ปธน.สี จิ้นผิงและปธน.ปูตินต่างยินดีมากที่รถบรรทุกคันแรกได้แล่นผ่านสะพานเชื่อมแผ่นดินรัสเซียเขตแดนยุโรปกับเมืองของแผ่นดินจีน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งหรือ ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์สำเร็จ ที่เมืองบลาโกฟเชง (Blagoveshchensk)ของรัสเซีย และเมือง ไฮเฮ (Heihe)ของจีน ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญเป็นสัญญาณาบอกความแน่นแฟ้นของแกนนำโลกใหม่ฝ่ายพันธมิตรตะวันออก ที่มุ่งหน้าพัฒนาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันไม่แทงหลังกัน เหมือนอย่างที่สหรัฐทำต่อมิตรประเทศตะวันตกของตัวเอง
ประเด็นนี้ทางเพจสาธารณะ World Makerรายงานไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
จีน-รัสเซียเดินหมาก !!! ล่าสุดประกาศยกระดับความสัมพันธ์โดยเปิดใช้งานสะพานการค้าที่เชื่อมระหว่างทั้ง ๒ ประเทศเป็นสายแรกแล้ว !! ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ อาจเสื่อมถอยต่ำสุดในรอบ ๕๐ ปี และตัวเลขเงินเฟ้อจีนประกาศออกมาอยู่ที่เพียง ๒.๑% เท่านั้น !! เฮียปูและพี่สีจัดหนักแบบนี้ มาดูกันว่าเสือไบจะทำอย่างไร !
เรียกว่าเดินหมากกร้าวกันอย่างต่อเนื่อง !!! ล่าสุดเฮียปู-พี่สีจัดเต็ม ! ประกาศเปิดสะพานการค้าจีน-รัสเซียแห่งแรกอย่างเป็นทางการแล้ว !! งานนี้บอกเลยว่าเหลาเขี้ยวเสือไบกันไปอีกรอบ !
ในวันนี้ จีน-รัสเซีย ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าสะพานข้ามประเทศสายแรกได้เปิดให้ขนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ! ท่ามกลางวิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย-ตะวันตก และจีน-สหรัฐฯ ที่เสื่อมถอยลงในทุกวัน
สะพานข้ามแม่น้ำจีน-รัสเซียแห่งนี้มีความยาว ๑,๐๘๐ เมตร สร้างบนแม่น้ำอามูร์ (Amur) ระหว่างเมือง Blagoveshchensk ของรัสเซียและ Heihe ของจีน ซึ่งเริ่มโครงการในช่วงปลายปี ๒๐๑๖ โดยมีการลงทุนทั้งหมด ๓๒๕.๔ ล้านดอลลาร์ ขณะที่สื่อรัสเซียคาดการณ์ยอดค้าระหว่างสองประเทศพุ่งขึ้นเป็น ๒ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ ๖.๙ ล้านล้านบาทในสิ้นปีนี้ !
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจีนยังมีกฏหมาย COVID ที่เข้มงวด ทำให้ตอนนี้สะพานดังกล่าวเปิดใช้บริการเฉพาะ ‘รถบรรทุก’ เท่านั้น แต่ในอนาคตจะมีการให้บริการรถประเภทอื่นอีกมากมาย !
ทั้งนี้ การเปิดเส้นทางการค้าดังกล่าวไม่ได้มีความหมายเพียงในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความเป็นพันธมิตรกันทางเชื้อชาติและชนชาติด้วย !
