รมว.ตปท.สหรัฐ เงิบกลางเวที UN โวย“รัสเซียใช้อาหารเป็นตัวประกัน” โดนสวนเพราะตะวันตกคว่ำบาตรเอง

0

จากกรณีอินเดีย ประกาศคำสั่งห้ามการส่งออกข้าวสาลี โดยให้มีผลบังคับใช้ในทันที เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับสองของโลก ต่อมาทางด้านเซอร์เบียก็มีมาตรการดังกล่าวตามหลังมาด้วยนั้น

ทั้งนี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บรรดาผู้ซื้อทั่วโลกได้แห่มาซื้อข้าวสาลีจากอินเดีย หลังจากที่การส่งออกข้าวสาลีจากภูมิภาคทะเลดำลดลงนับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครนในช่วงปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

ขณะที่เซอร์เบีย ก็ได้สั่งระงับการส่งออก ข้าวสาลี,ข้าวโพด,แป้ง,น้ำมัน หลังจากที่ ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ วูซิค แถลงว่า รัฐบาลเซอร์เบียเตรียมบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกสินค้ำาอุปโภคบริโภคสำคัญบางรายการ เช่น น้ำมันพืช (ได้แก่ น้ำมั่นดอกทานตะวัน น้ำมันเรพซีด และน้ำมันถั่วเหลือง) ข้าวสาลี ข้าวโพด และแป้ง

นอกจากนี้ รัฐบาลเซอร์เบียยังวางแผนจะยกเว้นการเก็บภาษีอากรจากการนำเข้าพลังงานจากประเทศกำลังพัฒนา เพื่อควบคุมระดับราคาค่าสาธารณูปโภคในประเทศ ท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลว่า มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของ EU จะนำไปสู่ภาวะการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง

ล่าสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เพจเฟซบุ๊ก Thailand Vision ได้โพสต์ข้อความรายงานจากแหล่งข่าว ระบุถึงสื่อต่างประเทศ ที่ได้เปิดเผยถึงท่าทีของรัฐมนตรีสหรัฐอเมริกา ภายหลังคว่ำบาตรรัสเซียว่า

“สื่อต่างประเทศรายงานว่า แอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประณามรัสเซียว่า ใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการโจมตียูเครน โดยเอาการส่งออกอาหารจากยูเครนเป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองกับยูเครน และคนทั่วโลก

นายบลิงเคนเรียกร้องในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ให้รัสเซียเลิกปิดล้อมท่าเรือต่าง ๆ ในยูเครน

บลิงเคน ระบุว่า ดูเหมือนรัฐบาลรัสเซียจะคิดว่า การใช้อาหารเป็นอาวุธนั้นจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายซึ่งการบุกยูเครนไม่อาจทำได้ นั่นคือการทำลายล้างจิตวิญญาณของชาวยูเครน โดยกองทัพรัสเซียจับอาหารสำหรับชาวยูเครน และชาวโลกหลายล้านคนไว้เป็นตัวประกัน

รัสเซีย และยูเครนส่งออกข้าวสาลีคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของการส่งออกทั่วโลก โดยยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน้ำมันเรปซีดรายใหญ่ของโลก ขณะที่รัสเซียและเบลารุสซึ่งหนุนหลังรัฐบาลรัสเซียในการทำสงครามในยูเครนนั้นส่งออกแร่โพแทช ซึ่งใช้ในการทำปุ๋ยกว่า 40% ของการส่งออกทั่วโลก โดยสงครามในยูเครนส่งผลให้ราคาธัญพืชทั่วโลก น้ำมันปรุงอาหาร เชื้อเพลิง และปุ๋ยมีราคาพุ่งสูงขึ้น

ด้านนายวาสซิลี เนเบนเซีย ทูตรัสเซียประจำองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวว่า “การที่รัสเซียถูกตำหนิว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกนั้น เป็นเรื่องที่ผิดอย่างสิ้นเชิง วิกฤตนี้สะสมมาหลายปีแล้ว ทั้งยูเครนกักเรือต่างชาติไว้ที่ท่าเรือ ซึ่งกองทัพรัสเซียนั้นพยายามที่จะเปิดเส้นทางอพยพที่ปลอดภัยให้กับเรือสินค้า

นอกจากนี้ ทูตรัสเซียประจำยูเอ็น ยังกล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่อรัสเซียนั้นยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารและปุ๋ยจากรัสเซีย ขณะที่นายบลิงเคนปฏิเสธคำกล่าวของรัสเซียที่ว่า มาตรการคว่ำบาตรเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตอาหาร

นายบลิงเคน ระบุต่อว่า การตัดสินใจใช้อาหารเป็นเครื่องต่อรองเกิดจากฝั่งรัสเซียเพียงฝ่ายเดียว ผลจากการกระทำของรัฐบาลรัสเซียทำให้ธัญพืชราว 20 ล้านตันกองอยู่ที่คลังเก็บสินค้า ส่งผลให้ซับพลายอาหารโลกลดลง แต่ราคากลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วโลกต้องเผชิญความไม่มั่นคงด้านอาหาร”