ความสำเร็จในการเยือนหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ของหวังยี่ ทำให้สหรัฐและออสเตรเลียหวั่นวิตกอย่างมาก กลัวสูญเสียอำนาจ แม้จะปล่อยข่าวว่าจีนล้มเหลวไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศหมู่เกาะ แต่ข้อเท็จจริงสวนทางชัดเจน เพราะ๙ประเทศที่ไปเยือน ต่างลงนามสัญญากับปักกิ่งรัวๆบางประเทศลงนาม๓-๕ ฉบับรวมทั้งสิ้น ๕๒ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางยุทธศาสตร์ หนึ่งแถบและเส้นทางหรือBRI ของจีน บางแห่งก็ลงนามเรื่องความมั่นคง เป็นความสำเร็จตามเป้าหมายเป็นที่ปลาบปลื้มยินดีของทุกฝ่าย
วันที่ ๗ มิ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์รายงานว่า นายหวัง ยี่ มนตรีแห่งรัฐและรมว.การต่างประเทศของจีน กล่าวสรุปการเยือนพันธมิตรหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และระบุถึง “ความสงสัยและความวิตกกังวล” ของฝ่ายตะวันตกเกี่ยวกับการเยือนกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกของจีน ทั้่งด้าน“วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แท้จริง” ของรัฐบาลปักกิ่ง เขากล่าวว่าทุกฝ่ายไม่ควรมีความกังวล “มากเกินไป” เพราะจีนมีส่วนร่วมและสนับสนุนการพัฒนาแบบเดียวกันนี้ ในทุกหนแห่งทั้งในแอฟริกา เอเชีย และแคริบเบียน
จีนได้เดินสายเยือนกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ได้แก่ ฟิจิ ซามัว ตองกา คิริบาส ปาปัวนิวกินี วานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน นีอูเอ และติมอร์-เลสเต้ ทั้ง ๙ ประเทศได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการ ระหว่างการประชุมร่วมที่กรุงซูวา เมืองหลวงของฟิจิ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ ๕ ด้าน ครอบคลุมในมิติรวมถึง การฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเกษตร และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตามแนวทางแผนยุทธศาสตร์หนึ่งแถบ และเส้นทาง หรือBRI:Belt and Road Initiative
หวังยี่ สรุปว่าเป็นการ ‘ขับเคลื่อนทวิภาคี-พหุภาคี เพื่อมิตรภาพระหว่างจีน-แปซิฟิก'(PICs) เมื่อสิ้นสุดการเยือน๙ ประเทศว่าประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายอย่างงดงาม
การเดินทางเริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๖ พ.ค. สิ้นสุดในวันที่ ๔ มิ.ย.๒๕๖๕ เป็นเวลา ๑๐ วัน โดยผู้สังเกตการณ์ต่างพากันยกย่องว่าเป็น “การเดินทางที่มหัศจรรย์” ที่ให้คำตอบแก่ ชาวหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ได้ทันต่อความต้องการโดยตรง เพิ่มขอบเขตของความร่วมมือ และนำไปสู่อนาคตที่กว้างขึ้นสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคีกับจีนในภูมิภาคนี้
หวังได้มีโอกาส ดำเนินการประชุมแบบเห็นหน้ากันและเสมือนจริง มีการใช้ระบบ “เยี่ยมชมโดยระบบคลาวด์” และเชื่อมโยงเสมือนจริงกับผู้นำ ๑๗ ประเทศในกลุ่มแแปซิฟิกใต้ รวมทั้งพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีมากกว่า ๓๐ คน และร่วมเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจีน-แปซิฟิกแห่งเกาะแปซิฟิกใต้ ครั้งที่ ๒ ในเมืองซูวา ฟิจิด้วย
จีนและ หมู่เกาะแปซิฟิกใต้(PICs) บรรลุข้อตกลงความร่วมมือ ๕๒ ฉบับ ครอบคลุม ๑๕ โดเมน ๕ ด้านซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดใหญ่ การพัฒนาสีเขียว สุขภาพ การค้าและการท่องเที่ยว หวัง ยี่ได้กล่าวในงานแถลงข่าวที่เมืองพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี (PNG) จุดสิ้นสุดของทัวร์แปซิฟิกใต้ (PICs) ของเขาโดยโซรอย เอโอ (Soroi Eoe)รมว.ต่างประเทศแห่งปาปัวนิวกินีเข้าร่วมแถลงข่าวด้วยเช่นกัน
โปรเฟซเซอร์หยู เลีย(Yu Lei) หัวหน้านักวิจัยที่ศูนย์วิจัยสำหรับประเทศเกาะแปซิฟิกของมหาวิทยาลัยเลียวเชง (Liaocheng) ในมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีนกล่าวว่า ความพยายามในการต่อต้านจีนโดยอดีตมหาอำนาจอาณานิคมที่ต้องการดำเนินการต่อกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากเหตุการณ์สำคัญที่ รมว.หวัง ยี่ได้บรรลุความสำเร็จในระหว่างการเดินทางของเขา
หยูกล่าวย้ำว่า “ความร่วมมือของจีนกับหมู่เกาะแปซิฟิกฯ (PICs) ไม่จำเป็นต้องได้รับเสียงปรบมือจากตะวันตก แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนจีนและประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งตามมาตรฐานการเดินทางของหวัง ประสบความสำเร็จอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง”
ในวันสุดท้ายของการเยือนประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก (PICs) เป็นเวลา ๑๐ วัน หวัง ยี่ ได้พบกับประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต โฮเซ่ รามอส-ฮอร์ตา ในเมืองดิลี เมืองหลวงของติมอร์-เลสเต เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศให้คำมั่นที่จะส่งเสริมการก่อสร้างที่มีคุณภาพสูงตามแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางที่จีนเสนอ และพวกเขาบรรลุข้อตกลงความร่วมมือหลายฉบับ
เนื่องในโอกาส ๒๐ ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตกล่าวว่าติมอร์-เลสเตรู้สึกขอบคุณรัฐบาลจีนและประชาชนที่ให้การสนับสนุนอย่างมากในระยะยาว
รามอส-ฮอร์ตากล่าวว่าตั้งแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ เรายึดมั่นในหลักการจีนเดียวมาโดยตลอด ไม่ว่าเราจะเผชิญความยากลำบากและแรงกดดันใด ๆ ก็ตาม ซึ่งติมอร์-เลสเตมีความมั่นใจและความคาดหวังอย่างเต็มที่ อนาคตของความสัมพันธ์ทวิภาคี
เขาย้ำว่า “การพัฒนาของจีนไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อติมอร์-เลสเตเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภูมิภาคและโลกด้วย”
หวังกล่าวว่าในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความเข้าใจซึ่งกันและกันและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และได้กลายเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการสร้างแผนริเริ่มหนึ่งแถบ และเส้นทาง จีนมีบทบาทอย่างแข็งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนติมอร์-เลสเตด้วย