ล่มจม!? เจพีมอร์แกนซัด สหรัฐเจอเฮอริเคนศก. ปล่อยFed บริหารห่วยดูดเงินจากระบบเดือนละ ๓๒.๕ ล้านล้าน

0

ซีอีโอของJPMorgan Chase เตือนเดือดว่า อเมริกากำลังเจอกับพายุเศรษฐกิจระดับเฮอร์ริเคน เมื่อเฟดทำคิวทีดูดเงินออกจากระบบเดือนละ $๙๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ สงครามยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันจะพุ่งไปที่$๑๕๐ -$๑๗๕ต่อบาร์เรล ปัญหาที่ตามมาคือเงินเฟ้อพุ่งกระฉุดทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และกำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก นอกจากนี้ ส่อแวววิกฤตการขาดแคลนอาหาร พลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์จะเพิ่มขึ่นในประเทศที่ภาคเกษตรกรรมไม่แข็งแรง

วันที่ 3 มิ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวเดอะไทมส์ของอังกฤษและซีเอ็นบีซีของสหรัฐรายงานว่าเจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ซีอีโอของบริษัท เจพี มอร์แกนเชส กล่าวว่า คนอเมริกันต้อง‘เตรียมพร้อม’ สำหรับพายุเฮอริเคนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามยูเครนและผลบริหารเศรษฐกิจของเฟด ที่ผู้นำปธน.โจ ไบเดนยังยืนยันฝากความหวังไว้กับเฟดต่อไป

ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันหลังจาก ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ พารือกับนายเจโรม พาวเวลล์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ถึงสถานการณ์เงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี และประกาศเชื่อใจให้เฟดแก้ปัญหาอย่างอิสระ

ซีอีโอคนดัง กล่าวว่า เศรษฐกิจถูกเงินเฟ้อทำให้บิดเบี้ยว และน่ากังวลว่า เฟดเริ่มใช้กระบวนการดึงสภาพคล่องออกจากระบบด้วยการปล่อยให้พันธบัตรที่ซื้อมาครบอายุ พร้อมกับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดยังไม่ได้เตรียมรับมือ

มีสองปัจจัยหลักที่ทำให้ไดมอนกังวลมีสองเรื่อง เรื่องแรกคือ สิ่งที่เรียกว่าการทำให้รัดกุมเชิงปริมาณหรือ QT คือการดึงเงินออกจากระบบ มีกำหนดที่จะเริ่มในเดือนนี้และจะเพิ่มการถือครองพันธบัตรที่ลดลงถึง ๙๕,๐๐๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนหรือ ๓๒ฬ๕ ล้านล้านบาท มันเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงการขาดสภาพคล่องในระบบ

อีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ไดมอนกังวลคือ สงครามยูเครนและผลกระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งอาหารและเชื้อเพลิง น้ำมันอาจแตะ ๑๕๐ ดอลลาร์หรือ ๑๗๕ ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ไดมอนบอกกับนักวิเคราะห์และนักลงทุนจำนวนมากว่า “คนอเมริกันควรเตรียมตัวให้พร้อม” “JPMorgan กำลังค้ำจุนตัวเองและเราจะระมัดระวังอย่างมากเกี่ยวกับการบริหารงบดุลของเรา”

ในขณะที่นักลงทุนเตรียมพร้อมสำหรับการสิ้นสุดยุคเงินราคาถูกของ Federal Reserve อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งรุนแรงขึ้นจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส ทำให้เกิดความวิตกในหมู่นักลงทุนว่าเฟดจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากต่อสู้กับเงินเฟ้อช้าเกินไปและอาจต้องตัดสินใจในสิ่งไม่คาดคิด

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในระหว่างการประชุมนักลงทุนที่ธนาคารของเขา ไดมอนกล่าวถึงความกังวลทางเศรษฐกิจของเขาว่าเป็นเพียง“เมฆพายุ”ที่อาจกระจายไปในที่สุด 

แต่จนถึงวันนี้ความกังวลของเขาดูเหมือนจะลึกซึ้งขึ้นเมื่อมองเห็นสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคที่ตั้งเค้าในทางลบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ไดมอนเตือนว่า ในอดีตระหว่างการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงินปีพ.ศ.๒๕๕๑ ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สามรายของกระทรวงการคลังสหรัฐ แต่วันนี้ ผู้เล่นรายใหญ่ทั้งสามจะไม่มีความสามารถที่จะซึมซับพันธบัตรสหรัฐจำนวนมากได้แม้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยจูงใจสูงเป็นประวัติการณ์ก็ตาม

เขากล่าวย้ำว่า“นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกระแสเงินทุนทั่วโลก” “ฉันไม่รู้ว่าผลกระทบนั้นเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยฉันก็พร้อมสำหรับความผันผวนครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงนี้”

อย่างไรก็ตาม ไดมอนยังคงตั้งความหวังว่ามี 3 ปัจจัยหลักที่อาจยังค้ำจุนตลาดสหรัฐฯ ไว้ได้แม้ต้องเผชิญเฮอริเคนทางเศรษฐกิจคือ

๑.ความแข็งแกร่งของผู้บริโภคในสหรัฐฯ

๒.ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

๓.ตลาดแรงงานที่ยังคงมี ‘งานว่าง’ ให้ขยายตัวได้อีกมาก

ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงความหวังที่อาจเป็นไปได้แค่เรื่องการขึ้นค่าแรง และตลาดแรงงานที่ยังมีการขยายตัว สำหรับความแข็งแกร่งของผู้บริโภคยากจะเป็นไปได้ เพราะท่ามกลางราคาสินค้าจำเป็นทั้งพลังงาน และอาหาร ตลอดจนโภคภัณฑ์ซึ่งเกี่ยวโยงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริงของสหรัฐมีแต่เป็นต้นทุนที่สูงขึ้นไม่หยุด ส่งผลกระทบวงจรเศรษฐกิจทั้งมหภาค,ระดับครอบครัว ไม่สู่วิชาชีพต่างๆรายบุคคล งานนี้รายใหญ่อาจรอดและบางรายอาจรวย แต่คนอเมริกันธรรรมดาได้เจอความยากลำบากที่แท้จริงแล้ว ถึงขั้นขาดอาหาร ชั้นวางในห้างสรรพสินค้าบางเชลฟ์ว่างเปล่า และล่าสุดแม้แต่อาหารทารกก็ยังขาดแคลนและยังแก้ไม่ตก!!