รัฐบาลกัมพูชาและปักกิ่งพร้อมใจประณามรายงานของ “เดอะ วอชิงตัน โพสต์” เกี่ยวกับ “สิ่งก่อสร้างพิเศษ” ในฐานทัพเรือรีม ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารติดอ่าวไทย โดยวิจารณ์ว่า เป็นการใส่ร้ายว่าเป็นฐานทัพลับทั้งๆที่กัมพูชาพัฒนาอย่างเปิดเผย หวังให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ฟาดสื่อตะวันตกกลับไม่รายงานเรื่องสหรัฐที่มีฐานทัพทั่วโลกกว่า 800 แห่งทุ่มงบฯมหาศาลโดยทำตัวเป็นอันธพาลคุมโลก
เมื่อวันที่ ๘ มิ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า นายปรัก สุคน รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวประณามถึงรายงานของเดอะ วอชิงตัน โพสต์ ที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับ “สิ่งก่อสร้างแห่งใหม่” ภายในฐานทัพเรือรีม ที่จังหวัดพระสีหนุหรือสีหนุวิลล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชา ติดกับอ่าวไทย ว่าเป็นการสร้างขึ้น “เป็นพิเศษ” ให้แก่กองทัพเรือจีน ซึ่งเป็น “ข้อกล่าวหาใส่ร้ายที่ไม่มีน้ำหนัก” การอ้างว่าเป็นเรื่องลับก็ไม่จริงเพราะโครงการพัฒนาภายในฐานทัพแห่งนี้ “ไม่เคยเป็นความลับ” รายงานเปิดเผยต่อสาธารณชน
เดอะวอชิงตันโพสต์ โดยอ้างแหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ตะวันตกที่ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า โรงงานแห่งใหม่ที่ฐานทัพรีมของกัมพูชาทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวไทยกำลังถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ “เฉพาะ” ของกองทัพเรือจีน
จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ประณามรายงานของสื่อสหรัฐฯ ที่อ้างว่าจีนกำลังสร้างฐานทัพทหารพิเศษในกัมพูชา และวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จไปยังประเทศอื่นๆ ในขณะที่ยังคงสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพเมกาไปทั่วโลก และเกร็งกล้ามข่มขู่ประเทศอื่นตามอำเภอใจ
จ้าวกล่าวเดือดว่า “ขอประณามรายงานที่ไม่ถูกต้องของสหรัฐฯที่เผยแพร่โดยสื่อตะวันตกซ้ำซาก ทั้งๆที่ทางการกัมพูชาชี้แจงแล้วแต่ฝ่ายสหรัฐฯ กลับไม่รับฟังคำอธิบาย และยังคงทำการละเลง ป้ายสีโจมตี หรือแม้แต่ขู่ว่าจะปราบปรามกัมพูชาในประเด็นนี้ นั่นคือพฤติกรรมอันธพาลอย่างชัดเจน”
จ้าวย้ำว่าจีนและกัมพูชาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ทั้งสองประเทศร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างเปิดเผยและโปร่งใส ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศและประชาชนของพวกเราเท่านั้น แต่ยังได้สร้างตัวอย่างในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่และสร้างชุมชนแห่งอนาคตร่วมกันอีกด้วย
จ้าวชี้ประเด็นว่า “ในทางตรงกันข้าม สหรัฐฯ เป็นเจ้าของฐานทัพทหารวกว่า ๘๐๐ แห่งทั่วโลก และทุ่มค่าใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐฯ ในปี ๒๐๒๐ สหรัฐฯ ใช้เงิน ๗๗๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ไปกับกองทัพ มากกว่ายอดรวมของ ๙ ประเทศที่มีการใช้จ่ายสูงสุด โดยสหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นมาเกือบ ๒๕๐ ปีแล้ว แต่ไม่ได้ทำสงครามเพียง ๑๖ ปีเท่านั้น สหรัฐฯ มักจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของประเทศอื่น และส่งเครื่องบินรบและเรือรบไปอวดกร่าง”
“ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถบอกได้ว่าใคร กำลังมุ่งทำลายความมั่นคงของประเทศต่างๆและความมั่นคงของโลก โดยเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและบิดเบือน”
สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในวอชิงตันได้แถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยระบุว่า “ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาและความหมายของรายงานอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลซึ่งจูงใจให้ใส่ร้ายภาพลักษณ์ของกัมพูชาในเชิงลบ”
สถานเอกอัครราชทูตกล่าวยืนยันว่า “กัมพูชายึดมั่น ต่อรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งไม่อนุญาตให้มีฐานทัพหรือฐานทัพต่างประเทศในดินแดนกัมพูชา “การปรับปรุงฐานทัพเรือเป็นเพียงการเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือกัมพูชา เพื่อปกป้องความสมบูรณ์ของการเดินเรือ และต่อสู้กับอาชญากรรมทางทะเล รวมถึงการประมงที่ผิดกฎหมาย”
ฐานทัพแห่งนี้เป็นจุดที่เจ็บปวดในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับกัมพูชามาหลายปีโดยวอชิงตันตั้งข้อสงสัยมานานแล้วว่ากำลังถูกดัดแปลงให้จีนใช้ เพื่อพยายามจะรักษาอิทธิพลระหว่างประเทศของตนด้วยเครือข่ายฐานทัพทหาร
ปรัก โซคนน์ รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (Prak Sokhon:Deputy Prime minister of Cambodia)ปฏิเสธรายงานดังกล่าวว่าเป็น “ข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูล” ในการติดต่อกับรัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลีย เพนนี หว่อง เมื่อเร็วๆนี้
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานีสในระหว่างเยือนประเทศอินโดนีเซียเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต และต่อต้านความกล้าแสดงออกของจีนในภูมิภาคนี้ ระบุว่ารายงานดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวข้องและสำคัญ
เขากล่าวว่า “เราสนับสนุนให้ปักกิ่งโปร่งใสเกี่ยวกับเจตจำนงของตน และเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมของตนสนับสนุนความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค” และเสริมว่ากัมพูชาได้ให้ความมั่นใจกับแคนเบอร์ราว่าจะไม่มีการอนุญาตให้ทหารต่างชาติเข้าถึงฐานทัพรีมโดยเฉพาะ
ออสเตรเลียซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มพันธมิตรออคัสที่นำโดยสหรัฐเริ่มกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของปักกิ่งในภูมิภาคแปซิฟิก ทั่งในทะเลจีนใต้และหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้
ร่างสนธิสัญญาหมู่เกาะโซโลมอน-จีนที่รั่วไหลออกมาในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลว่าจะอนุญาตให้กองทัพเรือจีนส่งกำลังไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งอยู่ห่างจากออสเตรเลียไม่ถึง 2,000 กม. หรือ1,200 ไมล์ทะเล ได้อย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุนเซน ได้ยืนกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่างานที่รีมเป็นเพียงแค่การปรับปรุงฐานทัพให้ทันสมัยด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการบำรุงรักษาเรือแห่งใหม่ที่พัฒนาขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากจีน “กัมพูชาไม่ต้องการทหารต่างชาติในอาณาเขตของตน” เขากล่าวย้ำในการปราศรัยเมื่อเดือนพฤษภาคม แต่แน่นอนสหรัฐ ออสเตรเลียย่อมไม่เชื่อและไม่วางใจเพราะเป้าหมายหลักของกลุ่มออคัส ในย่านนี้ตั้งขึ้นก็เพื่อปิดล้อมและต้านอิทธิพลจีนโดยตรง!