ทำเอาเยอรมนี และ EU ตกตะลึงไปต่อไม่เป็น เพราะที่ผ่านมาเยอรมนี เป็นยี่ปั้วนำเข้าก๊าซของรัสเซีย ขายต่อให้กับยุโรป ถ้ายอมรับสัญญานี้จะส่งผลให้เยอรมนี ขายต่อไม่ได้ ในที่สุดสัญญาก๊าซกาตาร์กับเยอรมนีก็ล่มในนาทีสุดท้าย
กาตาร์ เป็นนายทุนอันดับ 1 ให้กับกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ คู่อริอิสราเอล และกาตาร์ ยังเป็นลูกพี่ผู้นำรัฐบาลตอลีบัน อัฟกานิสถาน ที่มีจีน ปากีสถาน หนุนหลังร่วมด้วย ความสัมพันธ์ของกาตาร์กับจีน จึงยาวนานและลึกซึ้งเกินกว่าชาวยุโรปจะเข้าใจ อีกทางหนึ่งคู่แข่งค้าก๊าซของกาตาร์ ไม่ใช่ใครอื่น คือ สหรัฐ ออสเตรเลีย นั่นเอง , ในปี 2021 จีน เป็นนำเข้าก๊าซ LNG รายใหญ่ที่สุดของโลกราว 45% ของความต้องการโดยมากสุดเป็นก๊าซจากออสเตรเลีย และอันดับสองคือกาตาร์ โดยนำเข้าก๊าซ LNG เกือบ 9 ล้านตัน หรือ 11% ของการนำเข้า
กาตาร์ มีความปรารถนาจะเสริมความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศแข่งขันกับสหรัฐ ออสเตรเลีย โดยในพื้นที่ทางเหนือของกาตาร์เป็นแหล่งก๊าซนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก กาตาร์วางแผนขยายแหล่งก๊าซทางเหนือจะต้องใช้เงิน 300,000 ล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าให้โครงการแล้วเสร็จภายในปี 2027 ขยายศักยภาพการผลิตก๊าซของกาตาร์เพิ่มขึ้นเกือบ 64% เสริมความแข็งแกร่งให้กับอำนาจของประเทศท่ามกลางสงครามพลังงานที่ดุเดือดกับออสเตรเลีย และสหรัฐ เรื่องนี้คนอย่างประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย นักกลยุทธุ์ชั้นครูต้องไม่ปล่อยให้ยุโรป ได้เข้าถึงแหล่งก๊าซนี้โดยง่าย
รัสเซีย จึงแท็กทีมกับจีนเห็นโอกาสทองที่จะควบคุมพลังงานยุโรปในกำมือ และจะช่วยขยายผลประโยชน์ของจีนในโครงการ LNG ของกาตาร์ การที่ออสเตรเลีย ร่วมกับสหรัฐ ต้านจีนในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิค และขัดขวางจีนในการแผ่อิทธิพลไปทางหมู่เกาะแปซิฟิคใต้ ทำให้จีนลดระดับความสัมพันธ์กับออสเตรเลียลง ให้น้ำหนักกับพลังงานก๊าซกาตาร์มากขึ้นสร้างความมั่นคงในระยะยาว จีนจึงร่วมมือกับกาตาร์ ตั้งเงื่อนไขแปลกๆ ในสัญญาก๊าซจนเตะเยอรมนีกระเด็นไปในที่สุด ส่วนเสี่ยหุ้นใหญ่ที่ร่วมลงทุนในแหล่งก๊าซกาตาร์ก็คือ “จีน” นั่นเอง
เมื่อจีนมาร่วมลงทุนกับ กาตาร์ จะทำให้ไม่นานจากนี้จะกลายเป็นผู้ส่งออก LNG รายใหญ่ที่สุดในโลก แทนคู่แข่งออสเตรเลีย สหรัฐ ส่วนก๊าซรัสเซีย ส่งให้จีนทางท่อไซบีเรีย และชาติพันธมิตร , ก๊าซกาตาร์จะนำเข้าจีนเพิ่มขึ้นแทนที่ก๊าซออสเตรเลีย , ก๊าซยุโรปในอนาคต จีน-กาตาร์ จะควบคุมเองว่าจะขายให้ในราคาโขกสับ หรือปริมาณเท่าใด หรือไม่ขายให้ก็ต้องปรึกษาคู่หูรัสเซียอีกที