วิกฤตCOVID19 ของประเทศมหาอำนาจโลก สู่การเปลี่ยนแปลงโลกครั้งยิ่งใหญ่

0

วิเคราะห์ข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19ของคนในประเทศมหาอำนาจโลกสู่การเปลี่ยนแปลงโลกครั้งยิ่งใหญ่

รศ.ดร.แสงเทียน อยู่เถา อาจารย์ด้านเวชสารสนเทศ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานยุทธศาสตร์วิจัย สถาบันทิศทางไทย

จากการศึกษาข้อมูลในรูปแบบของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ (Computational Science) มีหลายภาคส่วนในโลกที่กำลังดำเนินการในการศึกษาและพยายามรวบรวมข้อมูล (Collected Data) เช่น Ourworld in Data, WHO, Europa.eu, HDX, Global Privacy Assembly, World bank, Open Data Watch, GitHub,  SCDHEC, Europian CDC, etc. รวมถึงมีการเผยแพร่การวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ที่สำคัญอยู่มากมาย เช่น การวิเคราะห์จาก R program สำคัญ 35 แหล่งอ้างอิง (Antoine Soetewey, 5 April 2020) หรืออย่างใน app.developer.here, Information is beautiful, Statistics Canada ซึ่งมีอยู่จำนวนมากทีเดียวถ้านำมากล่าวคงจะไม่สามารถกล่าวได้หมด และในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ต้องขอขอบคุณการคำนวณออนไลน์จาก OurworldData.org  ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันชั้นนำและสื่อมวลชนระดับโลกในการเลือกข้อมูลเพื่อการศึกษาและการนำเสนอเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลที่เริ่มจากประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนแล้วแพร่สู่ประเทศต่างๆ ที่ประเทศต้นกำเนิดสามารถใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 จนสามารถมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น แต่ในประเทศยักษ์ใหญ่อีกฝั่งอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกากลับเพิ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงน่าสนใจที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่วันที่ ๒๑ เดือนมกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา

ข้อมูล ณ ปัจจุบัน (วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๓) ข้อมูลจาก COVID19Tracking พบว่าจากการตรวจ คน พบติดเชื้อ 305,755 ราย และไม่พบเชื้อ 1,318,052 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ 15,573 ราย ต้องนอนพักค้างในโรงพยาบาล 38,402 ราย คงอยู่ในโรงพยาบาล 38,402 ราย ยังคงต้องอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ถึง 691 รายในจำนวนนี้ต้องช่วยหายใจอยู่ถึง 656 ราย ทำให้มียอดเสียชีวิตรวม 8,314 หายกลับบ้านแล้ว 12,784 ราย

เมื่อพิจารณาข้อมูลของสหรัฐอเมริกาจะสามารถทำให้ผู้ป่วยหายได้อยู่ที่ร้อยละ 33.29 หรือประมาณ 1 ใน 3 จากผู้ที่นอนพักรักษาในโรงพยบาลและเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อในประเทศก็คิดเป็นสัดส่วนที่ 4.18 เท่านั้น และถ้าไม่สามารถจำกัดการติดเชื้อได้ก็จะทำให้สัดส่วนนี้น้อยลงตามลำดับถ้าไม่มีวัคซีนเข้ามาใช้ในเร็วๆ นี้

เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลสำคัญและข้อมูลเปรียบเทียบทางการคำนวณและวิเคราะห์ กับทั้งโลกและประเทศอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่

รูปที่ ๑ การทดสอบเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อของประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละวัน

จำนวนผู้ได้รับการตรวจเชื้อต่อวัน*

รูปที่ ๒ การทดสอบเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อต่อประชากรล้านคนในแต่ละวันเปรียบเทียบ

จำนวนผู้ได้รับการตรวจเชื้อต่อวันต่อประชากรต่อล้านคน*

จากรูปที่ ๑ และ ๒ แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะสามารถค้นหาผู้ติดเชื้อได้มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่เมื่อเทียบกับประชากรในประเทศก็ยังไม่ได้แตกต่างกันมากนักและในช่วงที่ผ่านมาก็ยังน้อยกว่าอิตาลีอยู่มาก

รูปที่ ๓ จำนวนผู้ที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รายวัน โดยรวมของโลกและของสหรัฐอเมริกา

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันต่อวัน*

(เส้นบนคือขอดรวมของโลก – เส้นล่างคือ ยอดรวมของสหรัฐอเมริกา)

