กระหึ่มโลก!!รัสเซียชมเปาะไทยจัดเอเปคเยี่ยม 21 เขตเศรษฐกิจผนึกร่วมชู BCG เมินสหรัฐป่วนขวางแถลงร่วม

0

ผู้แทนรัสเซียชื่นชมไทย ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ได้รับฉันทามติจากประเทศ21 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมชู เศรษฐกิจ BCG เป็นแกนหลักในการพัฒนาของภูมิภาค แม้ไม่มีแถลงการณ์ร่วมเพราะแก๊งตะวันตกวอล์กเอ้าท์ ประท้วงเชิญรัสเซียเข้าร่วม เป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้เชื่อมสัมพันธ์กับรัสเซียได้มากยิ่งขึ้นทั้งด้านการค้าและการลงทุน สำหรับ 5 ประเทศที่ป่วนงานได้แก่ สหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2565 สำนักข่าวทาสส์ รายงาน อ้างถ้อยแถลงนายแม็กซิม เรเชตนิคอฟ (Maxim Reshetnikov) รมว.กระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค เมื่อ 21 พ.ค.65 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ประสบความสำเร็จในการคงประเด็นหารือที่สำคัญในการประชุมแม้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้แทนสหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ไม่รับรองข้อเรียกร้องของรัสเซียและจีนที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกยังคงรักษาความร่วมมือกันในกรอบเอเปคต่อไป

เรเชตนิคอฟ กล่าวว่า การคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียสร้างโอกาสสำหรับประเทศต่างๆ รวมถึงไทย ในการเข้าสู่ตลาดรัสเซียและเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไปผลจากการระบาดใหญ่โควิด-19 และวิกฤตที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและการคว่ำบาตร

เขากล่าวว่า “ในทุกสถานการณ์แบบนี้ แม้การคว่ำบาตรจะเป็นปัญหาด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่ง มันได้เปิดโอกาส ให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ  เป็นโอกาสในการมุ่งมาที่ตลาดรัสเซีย และเติมเต็มในช่องว่างที่มีอยู่”  “นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำหรับบริษัทรัสเซียที่กำลังค้นหาตลาดใหม่ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ของตนด้วย”

เรเชตนิคอฟ กล่าวเสริมว่า “สิ่งนี้ใช้ได้กับเชื้อเพลิงและพลังงาน น้ำมัน ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก๊าซและปุ๋ย ตลอดจนผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและวิศวกรรม นั่นคือเหตุผลที่เรามาที่นี่เพื่อหารือเกี่ยวกับ โอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในเวลานี้” 

รัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่าแม้ว่ารัสเซียจะอยู่ภายใต้แรงกดดันของการคว่ำบาตรมาตั้งแต่ปี 2014 แต่กระแสมาตรการจำกัดอย่างรุนแรงในปัจจุบันก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน “พวกเขาถูกบังคับจากบุคคลและบริษัทรัสเซียมากกว่า 10,000 ราย ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจำนวนมากทั่วโลก และส่งผลล่วงล้ำไปไกลกว่ากฎเกณฑ์ที่ยอมรับในระดับสากล” 

เขาย้ำว่า “ฉันกำลังหมายถึงการยึดทองคำสำรองและสกุลเงินต่างประเทศของรัสเซีย และการยึดกุมทรัพย์สินต่างประเทศของบริษัทและบุคคลของรัสเซีย”แต่รัสเซียได้รับมือกับแรงกดดันจากการคว่ำบาตรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตลาดการเงินของเราทรงตัวและเงินรูเบิลแข็งค่าขึ้น อัตราเงินเฟ้อของเรากำลังลดลง และเราได้เปิดตัวกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึง การปรับทิศทางจากตลาด หันเหจากตะวันตก มุ่งสู่ตะวันออก โดยหลักแล้วก็คือตลาดเอเชียนั่นเอง”

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2565 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งแบบกายภาพและทางไกล มากกว่า 1,200 คน จาก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยตลอดระยะเวลา 11 วัน ที่ประชุมได้สานต่อการขับเคลื่อนหัวข้อหลักการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย คือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? โดยมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และหาแนวทางรับมือความท้าทายทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ที่สั่นคลอนความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และห่วงโซ่อุปทานของโลกไปพร้อมกัน โดยมีผลลัพธ์สำคัญ ดังนี้

  1. เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ ไทยตั้งเป้าหมายนำประเด็นความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) มาหารือใหม่ในบริบทยุคหลังโควิด-19 โดยจะให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืน และพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ ๆ โดยที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้เอเปคจัดทำแผนงานเพื่อสานต่อการหารือเรื่อง FTAAP อย่างต่อเนื่อง และเตรียมความพร้อมของสมาชิกเอเปคเพื่อเข้าร่วมความตกลงฯ ในอนาคต โดยจะเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
  2. เชื่อมโยงในทุกมิติ ไทยมีเป้าหมายฟื้นฟูการเดินทางในเอเปคอย่างสะดวกและปลอดภัยซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องให้เอเปคดำเนินการตามข้อเสนอของไทย ๒ โครงการ คือ (๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคนิคของใบรับรองการฉีดวัคซีนระหว่างกันเพื่อให้การตรวจสอบเอกสารประกอบ 
  3. สร้างสมดุลในทุกด้าน ไทยตั้งเป้าหมายนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหัวข้อหลักและประเด็นสำคัญในการเป็นเจ้าภาพ มาเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในเอเปคอย่างเป็นระบบและบูรณาการกับแผนงานเดิม โดยได้เสนอจัดทำเอกสารระดับผู้นำภายใต้ชื่อ “เป้าหมายกรุงเทพเรื่องเศรษฐกิจ BCG” เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการขับเคลื่อนความยั่งยืนในภูมิภาค โดยมีการหารือวาระเฉพาะกิจเป็นครั้งแรกในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นต่อประเด็นเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงร่างเอกสารที่ไทยได้ยกร่าง ให้แล้วเสร็จเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเอเปคให้การรับรองในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ ต่อไป

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่2 เป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้ขับเคลื่อนการเป็นเจ้าภาพมาครึ่งทางแล้ว อีกครึ่งปีที่เหลือไทยจะยังคงเดินหน้าสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สร้างผลงานในระดับสากลต่อไป