หมัดเด็ดปูติน! รัสเซียรุกเดือด คุมเกมใหม่ ถึงเวลาชาติตะวันตกสยบ จับตายอมเลิกคว่ำบาตร ขอแลกอาหารเพื่อเอาชีวิตรอด!?

0

จากกรณีที่มีรายงานประเด็นของสหรัฐฯ ที่อาจจะหลอกขายขีปนาวุธให้กับยูเครน ในราคาลูกละ 52 ล้านบาท ท่ามกลางวิกฤตขาดแคลนอาหารของโลก โดยอ้างอิงจากสำนักข่าวรอยเตอร์นั้น โดยเพจ World Update เผยแพร่ไว้ในเฟซบุ๊กระบุว่า “ครองอาหารได้ก็ครองประเทศ ครองพลังงานได้ก็ครองทวีป ครองเงินตราได้ก็ครองโลก แต่ยามนี้ฝ่ายสหรัฐ ผู้คุมระเบียบโลกเก่า ดูเหมือนจะตกม้าตายน้ำตื้นเสียแล้ว ชาวอเมริกันกำลังเผชิญสถานการณ์ “Bidenflation” อัตราเงินเฟ้อ 8.3% รุนแรง มากที่สุดในรอบ 40%

ล่าสุดดูเหมือนว่าชาติที่เคยคว่ำบาตรรัสเซีย กำลังจะกลับมาเดือดร้อนอีกครั้ง ในวิกฤตอาหาร โดยเฉพาะข้าวสาลี เพราะความคืบหน้าตอนนี้ในฝั่งรัสเซีย มีการเอาคืนชาติที่คว่ำบาตรโดยทางการรัสเซียคาดการณ์ว่า ชาติเหล่านั้นต้องกลับมาง้ออาหารจากรัสเซียแน่นอน

ขณะที่ในเพจเฟซบุ๊ก World Maker ได้รายงานว่า จับตาวิกฤตอาหารโลก !!! ล่าสุดสื่อรัสเซียประกาศเตือน ‘สงครามข้าวสาลีทั่วโลกกำลังจะเกิดขึ้น’ และเปรยเอาไว้ด้วยว่าชาติตะวันตกอาจ ต้องมาขอข้าวสาลีจากรัสเซียโดยยอมแลกกับการเลิกคว่ำบาตร นั่นคือคำพาดหัวข่าวที่น่าสนใจล่าสุดจาก RT ซึ่งเป็นสื่อภายใต้การดูแลของรัฐบาลรัสเซีย พร้อมกับการให้ข้อมูลว่าตอนนี้ราคาข้าวสาลีทั่วโลกกำลังพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการร์ตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อย่างเช่นรัสเซีย คาซัคสถาน และอินเดีย ได้ประกาศห้ามส่งออกธัญพืชสำคัญเพื่อปกป้อง Supply ในประเทศ

แน่นอนว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก เนื่องจากก่อนหน้านี้ราคาอาหารโลกก็ได้พุ่งทำระดับ All Time High จากภาวะเงินเฟ้อและปัญหา Supply อยู่แล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2022 มานี้ ราคาข้าวสาลีได้พุ่งขึ้นอีกมากกว่า +60% (ถือว่าเยอะมาก) โดยสาเหตุนั้นก็มาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่ง 2 ประเทศนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีเกือบ 1 ใน 3 ของโลก (รัสเซีย-ยูเครนรวมกันคิดเป็นประมาณ 30% ของโลก)

ในช่วงปี 2021-2022 ซัพพลายเออร์ของรัสเซียคิดเป็น 16% ของการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลก และผู้ผลิตยูเครนคิดเป็น 10% แต่เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้ง 2 ประเทศจึงประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี ซึ่งหมายความว่า Supply ที่มีอยู่ในตลาดโลกจะหายไปราว 30% เลยนั่นเอง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัสเซียประกาศจำกัดการส่งออกธัญพืชทั้งหมดนอกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน (ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด) และในขณะเดียวกัน ยูเครนได้สั่งปิดท่าเรือที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในเมือง Odesa ที่ตอนนี้ยังไม่ได้ถูกรัสเซียยึด

นอกจากนี้ การคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียทำให้บริษัทของชาติคู่อริต้องตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีมายาวนานและออกจากรัสเซีย ซึ่งทำให้ปัญหา Supply Chain แย่ลงไปอีกยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้สหภาพยุโรปได้ประกาศสั่งห้ามแบนความร่วมมือกับท่าเรือพาณิชย์ของรัสเซียบางแห่งทะเลดำ ซึ่งถือเป็นท่าเรือสำคัญที่ส่งออกธัญพืชมากกว่า 50% ไปยังยุโรป (แบนเองก็หิวเอง เพราะไม่มีของกิน)

ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากการตัดสินใจของรัสเซียที่จะห้ามการส่งออก ประเทศคาซัคสถาน ก็เริ่มประกาศห้ามส่งออกตามรัสเซีย และเมื่อต้นเดือนนี้ก็พึ่งประกาศอินเดียยกเลิกการส่งออกข้าวสาลีชั่วคราว โดยระบุว่า “ความมั่นคงด้านอาหารของอินเดีย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่อ่อนแออื่น ๆ อยู่ในความเสี่ยง”

สัญญาข้าวสาลีล่วงหน้าในตลาดชิคาโกของสหรับฯ พุ่งขึ้น +6% เป็น $12.47 ดอลลาร์/บุชเชล ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และราคาข้าวสาลีในยุโรปก็ได้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (Record High) ที่ประมาณ 461 ดอลลาร์/ตัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตธัญพืช ‘กำลังเกิดขึ้นในทั่วโลก’ แต่หากจะมองประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดนั้น กลับไม่ใช่ทั้งรัสเซีย ยุโรป หรือสหรัฐฯ เลย แต่กลับเป็นประเทศในในแอฟริกา ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากทะเลดำถึง 90% ของ Demand ความต้องการ

รัฐบาลตะวันตกกล่าวหาว่ารัสเซียก่อ ‘สงครามข้าวสาลี’ โดยโทษว่าทั้งหมดเป็นเพราะรัสเซียประกาศห้ามส่งออก แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รัสเซียไม่ใช่คนเดียวที่ต้องรับผิดชอบต่อวิกฤตที่เลวร้ายลง เพราะประเทศอื่นก็พร้อมใจกันประกาศงดส่งออกเช่นกัน ตอนนี้หลายชาติในยุโรปพยายามจะเรียกร้องให้ยูเครนผลิตและส่งออกข้าวสาลีต่อไป ในในสถานการณ์จริงถือว่าทำได้ยากมาก ตราบใดที่ยังอยู่ในภาวะสงครามกับรัสเซีย ในขณะที่สหรัฐฯ และ EU เองก็พยายามส่งอาวุธช่วยเหลือตลอด ซึ่งรัสเซียก็รู้เรื่องนี้ดี จึงทำสงครามยึดเพื้นที่เกษตรในยูเครนไปด้วย พร้อมกับงดส่งออก

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายอื่นอาจสามารถกอบกู้โลกจากวิกฤตอาหารในครั้งนี้ได้ โดยสื่อของรัสเซียพยายามชี้ไปที่สหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งคิดเป็นประมาณ 25% ของการส่งออกทั่วโลก ขณะที่ยุโรปเองก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ได้แก่ ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่ถึงกระนั้น นักวิเคราะห์กล่าวว่าประเทศเหล่านี้ ก็ไม่น่าจะสามารถแบ่งปันธัญพืชของตนให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้มากนัก เนื่องจากตัวเองก็จำเป็นต้องเก็บไว้บริโภคเอง และประเทศเหล่านี้ก็มักจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารของตนเองเป็นลำดับแรก

ที่น่าสนใจคือ อัตราเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นอีก หากประเทศเหล่านี้ประกาศกักตุนวัตถุดิบไว้ใช้เอง ในกรณีที่สงครามทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม “เพื่อป้องกันตนเองภายในประเทศจากความหิวโหยและลดอัตราเงินเฟ้อ ประเทศผู้ผลิตจึงพยายามรักษาวัตถุดิบเอาไว้ และเนื่องจากมีความไม่แน่นอนของสกุลเงิน(หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยน) การมีวัตถุดิบไว้ครอบครองจะมักจะทำกำไรได้มากกว่าการมีเงินสด เนื่องจากวัตถุดิบเหล่านี้ไม่เสื่อมค่าอย่างรวดเร็วเท่ากับสกุลเงิน”

เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร? มีสาเหตุและผลกระทบอย่างไร?

(ประโยคนี้ข้างบนนี้อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ‘เงินทองของมายา ข้าวปลาคือของจริง’) ทั้งนี้ยังเป็นปริศนาอย่างมากว่าวิกฤตอาหารทั่วโลกจะเลวร้ายไปถึงไหน เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก ไม่ว่าจะเป้นเงินเฟ้อ, Supply Chain, สงคราม, โรคระบาด, เทคโนโลยี และอื่น ๆ ซึ่งเราจะต้องมาติดตามเรื่องนี้กันต่อไปอย่างใกล้ชิด

 

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความ