กระทรวงแรงงานแจ้งกรณีการเยียวยาแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบสถานณการณ์โควิด-19

0
โควิด-19,กระทรวงแรง,เงินเยี่ยวยา
กระทรวงแรงงานแจ้งกรณีการเยียวยาแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบสถานณการณ์โควิด-19

กระทรวงแรงงานแจ้ง แนวทางช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม กรณีได้รับผมกระทบของเชื้อไวรัส COVID-19

ในสถานการณ์การปัจจุบัน มีหลายๆคนยังคงสงสัยกับการได้รับผลตอบแทนการหยุดงานจากเหตุการณ์จำเป็นหรือกรณีสถานประกอบกิจการสั่งปิดเป็นการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กระทรวงแรงงานจึงแจ้งแนวทางช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม กรณีได้รับผมกระทบของเชื้อไวรัส COVID-19

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • กรณีนายจ้างเลิกจ้าง ( ทั้งหมด/บางส่วน )หรือปิดกิจการ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเฉยให้ลูกจ้างตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
  1. ทำงานติดต่อกันน้อยกว่า 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  2. ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  3. ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  4. ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  5. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  6. ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

*หมายเหตุนายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อย 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง

  • กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวจากเหตุจำเป็น ( เช่น เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มี Order)
    นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างน้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงาน
  • กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวในกิจการท่องเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน
    อยู่ระหว่างพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลังให้ได้รับสิทธิชดเชยการขายรายได้

สำนักงานประกันสังคม

  • กรณี ( ทั้งหมด/บางส่วน ) หรือ ปิดกิจการ ลูกจ้างได้รับเงินเพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์ตอบแทนกรณีว่างงานจากกองทุนประกันสังคม ร้อยละ 70 ของค่าจ้างจนกว่สจะได้งานใหม่ แต่ไม่ 200 วัน
  • กรณีสถานประกอบกิจการสั่งปิดเป็นการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ( โควิด-19 ) กองทุนประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างจนกว่าจนกว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง แต่ไม่เกิน90วัน ( หากสถานการณ์ยืดเยื้อดกิน 90 วันกระทรวงแรงงานจะพิจารณาให้ความชั่วเหลือต่อไป )
  • กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงหยุดงานเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดหรือกักตัว
    กองทุนประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างจนการจะสามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้งแต่ไม่เกิน 90 วัน

 

กระทรวงแรงงานแจ้งกรณีการเยียวยาแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบสถานณการณ์โควิด-19

ที่มา: กระทรวงแรงงาน