จากที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐ กำลังวิกฤตอาหารและพลังงาน ประชาชนขอย้ายประเทศไปนับล้านคน ขณะที่มหาอำนาจตะวันออกอย่างจีน มีเคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามทั้งความเจริญ เศรษฐกิจที่แข็งแรงอย่างมากนั้น
ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหัว องค์กรสื่อของรัฐและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ได้เผยแพร่เรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีเพจสื่อไทย Thailand Vision ได้นำมาโพสต์เผยแพร่ต่อเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2565 โดยมีเนื้อหาระบุว่า
สื่อต่างประเทศรายงานว่า สำนักบริหารป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน เปิดเผยว่าจีนฟื้นฟูพื้นที่ที่กลายเป็นทะเลทรายอันสามารถควบคุมได้ในประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นความคืบหน้าสำคัญของการแก้ปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
รายงานระบุว่าพื้นที่ที่กลายเป็นทะเลทรายลักษณะข้างต้นถูกควบคุม 18.8 ล้านเฮกตาร์ (ราว 117.5 ล้านไร่) และถูกปิดการเข้าถึงเพื่อการคุ้มครอง 1.77 ล้านเฮกตาร์ (ราว 11.06 ล้านไร่) ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
พื้นที่ที่กลายเป็นทะเลทรายในจีนลดลง 4.33 ล้านเฮกตาร์ (ราว 27.06 ล้านไร่) นับตั้งแต่ปี 2012 โดยมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในพื้นที่ทรายอย่างมีนัยสำคัญ และจีนได้ตั้งเขตสาธิตครบวงจรระดับชาติ 41 แห่ง เพื่อควบคุมการขยายตัวของทะเลทราย และตั้งอุทยานทะเลทรายระดับชาติ 128 แห่ง ตลอดสิบปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้นสภาพอากาศฝุ่นทรายในจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 11 (2006-2010) จีนยังใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความร้อนและที่ดินอันมากมายของพื้นที่ทราย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และอื่นๆ เพื่อส่งเสริมรายได้ของประชาชนท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย
ก่อนหน้านี้มีรายงานด้วยว่าจีนผุด โอเอซิส กว่า 2.6 แสนไร่ ริมทะเลทราย ในหนิงเซี่ย โดยโอเอซิสนี้มีขนาด 42,000 เฮกตาร์ (ราว 262,500 ไร่) ถูกสร้างขึ้นที่เขตอนุรักษ์เชิงนิเวศระดับชาติไป๋จีทาน ในเมืองหลิงอู่ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายขอบตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลทรายเหมาอูซู่อันกว้างใหญ่
โอเอซิสแห่งนี้สร้างขึ้นจากความพยายามควบคุมทรายของชาวบ้านนาน 3 ชั่วอายุคน และได้มีบทบาทเป็นเกราะป้องกันสำคัญสำหรับระบบนิเวศทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ชาวบ้านทุ่มเทพัฒนาการเกษตรทำกำไรด้วยการพลิกโฉมทะเลทรายเป็นแหล่งเพาะปลูก ทั้งปลูกผักและผลไม้ที่สามารถจำหน่ายออกสู่ตลาด เพื่อสนับสนุนภารกิจควบคุมทะเลทรายอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มพูนรายได้คนท้องถิ่นด้วย