เมกาตาขวาง!!๖ ประเทศอ่าวอาหรับ จับมือรัสเซียรับมือแรงบีบจากสหรัฐและต.ต. จ่อร่วมแก้ปัญหาพลังงานโลก

0

สงครามยูเครนได้ฉายชัดความสัมพันธ์ร้าวลึกระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นแกนนำสำคัญในกลุ่มอ่าวอาหรับ ภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐ เมื่อผีเสื้อขยับปีกย่อมก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้าง ทันทีที่รัสเซียเปิดฉากปฏิบัติการทหารในยูเครน สหรัฐและบรรดาชาติพันธมิตรพร้อมใจงัดมาตรการคว่ำบาตรออกมาลงโทษรัสเซียอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  รวมถึงห้ามการนำเข้าน้ำมันจากแดนหมีขาว ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งทะยานขึ้นไม่หยุด สหรัฐชี้เป้ามาที่รัสเซียและกลุ่มโอเปคเป็นต้นเหตุ  โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจผิดพลาดของสหรัฐและตะวันตกเอง  ล่าสุดรัสเซียและกลุ่มอ่าวจัดพบกันก่อนการประชุมโอเปคพลัสที่จะถึง เพื่อย้ำจุดยืนร่วมทั้งในสถานการณ์สงครามยูเครน และการมีบทบาทแก้ไขวิกฤตพลังงานทั่วโลก

วันที่ ๑ มิ.ย.๒๕๖๕ สำนักข่าวทาซซ์และรอยเตอร์ รายงานว่ารัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ (Sergei Lavrov) เดินทางมาถึงซาอุดิอาระเบียเมื่อวันอังคารที่ ๓๑ พ.ค.ที่ผ่านมา การเยือนครั้งนี้เพื่อเข้าร่วมการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศจากรัฐสภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC)

๖ ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน คูเวต บาห์เรน และ กาตาร์ ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงริยาด 

ขณะที่ ในวันเดียวกัน รมว.กต.ของกลุ่ม GCC ยังมีกำหนดจะร่วมการประชุมออนไลน์กับนาย Dmytro Kuleba รมว.กต.ยูเครน เกี่ยวกับสถานการณ์ด้วยเช่นเดียวกัน 

การเยือนซาอุดีอาระเบียของ รมว.กต.รัสเซีย มีขึ้นก่อนการประชุมกลุ่ม OPEC+ ที่กรุงเวียนนา ของออสเตรีย ในวันที่  ๒ มิ.ย.๒๕๖๕ ท่ามกลางกระแสเรียกร้องจากสหรัฐฯ และประเทศที่นำเข้าน้ำมันขอให้กลุ่มโอเปคพลัส (OPEC+) เพิ่มเป้าหมายการผลิตให้มากกว่าปัจจุบัน เพื่อชะลอมิให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมากเกินไป แม้ว่ากลุ่ม GCC ยังยืนยันจะเพิ่มเป้าหมายการผลิตน้ำมันสำหรับ ก.ค.๒๕๖๕ ขึ้นมาเป็น ๔๓๒,๐๐๐ บาร์เรล/วัน แล้วก็ตาม ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าริยาดและอาบูดาบี ต้องการแยกตัวเป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆจากพันธมิตรเก่าจอมเอาเปรียบอย่างอเมริกา

รัฐอ่าวไทยยังคงวางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน แม้จะมีการเรียกร้องจากตะวันตกให้ช่วยแยกมอสโก รัฐมนตรีต่างประเทศของโอมานกล่าวในข้อสังเกตที่เผยแพร่โดยกระทรวงของเขาเมื่อวันเสาร์ว่าวิกฤตจำเป็นต้องมีทางออกของยุโรป และท่าทางของ “คุณอยู่กับเราหรือต่อต้านเรา” จะไม่ทำงาน

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ได้พูดคุยกับเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮาน อัลซาอูด รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดิอาระเบียทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๘ พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับยูเครน เรียกว่าขู่กันซึ่งๆหน้าแบบนี้ริยาดไม่น่าจะยินดีสักเท่าไร 

