นักวิชาการจี้​รัฐ​ เปลี่ยนยุทธศาสตร์อาหาร​ รับวิกฤตอาหารโลก

0

หลังจากที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ถือเป็นการจุดชนวนผลกระทบเศรษฐกิจโลกหลายด้าน โดยเฉพาะแนวโน้ม “วิกฤติอาหารโลก” ที่เขย่าความมั่นคงทางอาหาร และกำลังกลายเป็นกระแสผลักดันให้ประเทศผู้ผลิตอาหารออกนโยบาย “ห้ามส่งออก” เพื่อรักษาสมดุลอาหารเพื่อเลี้ยงคนในประเทศ

วันอาหารโลก 16 ตุลา มาแชร์จานโปรดของคุณกันเถอะ Blog - Fest

ดังจะเห็นได้จากประเทศที่ห้ามส่งออกธัญพืชสำคัญและอาหารขณะนี้ นอกจากรัสเซีย-ยูเครนแล้ว ยังมีคาซัคสถานที่จำกัดการส่งออกข้าวสาลีและแป้งสาลี เป็นการชั่วคราว ขณะที่อาร์เจนตินา จำกัดการส่งออกเนื้อวัว ยาวจนถึงปี 2566 และล่าสุดอินเดีย ประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี ทั้งนี้จะเห็นว่า ปัญหาขาดแคลนอาหารเริ่มวิกฤตหนักขึ้นในยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากปมคว่ำบาตรรัสเซียด้วยนั้น


ล่าสุดดร.สมเกียรติ โอสถสภา ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องอาหารโลก ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า “7 ประเทศที่ส่งออกอาหารหลักของโลก สัดส่วน 55% ไทยคือมหาอำนาจด้านอาหารของโลกนะจ๊ะ ประเทศนี้ไม่โม้ นาน ๆ บอกเตือนทีนึง เดี๋ยวลืม

อดีตอาจารย์จุฬาฯมองสถานการณ์ยูเครน เหมือนก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่2 สยามรัฐ

ประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกสุทธิ (Net Food Exporting Countries) ในโลกนี้ มีไม่ถึง 30 ประเทศ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยการส่งออกอาหารสุทธิ (ส่งออก ลบ นำเข้า) ของ 7 ประเทศในโลก คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา นิวซีแลนด์ ไทย และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนถึง 55% ของการส่งออกอาหารสุทธิในโลก

เราจึงควรจะต้องภูมิใจและรักษาไว้ เพราะอาหารจะเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน 3 ปีนี้ ที่ห่วงโซ่อุปทานอาหารไม่สมบูรณ์ ราคาอาหารแพง แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน”

อย่างไรก็ตามได้มีข้อมูลรายงานเมื่อปี 2563 ระบุด้วยว่า TOP 10 ตำแหน่งสินค้าอาหารไทยในตลาดโลก 10 อันดับแรกที่ครองส่วนแบ่งตลาดอาหารโลก คือ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์ แลนด์ บราซิล เยอรมันนี จีน ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี แคนาดา เบลเยียม ส่วนในปี 2562 มีตลาด ส่งออกสินค้าอาหารของไทย จำนวน 10 ประเทศ คือ จีน ซี แอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ สหรัฐอเมริกา แอฟริกา กลุ่มอียู 27 ประเทศ กลุ่มประเทศโอเชียเนีย กลุ่มประเทศตะวันออก กลาง และ สหราชอาณาจักร

เปิดตัวเลขส่งออก อุตฯอาหารไทย แตะ 1 ล้านล้าน - Chiang Mai News

สำหรับตำแหน่งของสินค้าอาหารส่งออกของไทยในตลาด โลกในปีที่ผ่านมา ในอันดับ 1 มีสองรายการ คือ ทูน่า มูลค่า 67,659 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 28.8% และ มันสำปะหลัง มูลค่า 62,375 ครองส่วนแบ่ง 44.3% และกลุ่มสินค้าอันดับ 2 มี สามรายการ คือ ข้าว มูลค่า 130,551 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 17.2% ไก่ มูลค่า 110,484 ล้านบาท ครองส่วน แบ่ง 11% น้ำตาลทราย มูลค่า 92,265 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 16.9%

ขณะที่ สินค้าในอันดับ 3 มีหนึ่งรายการ คือ ผลิตภัณฑ์ สับปะรด มูลค่า 15,660 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 14.1% ส่วนสินในอันดับ 5 มีหนี่งรายการ คือ กุ้ง มูลค่า 52,206 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 7% และกลุ่มเครื่องปรุงรส อยู่ใน อันดับ6 มีมูลค่า 24,439 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 5.5%

สำหรับแนวโน้มการค้าอาหารโลกกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการสินค้าอาหารของประเทศผู้นำเข้าหลัก โดยเฉพาะจีน โดยพบว่า การค้าอาหารโลกในช่วงครึ่งแรก ของปี2563 อยู่ที่ 645 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา คิด เป็นอัตราเติบโต 8% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562