ยูริ ทรูเนฟ(Yury Trutnev) รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าวระหว่างพิธีเปิดงานไว้อย่างชัดเจนว่า
“ในโลกที่กระจัดกระจายในปัจจุบัน สะพาน Blagoveshchensk-Heihe ระหว่างรัสเซียและจีนมีความหมายพิเศษเชิงสัญลักษณ์ มันจะกลายเป็นอีกหนึ่งมิตรภาพที่เชื่อมระหว่างประชาชนของรัสเซียและจีน”
ขณะที่ทางนายหู ชุนฮัว (Hu Chunhua) รองนายกรัฐมนตรีของจีน ก็ได้ออกมากล่าวถึงความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสะพานนี้อีกด้วย โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่าด้วยการเชื่อมโยงนี้ ประเทศจีนจะสามารถให้บริการด้านลอจิสติกส์ได้ดีขึ้น และการเชื่อมต่อสะพานนี้ก็ถูกกำหนดให้เป็น “สะพานแห่งมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซีย
โดยสินค้าเบื้องต้นที่จีนสั่งจากรัสเซียคือ ‘ก๊าซธรรมชาติ’ ส่วนสิ่งแรกที่รัสเซียสั่งจากจีนคือ ‘อุปกรณ์ไฟฟ้า’ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยปริมาณการค้าของทั้ง ๒ ประเทศ
ทั้งนี้ แนวคิดเรื่อง “พรมแดนที่เป็นมิตร” ระหว่างจีน-รัสเซีย เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ซึ่งในตอนนั้นมีการข้อตกลงการค้าครั้งแรกระหว่างทั้ง ๒ เมืองนี้ทำขึ้นในเดือนกันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ซึ่งเมื่อมีการนำแตงโมของจีนมาแลกเป็นปุ๋ยของสหภาพโซเวียต
ต่อมา ในปี ๑๙๙๕ รัสเซียและจีนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อร่วมกันสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอามูร์ และในปี ๒๐๑๕ ทั้งสองฝ่ายก็ได้แก้ไขข้อตกลงโดยลงนามในพิธีสารที่รัฐบาลของภูมิภาคอามูร์และมณฑลเฮยหลงเจียง “จะแบ่งปันค่าใช้จ่ายในการสร้างสะพาน” และจัดตั้ง “บริษัทร่วมทุนระหว่างรัสเซียกับจีน”
สิ่งนี้ทำขึ้นเพื่อ “ช่วยรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ครอบครัว วัฒนธรรม มนุษยธรรม และเศรษฐกิจระหว่างพลเมืองของรัสเซียและจีน”
นับตั้งแต่เริ่มเกิดสงครามในยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ชาติตะวันตกได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างหนักเป็นประวัติการณ์ และยังวิพากษ์วิจารณ์จีนอย่างหนักที่ปฏิเสธไม่ยอมทำตามคำสั่งของสหรัฐฯ ในการคว่ำบาตรรัสเซีย
ขณะเดียวกัน ทาง Bloomberg รายงานว่าตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะตกต่ำที่สุดในรอบ ๕๐ ปี หรือนับตั้งแต่การเดินทางไปเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์นิกประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันในปี ๑๙๗๒
โดยทางนิโคลาส เบิร์น (Nicholas Burns) เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำชาติเอเชียให้ความเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง สองมหาอำนาจโลกกำลังตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ตอนนั้นมาเลยทีเดียว
ทูตของสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึง “ความแตกแยกที่ลึกซึ้ง” ระหว่างมังกรและอินทรีย์ ซึ่งมีความขัดแย้งกันในทุกสิ่งตั้งแต่เศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยี ไปจนถึงความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
มีการกล่าวอีกว่าจีนกำลังเพิ่มขุมกำลังเพื่อต่อต้านพันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชีย ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย
นอกจากนี้ คาดว่าการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ-จีน จะรุนแรงขึ้นอย่างมากในอุตสาหกรรมหลักแห่งโลกอนาคต ซึ่งรวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) และเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอนาคต
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ต้องรู้เพิ่มเติมคือล่าสุดอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของจีนประกาศออกมาอยู่ที่ ๒.๑% เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐฯ อย่างมาก แม้ว่า PPI ของจีนจะพุ่งขึ้นไปที่ ๖.๔% แล้วก็ตาม แต่โดยรวมแล้วผู้บริโภคของจีนยังแทบไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นส่วนใหญ่นั้นผู้ผลิตและรัฐบาลเป็นคนรับเอาไว้ และจีนก็ไม่ได้เผชิญเงินเฟ้อรุนแรงเท่ากับชาติตะวันตก
เราคงต้องมาจับตามองกันต่อไปอย่างใกล้ชิดเลยทีเดียว ! ว่าเมื่อเฮียปูและพี่สีเขาเดือนหมากมาชัดเจนแบบนี้แล้ว ทางเสือไบจะเดินหมากทางไหนต่อ ! เพราะความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย-จีน VS สหรัฐฯ-ตะวันตก กำลังร้อนระอุขึ้นเรื่อย !