ซาอุดีอาระเบียและสมาชิกอื่นๆ ขององค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ได้ต่อต้านแรงกดดันของสหรัฐในการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย และไม่ประณามปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียตามคำสั่งวอชิงตัน นอกจากนี้สหรัฐและตะวันตกกดดันให้กลุ่มเพิ่มผลผลิตน้ำมันดิบอย่างรวดเร็วมากขึ้นเพื่อให้กดราคาให้ลดลง ในขณะที่สหรัฐไม่พูดถึงการเพิ่มการผลิตของตัวเอง และการตั้งราคาส่งน้ำมันของสหรัฐไปยุโรปแทนที่การคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย

ริยาดกล่าวว่าราคาน้ำมันที่สูงนั้นเกิดจากภูมิรัฐศาสตร์การเมืองของฝ่ายตะวันตก ความสามารถในการกลั่นที่เพิ่มขึ้นของหลายพื้นที่  และภาษีที่สูงขึ้นในโลกตะวันตก ไม่ใช่เรื่องอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติแต่อย่างใด จึงไม่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯแม้จะกดดันต่อเนื่องมาหลายครั้ง

แหล่งข่าวจากทำเนียบข่าวระบุว่า”ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ และทีมของเขากำลังพิจารณาที่จะเยือนซาอุดีอาระเบียและอิสราเอล หลังจากที่เขาเดินทางไปประชุมสุดยอดในเยอรมนีและสเปนเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้” ข่าวนี้อาจเป็นการโยนหินถามทางก่อนที่จะมีการเดินทางมาจริง 

ทำเนียบขาว ระบุว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ๒ คนไปเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อหารือเกี่ยวกับพลังงานและประเด็นอื่นๆรวมทั้งการเยือนริยาดของปธน.โจ ไบเดน  ก่อนหน้านี้ปธน.ไบเดนพยายามต่อสายตรงถึงผู้นำซาอุดีอาระเบียแต่ต้องผิดหวังถึงสองครั้งสองครา

บอริส ดอลกอฟ(Boris Dolgov) จาก Russian Academy of Sciencesผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของศูนย์อาหรับและอิสลามศึกษาของสถาบันตะวันออกศึกษาด้านการเมืองระหว่างประเทศรัสเซีย มองว่าการเยือนริยาดของลาฟรอฟเพื่อปรับปรุงจุดยืนที่สมดุลของพันธมิตรกลุ่มอ่าวต่อสถานการณ์ยูเครนเป็นสำคัญ

เขายังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า รัสเซียตั้งเป้าหมายในการไปพบปะกันครั้งนี้ว่า จะต้องเห็นจุดยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ของกลุ่มพันธมิตรประเทศอาหรับเหล่านี้ เกี่ยวกับโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมท่ามกลางแรงกดดันของตะวันตก ทั้งในเรื่องวิกฤตพลังงาน อาหารและความผันผวนของเศรษกิจทั่วโลก 

ดอลกอฟกล่าวเสริมว่า ภารกิจพื้นฐานอีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมความเข้าใจที่มีอยู่แล้วในโลกอาหรับให้ชัดเจนว่า วิกฤตการณ์อาหารโลกและวิกฤตพลังงานนั้นส่วนใหญ่ เกิดขึ้นโดยชาติตะวันตกในการขัดแย้งกับรัสเซีย  การประชุมทั้งในบาเรนห์ก่อนหน้านี้และที่ริยาดก่อนจะไปต่อที่เวียนนา ออสเตรียในการประชุมกลุ่มเอเปคพลัส  ทั้งสองเหตุการณ์เยือนอาหรับสะท้อนถึง “ความสำคัญ” ที่นโยบายต่างประเทศของรัสเซียได้ผูกติดไว้กับโลกตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด  “การประชุมจะเน้นที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และประเด็นวิกฤตพลังงานในปัจจุบัน”

เป็นความไว้เนื้อเชื่อใจที่กลุ่มชาติอาหรับมีต่อรัสเซียอย่างชัดเจน ขณะที่บางประเทศหันหลังให้สหรัฐอย่างเปิดเผย!!