รูปที่ ๕ จำนวนผู้ที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รายวัน ของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่สำคัญเปรียบเทียบรายวัน (เฉลี่ยราย ๓ วัน)

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันต่อวัน*

จากรูปที่ ๔ และ ๕ ก็ยืนยันได้ชัดเจนว่าผู้ที่ติดเชื้อรายวันของสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากกว่าประเทศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มเป็นไปในทำน้องที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของทั้งโลก

รูปที่ ๖ การเพิ่มจำนวนผู้ที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รวม เปรียบเทียบนับจากวันที่เริ่มมีผู้ป่วยเริ่มต้นที่หลัก 100 คน

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันสะสม*

จำนวนวันเริ่มจากมีการยืนยันผู้ป่วยในประเทศ

รูปที่ ๗ จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รวม นับจากวันที่เริ่มมีผู้ป่วยเริ่มเกิน 100 คน เปรียบเทียบกับประเทศสำคัญ (เฉลี่ย 7 วัน)

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันต่อวัน*

จากรูปที่ ๖ และ ๗ เมื่อพิจารณาการเพิ่มของผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มมีการยืนยันผู้ติดเชื้อเกิน ๑๐๐ คน (เริ่มนับจากวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓) ก็จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ทั้งโดยรวมและรายวันโดยเฉลี่ยราย ๗ วัน เพื่อทำให้ข้อมูลมีความเรียบของเส้นข้อมูล (Smooth Curve) มีค่าสูงกว่าประเทศที่สำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่สิบกว่าๆ ถึงวันที่ ๒๐ นับจากพบการติดเชื้อเกิน ๑๐๐ คน จำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มมากที่สุดและมีการเพิ่มอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาและมีการเพิ่มอยู่ในช่วงของการทวีคูณแบบสองเท่าในสามวัน (Cases double every 3 days) แม้แนวโน้มหลังวันที่ 27 (31 มีนาคม 2563) จะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง

การพยากรณ์ผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา

รูปที่ ๘ การพยากรณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันของสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มถึงจำนวน ๒๐๐ ราย ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ พยากรณ์ไปจนถึง ๑๐๐ วัน คือวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓

จำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ในแต่ละวัน

สถานการณ์ในแบบที่ ๑ เป็นแบบสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

จากรูปที่ ๘ ในสถานการณ์ที่ดำเนินไปอยู่ในปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาถ้ามีการติดเชื้อเพิ่มไปตามรูปแบบที่เป็นอยู่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทะลุเกินวันละ ๑ แสนในวันที่ ๒๓ เมษายน และจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละกว่า ๒ แสนรายในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม เกิน ๓ แสนรายในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม เกิน ๔ แสนรายในวันที่ ๕ มิถุนายน และ เกิน ๕ แสนรายในวันที่๑๖ มิถุนายน

 

รูปที่ ๙ การพยากรณ์ผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดของสหรัฐเมริกา เริ่มตั้งแต่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มถึงจำนวน ๒๐๐ ราย ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ พยากรณ์ไปจนถึง ๑๐๐ วัน คือวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓

จำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันรวม

จากรูปที่ ๙ ในสถานการณ์ที่ไม่มีการปลี่ยนแปลงใดๆ ไปจากปัจจุบัน พยากรณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา จะมีจำนวนเกิน ๑ ล้านคนในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๓ และจะมีจำนวนเกิน ๒ ล้านคนในวันที่ ๒๘ เมษายน เกิน ๓ ล้านคนในวันที่ ๕ พฤษภาคม เกิน ๕ ล้านคนในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม เกิน ๑๐ ล้านคนในวันที่ ๒ มิถุนายน และเกิน ๑๕ ล้านคนในวันที่ ๑๓ มิถุนายน

