นายกฯสกอตแลนด์ แหกหน้าผู้นำอังกฤษ! ลุยประชามติรอบ2 ขอแยกตัวออก ไม่ยอมตกเป็นนักโทษ

0

นายกฯสกอตแลนด์ แหกหน้าผู้นำอังกฤษ! ลุยประชามติรอบ2 ขอแยกตัวออก ไม่ยอมตกเป็นนักโทษ

จากกรณีที่มีรายงานว่า นิโคลา สเตอร์เจียน นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ ประกาศแผนจัดทำประชามติรอบสองเพื่อแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร ในวันที่ 19 ต.ค. ปี 2023 พร้อมยืนยันจะใช้มาตรการทางกฎหมายที่จำเป็นเพื่อให้การโหวตดำเนินไปได้หากถูกรัฐบาลอังกฤษขัดขวาง

ผู้นำหญิงสกอตแลนด์ระบุว่า ตนจะมีหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน แห่งอังกฤษเพื่อขออนุญาตจัดทำประชามติดังกล่าว และได้เตรียมแผนรองรับเอาไว้แล้วเพื่อขออำนาจทางกฎหมาย หากว่าผู้นำอังกฤษไม่ให้ความเห็นชอบ
“ประเด็นเกี่ยวกับเอกราชคือสิ่งที่ไม่อาจถูกปิดกั้น และต้องคลี่คลายด้วยวิถีประชาธิปไตย และจะต้องเป็นกระบวนการซึ่งอยู่เหนือคำตำหนิติเตียนใดๆ และได้รับความเชื่อมั่น” สเตอร์เจียน กล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาสกอตแลนด์
“สิ่งที่ดิฉันจะไม่ทำเป็นอันขาดก็คือ การยอมให้ระบอบประชาธิปไตยของสกอตแลนด์ต้องตกเป็นนักโทษของ บอริส จอห์นสัน หรือนายกรัฐมนตรีคนใดๆ”
ชาวสกอตแลนด์ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเคยลงมติ “ปฏิเสธ” แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรมาแล้วเมื่อปี 2014 ทว่ารัฐบาลซึ่งมีอำนาจปกครองตนเองบางส่วนอ้างว่า การที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิต) เป็นสิ่งที่คนสกอตแลนด์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ดังนั้นจึงสมควรจะต้องมีการทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อให้ชาวสกอตแลนด์ได้ตัดสินอนาคตของตัวเองอีกครั้ง
บรรดาพรรคการเมืองโปรเอกราชชนะศึกเลือกตั้งได้ครองเสียงข้างมากในสภาสกอตแลนด์เมื่อปีที่แล้ว และ สเตอร์เจียน เองยังเผชิญแรงกดดันจากคนในพรรคของเธอเองจนต้องให้สัญญาว่าจะจัดประชามติอีกครั้งภายในสิ้นปี 2023
นายกฯ จอห์นสัน และพรรคคอนเซอร์เวทีฟซึ่งเป็นฝ่ายค้านในสกอตแลนด์ ประกาศจุดยืนต่อต้านการทำประชามติรอบ 2 โดยยืนยันว่าเรื่องนี้ “จบ” ไปแล้วตั้งแต่ตอนที่ชาวสกอตแลนด์โหวตคัดค้านการแยกตัวด้วยคะแนนเสียง 55% ต่อ 45% ในปี 2014
อย่างไรก็ตาม โพลหลายสำนักที่จัดทำในปีนี้ให้ผลที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ขณะที่บางโพลพบว่าส่วนต่างระหว่างกลุ่มคนที่สนับสนุนและคัดค้านการแยกตัวเริ่มที่จะ “แคบ” เข้ามา
จอห์นสัน เคยปฏิเสธที่จะดำเนินการตามมาตรา 30 ซึ่งให้อำนาจแก่รัฐสภาสกอตแลนด์ในการจัดทำประชามติมาแล้ว และได้ประกาศย้ำอีกครั้งเมื่อวานนี้ (28) ว่า สิ่งที่รัฐบาลอังกฤษให้ความสำคัญที่สุดตอนนี้ก็คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
โฆษกของ จอห์นสัน ให้สัมภาษณ์เช่นกันว่า รัฐบาลลอนดอนเชื่อว่าขณะนี้ “ไม่ใช่เวลา” ที่สกอตแลนด์จะมาพูดเรื่องการทำประชามติแยกตัว
สเตอร์เจียน ยอมรับว่า การจัดประชามติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษนั้นยังมีการโต้เถียงกันในแง่ของความชอบธรรมทางกฎหมาย ดังนั้นเธอจึงมอบหมายให้ Lord Advocate ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายอาวุโสของสกอตแลนด์เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลสูงสุด (Supreme Court) ของสหราชอาณาจักรเพื่อพิจารณาเรื่องนี้
โดยหากศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าสกอตแลนด์ไม่สามารถจัดประชามติโดยปราศจากความเห็นชอบจากนายกฯ อังกฤษได้ เธอและพรรคชาติสกอต (Scottish National Party – SNP) ก็เตรียมที่จะสู้ศึกเลือกตั้งครั้งถัดไป โดยนำประเด็นการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์มาใช้เป็นนโยบายหลักในการหาเสียง
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สมาชิกพรรครีพับลิกันของรัฐเท็กซัส มีการประชุมตกผลึกความคิดที่หารือต่อเนื่องหลายครั้งมาตลอดหลายปี ที่ประชุมมีมติที่ได้รับการยอมรับจากเสียงส่วนใหญ่ และแถลงประกาศว่า “พรรครีพับลิกันเท็กซัสต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งรัฐใช้มาตรการในระยะถัดไป กำหนดให้มีการลงประชามติ ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2023 สำหรับพลเมืองรัฐเท็กซัส เพื่อพิจารณาว่ารัฐเท็กซัสยืนยันสถานะของตนในฐานะประเทศเอกราชแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกาด้วย