อียูหงายเงิบ! ง้อรัสเซียก็ยังไม่ยอมขายอาหารให้ ต้องวิ่งหายูเอ็นช่วยออกหน้าก็ยังไร้ผล

0

จากที่การคว่ำบาตรรัสเซียได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้มีท่าทีของสหภาพยุโรป (อียู) เปลี่ยนไป โดยเปิดทางให้ชาติสมาชิกสามารถนำเข้าสินค้าของรัสเซียได้ หรือจะเรียกว่า เลิกแบนได้แล้วนั้น

ทั้งนี้ยังมีความเคลื่อนไหวในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความเผยแพร่ จากข้อมูลของแหล่งข่าวอย่างukrinform และ infoquest ว่า “สหภาพยุโรป โหดจัด! เล่นงานรัสเซียขั้นสูงสุด โดยอยากขอกินอาหารให้หายหิว

ด้วยสหภาพยุโรปนั้น มีชาติที่ผลิตอาหารเองพอเพียง และส่งออกส่วนน้อยแค่ไม่กี่ชาติเท่านั้น เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ ส่วนฮังการี เซอร์เบีย ที่เดินตามเศรษฐกิจพึ่งพิงตนเองแบบรัสเซีย ก็เร่งสนับสนุนภาคเกษตรผลิตอาหารเองกินในประเทศเป็นการใหญ่ เชิดชูเกษตรกรผู้ผลิตธัญพืชว่า เป็นฮีโร่ของชาติ

แต่ชาติยุโรปส่วนใหญ่นั้นละเลยภาคเกษตรผลิตอาหารมานานแล้ว เพราะมุ่งไปทางภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การท่องเที่ยว ผลิตอาวุธ ทำให้เป็นผู้นำเข้าอาหารอย่างเดียว จนเมื่อสหภาพยุโรป คว่ำบาตร รัสเซีย ยูเครนเองก็โดนยึดพื้นที่โดยสาธารณรัฐลูฮันสก์ , โดเนตสก์ ไปแล้วราว 25%

พื้นที่ถูกยึดไปคือพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ แม่น้ำไหลผ่าน เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตธัญพืช แหล่งอุตสาหกรรมหนัก แหล่งก๊าซ ท่าเรือ ซึ่งเคยสร้างรายได้ให้ยูเครนในสัดส่วนถึง 75% ของ GDP ในขณะพื้นที่ยูเครน ที่เหลือ 75% เป็นพื้นที่ดอน ขาดแหล่งน้ำ สภาพอากาศและดินปลูกธัญพืชไม่ได้ผลผลิต

ไม่มีเขตอุตสาหกรรม ท่าเรือส่งออกไม่ได้ เพราะผู้นำยูเครน สั่งวางทุ่นระเบิดในทะเลดำกว่า 420 ลูก ทำให้ดักเรือสินค้าเข้าและออกจากท่าเรือเบ็ดเสร็จ เดิมยูเครน ฉายา ตระกร้าขนมปังยุโรป ส่งออกธัญพืชสู่ยุโรป ทางท่าเรือถึง 95% ทางบก 5% เมื่อทางเรือส่งออกไม่ได้เลย จึงเหลือแค่ทางบกรางรถไฟ และรถยนต์

นาง Olha Trofimtseva เอกอัครราชทูตใหญ่ประจำกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ผู้ประสานงานสภาผู้ส่งออกและนักลงทุน ระบุว่าช่วงเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมายูเครนส่งออกธัญพืชได้แค่ 1.5 ล้านตันเท่านั้นโดยทางบก แต่ข้าวสาลี 7 ล้านตัน เมล็ดข้าวโพด 14 ล้านตัน น้ำมันดอกทานตะวัน 3 ล้านตัน และเมล็ดทานตะวัน 3 ล้านตัน ยังอยู่ในยูเครนไม่ได้เข้าสู่ตลาดโลก อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งทางบกของยุโรปยังไม่พร้อมสำหรับปริมาณธัญพืชที่ส่งออกโดยยูเครน

แม้ว่า สหรัฐ โปแลนด์ เยอรมนี และประเทศอื่นๆ จะพยายามสร้างไซโลอาหาร ศูนย์กลางการขนส่งที่ชายแดนโปแลนด์ เร่งขนส่งธัญพืชยูเครนทางรถไฟไปยังท่าเรือโปแลนด์ที่สามารถบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้แต่ก็ทำได้ในปริมาณน้อยและล่าช้าไม่ทันความต้องการบริโภคชาวยุโรป แม้จะลดขั้นตอนศุลกากรและสุขอนามัยพืชแล้วก็ตาม

ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ภายหลังสหภาพยุโรป (EU) รับคำสั่งจากสหรัฐ ให้คว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อที่สหรัฐจะขายอาวุธให้ยูเครน และเป็นยี่ปั้วซื้อพลังงานรัสเซีย  กาตาร์ มาขายต่อราคาแพง 5 เท่าให้ยุโรป ทำให้ชาติบริวารส่วนใหญ่ในยุโรปที่ยอมตกเป็นเบี้ยล่างสหรัฐ ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติอดอยากด้านผลิตภัณฑ์อาหาร ธัญพืช และปุ๋ย

รวมถึงพลังงานนํ้ามันและก๊าซ ขาดแคลน ราคาแพงขึ้นมากภายในประเทศอย่างหนัก จนเกิดม็อบใหญ่ไล่รัฐบาลขึ้นในหลายเมืองของสหภาพยุโรปขณะนี้ เช่น ในสหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม ฯลฯ และกำลังก่อปัญหาโดมิโน่ทางเศรษฐกิจบานปลาย ยุโรปสปริงส์ ฉุดกันลงเหวทั้งกลุ่ม

European Union foreign policy chief Josep Borrell answers a question during a news conference in Brussels, Tuesday, Jan. 7, 2020. Borrell met Tuesday with the Foreign Affairs Minister’s of Britain, Italy, Germany and France where they were expected to hold talks about the current situation in Libya and Iran. (AP Photo/Francisco Seco)

ล่าสุดความหิว หน้ามืด ตาลาย ไม่เคยปราณีใคร นาย Josep Borrell หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (EU) คร่ำครวญว่า นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ประเทศยุโรปใดต้องการนําเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ธัญพืช และปุ๋ยจากรัสเซียก็ทำได้เลย โดยไม่ขัดต่อมติของสหภาพยุโรป ไม่มีข้อจำกัดอีกแล้ว

ส่วน EU ก็เขินจึงดันสหประชาชาติ (UN) ออกหน้าพยายามทำข้อตกลงกับรัสเซีย โดย EU สนับสนุนการส่งออกอาหารและปุ๋ยของรัสเซีย แต่รัสเซียยังเฉยๆ ไม่ตอบรับ เพราะไม่เคยขายอาหารให้ทวีปยุโรป การที่ยุโรปยังส่งอาวุธขายให้ยูเครน ทำให้รัสเซีย ก็ไม่อยากขายอาหารให้ ส่วนพลังงานราคาถูกก็ย้ายมา Supply พันธมิตร จีน อินเดีย ไปแล้ว”