พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ๑๖(the ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) วันที่ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๖๕ จัดที่กรุงพนมเปญ โดยที่ประชุมเน้นการหารือเกี่ยวกับปัญหาความท้าทายต่างๆ และความมั่นคงในภูมิภาค เป็นการประชุมแบบ in-person ครั้งแรก ในรอบกว่าสองปี หลังจากโควิด-๑๙ ระบาด
สมเด็จฯเตีย บันห์ กล่าวว่า “การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงเวลาที่ทั้งภูมิภาคกำลังเผชิญแรงกดดันจากอาชญากรรมข้ามพรมแดน, การก่อการร้าย, ภาวะโลกร้อน, ภัยพิบัติ และโควิด-๑๙ รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ข้อผูกมัดร่วมกันของเรา ที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จะนำพาภูมิภาคไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน”
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของพม่าได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในครั้งนี้ด้วย แม้จะมีแรงกดดันจากบางประเทศในกลุ่มภูมิภาคและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยให้กีดกันรัฐบาลทหารจากการประชุมดังกล่าวก็ตาม
พล.อ.เมียะ ทุน อู เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสมากที่สุดของพม่าที่เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นับตั้งแต่รัฐบาลทหารถูกกีดกันเมื่อปลายปีก่อนเนื่องจากล้มเหลวที่จะทำตามแผนสันติภาพที่ตกลงไว้กับอาเซียน
พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา กล่าวว่า การปรากฏตัวของนายพลพม่านั้นบ่งชี้ว่ากลุ่มอาเซียนนั้นมีความเป็นปึกแผ่น
“นี่คือการมีส่วนร่วมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ส่วนข้อกล่าวหานี้ ข้อกล่าวหานั้น เราไม่สามารถตอบสนองต่อทุกกล่าวหาได้” พล.อ.เตีย บัญ กล่าวแถลงข่าว โดยอ้างถึงการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพม่าในการประชุม
นายกรมว.สมเด็จ ฮุนเซนยังได้พบกับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน นำโดยฮัลบี บิน โมฮัมหมัด ยูสซอฟ รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีบรูไน ซึ่งรายงานต่อฮุนเซนว่าที่ประชุมได้อนุมัติเอกสารสี่ฉบับ
ตามโพสต์บนโซเชียลมีเดียของฮุน เซน เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารแนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารของอาเซียนในการป้องกันโรคติดต่อ หนึ่งในการส่งเสริมการสนับสนุนผู้รักษาสันติภาพหญิง สองในบทบาทของสถาบันป้องกันประเทศในการสนับสนุนการฟื้นฟูหลังโควิด-19 และสามในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทางทหารของอาเซียน
ทั้งนี้ ไม่มีการเผยแพร่รายละเอียดการหารือของรัฐมนตรี แต่คำแถลงร่วมที่แบ่งปันกับสื่อได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาทั้งหมดได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนความพยายามนำการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติให้พม่ากลับสู่ภาวะปกติผ่านทูตพิเศษ
หลังจากนั้นเพียงวันเดียว สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ ก็รายงานว่า โนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น เชิญประชุมนอกรอบในรูปแบบทวิภาคี ในวันพุธที่ ๒๒ มิ.ย.ระหว่างการเจรจากับอาเซียน ถึงการรักษาระเบียบระหว่างประเทศที่อิงตามกฎในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกคือสิ่งสำคัญ ตั้งเป้าต่อต้านอิทธิพลจีนที่เพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่อาเซียนและปักกิ่งกำลังร่วมกันจัดทำจรรยาบรรณเพื่อขจัดความตึงเครียดในพื้นที่พิพาท ญี่ปุ่นก็รีบแทรกแบบนี้ ทางกัมพูชาก็ใจกว้างให้ทำได้ตามสะดวก
การเชิญประชุมนอกรอบ ที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมในกรุงพนมเปญนั้น ญี่ปุ่นมีเป้าหมายที่จะยกระดับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเส้นทางเดินเรือ รวมทั้งทะเลจีนใต้ที่สมาชิกบางประเทศมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับปักกิ่ง
คิชิกล่าวถึง อู่ซ่อมเรือแห่งใหม่ที่ฐานทัพเรือเรียมของกัมพูชา ที่ตั้งอยู่ในอ่าวไทยกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากจีน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาได้ปฏิเสธการปรากฏตัวของกองกำลังจีนที่ฐานทัพมาโดยตลอด และชี้แจงว่ากฎหมายกัมพูชาไม่อนุญาติทหารต่างชาติประจำการ
เมื่อกล่าวถึงสงครามในยูเครน คิชิ กล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการเจรจาว่า “การเปลี่ยนแปลงสถานะระหว่างรัฐเพียงฝ่ายเดียวเช่นกรณียูเครน ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นในอินโดแปซิฟิกในอนาคตอีกด้วย
คิชิ กล่าวเสริมว่า“เราแบ่งปันความกังวลดังกล่าวกับชาติอาเซียน” ญี่ปุ่นได้จัดหารือเฉพาะกับพวกเขา เพื่อสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันกับแต่ละประเทศ นอกจากนี้ คิชิยังให้คำมั่นว่าญี่ปุ่นจะร่วมมือกับอาเซียนด้านความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยความมั่นคงให้สมาชิกของกลุ่มตามความต้องการของพวกเขาด้วย
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นอ้างคำพูดของคิชิว่า เป็นการแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในพม่า โดยกล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ทำให้ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้กองทัพเมียนมายุติความรุนแรงทุกกรณีในทันที
ในการแถลงข่าวภายหลัง คิชิได้วิพากษ์วิจารณ์เรือรบจีนและรัสเซียเมื่อเร็วๆ นี้ที่แล่นเรือใกล้ญี่ปุ่นเพื่อ “แสดงกำลัง” อีกด้วย