บทความพิเศษ:The Greatest Depression: การฟื้นเศรษฐกิจและประเทศ ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการแบบเดิม

0

The Greatest Depression: การฟื้นเศรษฐกิจและประเทศไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการแบบเดิม..ไทยต้องฝ่าวิกฤติโดยสูญเสียน้อยที่สุด และเติบโตไปข้างหน้าได้

1.ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า “… ผล กระทบจะทำให้เศรษฐกิจ(โลก) ขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน แต่จะลดลงเท่าใดคาดเดายาก ขึ้นกับความสามารถในการควบคุมการระบาดของประชาคมโลก…” และย้ำว่า “…ครั้งนี้จะไม่เหมือนที่ผ่านมาในอดีต…”

2.โดยรายงานว่า COVID-19 จะสร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจมีการประเมินว่าทำให้ GDP โลกลดลง 54,000 ล้านดอลลาร์ (0.14%) (ตัวเลขนี้อาจเปลี่ยน แปลงสูงขึ้น เพราะการควบคุมการแพร่เชื้อที่ไม่เป็นผลในซีกโลกตะวันตก)

3.ในด้านการค้าโลก รายงานของ UNCTAD (2020) ชี้ว่าดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2547 และประเมินว่าจะสร้างความเสียหายต่อการส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน 50,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.

4.โดยจะมีผลกระทบมากสุดต่อ (ผลกระทบต่อการผลิตอาจต่างกันขึ้นกับการพึ่งพาวัตถุดิบขั้นกลางจากจีนและความแตกต่างกันของอุตสาหกรรม)  EU (15,600 ล้านดอลลาร์ สรอ.) , สหรัฐฯ (5,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) , ญี่ปุ่น (5,200 ล้านดอลลาร์ สรอ.)  , เกาหลี (3,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) และ เวียดนาม (2,300 ล้านดอลลาร์ สรอ.)

5.ส่วนไทยติดอยู่ที่อันดับ 11 ด้วยมูลค่าความเสียหาย 700 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ  อุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก , เครื่องมือเครื่องจักร , เคมีภัณฑ์ , อุปกรณ์สื่อสาร
และยานยนต์ ส่วนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และสูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านบาท (เฉพาะกรณีนักท่องเที่ยวจีน)

6. จีน,สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ประเทศคู่ค้า ส่งออกที่สำคัญของไทยล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19.ทั้งสิ้น  ตัวเลขในปี 2561 จีนมีมูลค่าส่งออก 9.6 แสนล้านบาท (ส่วนแบ่งตลาด 11.9%) สหรัฐอเมริกามีมูลค่าส่งออก 8.98 แสนล้านบาท (ส่วนแบ่ง 11.1%) ญี่ปุ่น มูลค่าส่งออก 7.9 แสนล้านบาท (ส่วนแบ่ง 9.9%) 

4.6 OECD ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจว่าในขณะนี้ สถานการณ์การระบาดของเชื้อเป็นสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าประเทศอื่นนอกจีนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ซึ่ง กรณีนี้ความเสียหายน่าจะสูงและกินเวลานานเป็นปี

7.การเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่” (Great Depression) ครั้งใหม่ ทั่วโลก  เว็บไซด์ลงทุนแมนระบุว่า คนไทยจำนวนมาก (87%ของผู้มีบัญชีเงินฝาก) มีเงินในบัญชีเพียง 50,000 บาท พอที่จะอยู่ได้ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือใดๆเลยเพียง 3 เดือน  มีบริษัทที่มีกระแสเงินสด พอจะจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้ 1 ปีเป็นจำนวนน้อยและบริษัทจำนวนมากมีกระแสเงินสดพอจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ไม่เกิน 3 เดือน

8.คนตกงาน ไม่มีรายได้ เงินเก็บหมด ต้องพึ่งสวัสดิการของรัฐ จะทำให้หยุดการบริโภค (เลื่อนซื้อของใหญ่ และใช้จ่ายเฉพาะในส่วนของปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิต)

9.ธุรกิจภาคบริการ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์ สินค้าฟุ่มเฟือย จะได้รับผลกระทบมากมายทันที

บริษัทที่ขาดสภาพคล่องและสร้างหนี้เพื่อผลกำไร สูงสุด จะอยู่ในภาวะวิกฤติในทันที และอัตราส่วนของพนักงานในภาคบริการที่ถือว่าสูงมาก จะทำให้เกิดการว่างงานครั้งใหญ่ทั่วโลก (เมื่อเทียบกับเมื่อคราวภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1929 ในคน 5 คนมีคนว่างงาน 1 คน ในครั้งนั้นตัวเลข GDP ทั่วโลก ลดลง 15% เป็นระยะเวลา 3 ปี)

10.เฉพาะที่สหรัฐอเมริกาจะมีคนตกงานกว่า 3.3 ล้านคนในปลายเดือนมีนาคม 2563 และเพิ่มขึ้นอีก 6.6 ล้านคนในสัปดาห์ต่อมา

11.ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา มีหนี้สาธารณะ 107% ของ GDP, ญี่ปุ่น มีหนี้สาธารณะ 238% ของ GDP ส่วนไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 41% ของ GDP ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า

12.การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หลังวิกฤติ Covid-19 เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่มีใครรู้ว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในครั้งนี้จะกินเวลายาวนานไปขนาดไหน  นี่คือช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่ต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรในธรรมชาติ และทรัพยากรด้านทรัพย์สินของประเทศ จึงเป็นความจำเป็นอย่างรีบเร่ง และต้องจัดการอย่างรอบคอบ เพื่อให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้โดยมีความสูญเสียน้อยที่สุด และสามารถเติบโตไปข้างหน้าได้ โดยมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและภูมิคุ้มกันด้านวิถีชีวิตถ้าเกิดกรณีวิกฤติขึ้นอีกในอนาคต

(ที่มา ข้อเสนอให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแผนและงบประมาณ ประเทศใหม่เป็นการเร่งด่วน เพื่อรับมือกับวิกฤติ การระบาดของเชื้อ Covid-19.ในระยะฉุกเฉินและระยะยาว ของสถาบันทิศทางไทย)