แต่จากการปรับตัว ปรับรูปแบบการรับมือกับการติดเชื้อเนื่องจากการดำเนินการปรับเพิ่มรูปแบบการดำเนินการอาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าพยากรณ์ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบที่ ๒ และถ้ามีการดำเนินการที่ใช้ศักยภาพของการดำเนินการให้มากขึ้นการเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นเหมือนภาพของประเทศที่มีการเพิ่มจำนวนไม่มากนักหลังจากผ่านการติดเชท้อเกิน ๕๐๐ คนไปแล้วประมาณ ๓๐-๔๐ วันในประเทศทางยุโรป โดยการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่มีร้อยละที่เริ่มมีการลดลงลงมาเป็นระยะ ตามรูปแบบที่ ๓ โดยในแบบที ๓ นี้จะส่งผลต่อการหน่วงเวลาของการเพิ่มขึ้นและมีการปรับเพิ่มขึ้นไปของผู้ติดเชท้อแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละวันเหมือนการเพิ่มขึ้นโดยทั่วไปของประเทศทางยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส แต่อาจทำให้มีการปรับเปลี่ยนของการเพิ่มขึ้นที่มีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องไป

รูปที่ ๑๐ จำนวนการพยากรณ์ผู้ติดเชื้อรวมของสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ เริ่มจากวันที่ีมีจำนวน รวมเกิน ๕๐๐ คนในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓

เส้นบนสีฟ้าด้านบน-รูปแบบที่ ๒ และเส้นสีส้มด้านล่าง-รูปแบบที่ ๓

รูปที่ ๑๑ จำนวนการพยากรณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ของสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ เริ่มจากวันที่ีมีจำนวน รวมเกิน ๕๐๐ คนในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓

จำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ในแต่ละวัน

เส้นบนสีฟ้าด้านบน-รูปแบบที่ ๒ และเส้นสีส้มด้านล่าง-รูปแบบที่ ๓

ในรูปแบบที่ ๒ จะมีผู้ป่วยรายใหม่เกินวันละ ๕ หมื่นรายในวันที่ ๒๓ เมษายน เกินวันละ ๑ แสนรายในวันที่ ๒ มิถุนายน โดยมียอดรวมเกิน ๑ ล้านรายในวันที่ ๒๓ เมษายน เกิน ๒ ล้านในวันที่ ๒ พฤษภาคม และขยับไปเกิน ๕ ล้านในวันที่ ๑๑ มิถุนายน

ส่วนรูปแบบที่ ๓ จะมีผู้ป่วยรายใหม่ปรับเพิ่มขึ้นไปไม่มากนักแต่ก็เพิ่มขึ้นไปจนเกิน ๑ ล้านต่อวันในวันที่ ๕ มิถุนายน โดยมียอดรวมเกิน ๑ ล้านรายในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม เกิน ๒ ล้านในวันที่ ๓ มิถุนายน และขยับไปเกิน ๔ ล้านในวันที่ ๑๖ มิถุนายน

 

แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศมหาอำนาจอย่างจีนก็ยิ่งทำให้เห็นความแตกต่างกันมาก ส่วนทางรัสเซียก็ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่เมื่อพิจารณาดูหลังจากการพบเชื้อ ๕ วันก็สามารถทำให้ลดลงได้แม้หลังจากนั้นจะยังคงเพิ่มอยู่แต่ก็ยังคงต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจต้องดูต่อไปในอนาคตว่าจะทำได้เหมือนจีนได้หรือไม่ แต่พิจารณาจากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเป็นอย่างจีนเพราะรูปแบบของความสามารถใช้อำนาจในการดำเนินการได้ใกล้เคียงกับจีนมากกว่าแบบสหรัฐอเมริกา จึงเป็นไปได้สูงที่ข้อมูลของรัสเซียจะเป็นไปแบบจีน และถ้าหากสหรัฐอเมริกาไม่สามารถควบคุมให้การติดเชื้อลดลงได้มากกว่านี้ในขณะที่จีนและรัสเซียสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถควบคุมได้ มหาอำนาจของโลกก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป

 

การวิเคราะห์ข้อมูล “ภัยพิบัติไวรัส COVID-19” ก็อาจทำให้นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยอาจต้องจับตาการวิเคราะห์ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกๆ วัน เพราะการเกิดวิกฤตครั้งนี้ อาจเปลี่ยนแปลงมหาอำนาจโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งยิ่งใหญ่ก็อาจเป็นได้ จำเป็นที่ประเทศไทยต้องมองภาพอนาคตเพื่อการปรับยุทธศาสตร์ประเทศหลังสิ้นภัยพิบัตินี้ต่อไป

 

* การศึกษาวิเคราะห์นี้ขอขอบคุณการเก็บรวบรวมข้อมูลและการจัดการข้อมูลเวชสารสนเทศออนไลน์ของ OurworldData (Thank for computational online from OurworldData.org) (OurworldData.org, 5Apr2020)