วุ่นวายไม่จบเรื่องรับเงิน 5,000 บาทของกระทรวงการคลัง จะทำให้รัฐบาลเจอปัญหาตามมา ล่าสุดยอดคนลงทะเบียนพุ่ง 24 ล้านคนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ทำไมก่อนนี้ไม่มีการประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ออกมาให้ชัดก่อนเปิดให้ลงทะเบียน
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 เม.ษ. 2563 ที่ผ่านมานายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้มาลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่า 23.4 ล้านราย โดยกระทรวงการคลังจะเร่งตรวจสอบข้อมูลเพื่อส่ง SMS แจ้งผลผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ได้ลงทะเบียนไว้ว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ โดยอย่างเร็วที่สุด 7 วันทำการ
“กระทรวงการคลัง แจ้งว่าผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แน่นอน มี 4 อาชีพ คือ คือ มัคคุเทศก์ คนขับรถแท็กซี่ ผู้ค้าสลาก และวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนอาชีพอื่นๆอยู่ระหว่างตรวจสอบและคัดกรอง ซึ่งจะมีการเผยแพร่ต่อไป ขณะที่กลุ่มอาชีพที่จะไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท คือ ผู้ได้รับผลกระทบจนทำให้ต้องทำงานที่บ้านแต่เงินเดือนยังได้ครบ กลุ่มที่ยังทำงานแต่ยังได้รับเงินเดือนครบเหมือนเดิม กลุ่มที่ตกงานมาเป็นปี หรือตกงานมานานก็จะไม่ได้สิทธิ์ รวมถึงกลุ่มที่ทำงานในร้านค้าที่ปิดมาก่อนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ”
ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ยืนยันว่ากระทรวงการคลังจะเร่งกระบวนการตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท อย่างเร็วที่สุดตามที่ได้กำหนดไว้ คือ 7 วันทำการ และจะส่งเงินให้ถึงมือผู้เดือดร้อนที่ผ่านเกณฑ์โดยเร็วที่สุด สำหรับกรณีที่มีผู้มาลงทะเบียนบางรายมีความคลาดเคลื่อนในข้อมูลในการลงทะเบียน โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อติดตามข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้
ล่าสุดวานนี้(4เม.ย.63) เฟซบุ๊ก สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพถึงการรับเงินเยียวยา 5,000 บาทโดยระบุว่า เช็คด่วน!! ใครกันแน่หมดสิทธิ์รับเงิน 5,000 บาท # โควิด-19
1.เกษตรกรรายใหญ่
2.ค้าขายรายใหญ่
3.นักศึกษา
4.ค้าขายออนไลน์
5.ทำงานปกติ เงินเดือนปกติ
6.ทำงานที่บ้าน เงินเดือนปกติ
7.ว่างงานอยู่ก่อนนานแล้ว
8.เลิกกิจการอยู่ก่อนนานแล้ว
ที่มา:เพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7https://www.facebook.com/prd.region7/?__tn__=%2Cd%2CP-R&eid=ARCzJ_ZbNV4YgHRueaRopjYbdhfdhfEaQPbFy345RhjXvLB2K3vG0aJNmdvyncWfnFGOkfDFZN-mI-hg