แกนนำพูดเอง! เผยเหตุผล ทำไมกลุ่มปท.แอฟริกา ยืนข้างรัสเซีย มองอเมริกา-ยูเครน เป็นศัตรู

0

แกนนำพูดเอง! เผยเหตุผล ทำไมกลุ่มปท.แอฟริกา ยืนข้างรัสเซีย มองอเมริกา-ยูเครน เป็นศัตรู

จากกรณีที่ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์คลิปพร้อมกับข้อความถึงกรณีของเหตุผลที่ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่เข้าข้างรัสเซีย โดยระบุว่า เหตุใด ประเทศอาฟริกาส่วนใหญ่จึงเข้าข้างรัสเซีย?: ฟังจากแกนนำของชาวอาฟริกาเอง เขาบอกว่ารัสเซียเป็นพวกผิวขาวชาติแรก ที่เข้ามาในอาฟริกาแล้ว

๑.ให้อาวุธช่วยเหลือชาวอาฟริกาต่อสู้กับพวกชาติ นักล่าอาณานิคมที่ชอบแบ่งแยกผิวและหาทางยึดครองอาฟริกา ๒.มองว่า ชาวอาฟริกาทั้งหลายเป็นมนุษย์ที่ทัดเทียมกับพวกตน ชาวรัสเซียต่างจากชาตินักล่าอาณานิคมชาติอื่นมองชาวอาฟริกาว่าทัดเทียมกัน ไม่เคยดูถูก ดูแคลน ชาวอาฟริกาจึงมองรัสเซียเป็นมิตร

เพราะเหตุว่าศัตรูของมิตรคือศัตรู ชาวอาฟริกาจึงมองว่ายูเครน อเมริกาและ นาโต้ที่ต่อสู้กับรัสเซียพลอยเป็นศัตรูของชาวอาฟริกาไปด้วย ชัดเจนมากขึ้นมั้ยครับ?

โดยก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ (ยูเอ็นจีเอ) ที่ได้มีการหารือกันถึงกรณีที่รัสเซียรุกรานยูเครนและได้ลงมติประณามรัสเซียแล้วเมื่อวันที่ 2 มีนาคมตามเวลาสหรัฐ โดยมี141 ชาติที่ลงมติประณาม มี 5 ชาติที่โหวตคัดค้าน และมี 35 ชาติงดออกเสียง โดยประเทศไทยก็ลงมติสนับสนุนข้อมติดังกล่าวเช่นกันนั้น

ซึ่งก็มีรายงานว่า 5 ประเทศที่ลงมติคัดค้านได้แก่รัสเซีย, ซีเรีย, เกาหลีเหนือ, เบลารุส และเอริเทรีย ขณะที่กลุ่มประเทศที่งดออกเสียงรวมไปถึง จีน, อินเดีย, อิหร่าน, อิรัก, ปากีสถาน และแอฟริกาใต้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ต้อนรับประธานาธิบดี แม็คกี้ แซล แห่งเซเนกัล ในฐานะผู้นำสหภาพแอฟริกาที่บ้านพักของประธานาธิบดีในสถานตากอากาศโซซี

โดยการเดินทางเยือนรัสเซียในครั้งนี้มีเป้าหมายคือการแก้ไขวิกฤตอาหาร ร่วมด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม แอฟริกาซึ่งเป็นทวีปยากจนที่สุดในโลก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความขัดแย้งในยูเครนและวิกฤตอาหารโลก ราคาอาหารในขณะนี้สูงกว่าในช่วงที่มีการจลาจลอาหารในปี 2551 และเหตุการณ์อาหรับสปริง 2554 ทำให้เกิดความกังวลว่าจะนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีเซเนกัล แสดงความเห็นว่ามาตรการลงโทษรัสเซียจากการที่มีปฏิบัติการทางทหารในยูเครน รวมถึงการขับธนาคารรัสเซียออกจากระบบการรับส่งข้อความทางการเงินหรือสวิฟต์ (SWIFT) อาจส่งผลเสียต่อทวีปยุโรปเอง แต่การที่รัสเซียปิดล้อมเมืองโอเดสซาของยูเครนก็ส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหาร และเขาสนับสนุนการทำงานของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาวิกฤตอาหารโลก

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ดร.ปฐมพงษ์ ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีท่าทีของประเทศแอฟริกาด้วยว่า “เซเลนสกีขอเชิญผู้นำประเทศในอาฟริกาเข้าร่วมประชุม จากทั้งหมด ๕๕ ประเทศ เข้ามาประชุมเพียง ๔ ประเทศเท่านั้น สรุปว่ามีเพียง ๔ ประเทศเท่านั้นที่มองว่าเซเลนสกีเป็นผู้นำยูเครน ที่เหลือคงมองว่าอังกฤษและอเมริกาต่างหากที่เป็นผู้นำ”