อดีตรองอธิการบดีมธ. สวน”ชัชชาติ” เอาให้ชัด! เห็นด้วยหรือไม่ยกเลิก 112 คนกรุงจะได้ไม่ต้องเถียงกันอีก

0

จากกรณีที่ายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตอบคำถาม “รุ้ง ปนัสยา” เรื่องมาตรา 112 โดยระบุว่า “อย่างผม ผมก็อดทนมา 8 ปี ถูกไหม มันก็นาน ที่ปฏิวัติมาจนถึงวันนี้มัน 8 ปี แต่เราต้องมีกลยุทธ์ ต้องมียุทธศาสตร์ในการเดิน เขาบอกว่า อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้

ภาษาอังกฤษว่า Revenge is a dish best served cold. คือ การแก้แค้นหรือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมันดีตอนที่มันเย็นแล้ว คืออย่าไปเอาความโกรธหรือความแค้นมาทำ หัดกำหนด Strategy ในการเดิน แล้วเวลาจะอยู่ข้างพวกเรา แต่จะบอกว่านาทีนี้การยกเลิก 112 ไม่ง่าย แต่ขออย่าเอามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง พูดประเด็นนี้ก่อน ดีไหม ค่อยเป็นสเตปต่อไป”

 

ต่อมาทำให้ทางด้านผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) wfhโพสต์แชร์ข้อความดังกล่าว ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ พร้อมระบุข้อความว่า…นักเรียนทุนพระราชทาน เคียดแค้นสถาบัน รอวันล้างแค้นอย่างนั้นหรือ ใช่หรือไม่?

ล่าสุดทางด้านรศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่าช่วงนี้คงไม่มีใครเป็นจุดสนใจของชาวกทม ได้มากไปกว่าคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่ว่าจะพูดอะไร ทำอะไร ดูเหมือนจะเป็นประเด็นให้มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันได้ทุกเรื่อง

ยิ่งเรื่องการตอบคำถามของคุณรุ้ง ปนัสยา ว่ารู้สึกอย่างไรต่อการยกเลิกมาตรา 112 ต้องถือเป็น top of the list เลยทีเดียว

จะว่าไปก็ต้องนับว่าคุณชัชชาติ ตอบคำถามได้อย่างชาญฉลาด คือเลือกมุมที่จะตอบได้ดี แต่คำตอบของคุณชัชชาติ ไม่น่าจะตรงกับคำถามอย่างที่หลายคนพยายามบอกเสียทีเดียว เพราะคำถามของคุณรุ้ง มีน่าความหมายแฝงอยู่ด้วยไม่ว่าคุณรุ้งจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม เพราะความรู้สึก หรือความคิดเห็นต่อการยกเลิกมาตรา 112 ถ้าถามตรงๆแบบไม่อ้อมค้อมก็ต้องถามว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกมาตรา 112

คุณชัชชาติไม่ได้ตอบว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่เลือกที่จะตอบในเชิงแนะนำว่า ควรจะดำเนินเรื่องนี้อย่างไร คือตอบว่า การจะยกเลิกมาตรา 112 ขณะนี้ไม่ง่าย ต้องใจเย็นๆ อย่าใช้ความแค้น อย่าใช้อารมณ์ ต้องมียุทธศาสตร์ในการเดิน ต้องใช้เวลา ซึ่งเวลาเป็นของ “เรา” (ไม่ทราบว่าเราคือใครบ้าง) และแนะนำว่า ควรเริ่มต้นด้วยการพยายามป้องกันไม่ให้มีใครนำมาตรา 112 ไปใช้ในการกลั่นแกล้งทางการเมืองเท่านั้นก่อนในขณะนี้

ความจริงคงไม่มีใครไม่เห็นด้วยว่า ไม่ควรให้มีการใช้มาตรา 112 เพื่อการกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่ก็ต้องทราบว่า เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถฟ้องหมิ่นประมาทใครได้ ดังนั้นวิธีพิจารณาความอาญา จึงเปิดให้ใครก็ได้ สามารถไปยื่นร้องต่อตำรวจได้ แต่ก็ต้องทราบด้วยว่า ตำรวจไม่ได้ไม่มีการพิจารณากลั่นกรองเลยเสียทีเดียว เพราะเท่าที่ทราบ ตำรวจรู้ดีว่า ฝ่ายที่มักทำผิดกฎหมายมาตรา 112 มีนักกฎหมายมือดี ๆ เป็นตัวช่วยมากมาย ตำรวจจึงกลัวว่าจะถูกฟ้องกลับมาก ไม่กล้าทำชุ่ยๆอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี ก็เห็นด้วยว่าควรหามาตรการป้องกันไม่ให้มีการใช้มาตรา 112 เพื่อกลั่นแกล้งทางการเมืองกันให้ได้อย่างเด็ดขาดเสียที แต่ก็ควรหยุดเพียงเท่านั้น ไม่ควรเลยเถิดไปจนถึงการยกเลิกมาตรา 112 ไปทั้งหมด เพราะหากป้องกันการใช้มาตรา 112 เพื่อการกลั่นแกล้งกันได้จริงแล้ว ประชาชนจะไปเดือดร้อนอะไรกับการมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะมีคนเดือดร้อนก็เฉพาะที่ตั้งใจ จงใจ จะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น และเมื่อมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ซึ่งเป็นกฎหมายหมิ่นประมาทสำหรับคนทั่วไป แล้วทำไมจะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สำหรับพระมหาษัตริย์ไม่ได้

ไม่ทราบว่าคุณชัชชาติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือต้องการให้มีการแก้ไข ไม่ต้องยกเลิก หรืออย่างไร อยากให้คุณชัชชาติตอบตรง ๆ โดยไม่ต้องอ้อมค้อม ชาวกทม. ที่ลงคะแนนเลือกคุณชัชชาติ และที่ไม่ได้เลือกคุณชัชชาติจะได้ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไป