เซเลนสกีหน้าซีด! กองทัพรัสเซียจัดยุทโธปกรณ์ชิ้นใหม่ บุกยูเครน ประสิทธิภาพล้ำ ป้องกันศัตรูสอดแนมอยู่หมัด!?

0

หลังจากที่มาร์จอรี เทย์เลอร์ กรีน ส.ส.พรรครีพับลิกันจากรัฐจอร์เจีย ได้ออกมาประกาศดับฝันยูเครน ที่จะได้รับงบก้อนโตในการส่งมอบอาวุธ โดยมีการคัดค้านงบ40,000 ล้านดอลลาร์ ที่ไบเดนจะลงนามก่อนหน้านี้ โดยกระทรวงกลาโหมอเมริกา ออกมาเปิดเผยล่าสุด ระบุว่า การส่งอาวุธของสหรัฐฯ ให้ยูเครนอาจถูกตัด อย่างน้อย ๆ ก็ชั่วคราว จนกว่าสภาคองเกรสจะอนุมัติงบประมาณใหม่เกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับช่วยเหลือยูเครนสกัดการรุกรานของรัสเซีย

ขณะที่ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ต้องยอมรับว่า ยูเครนบอบช้ำไม่ใช่น้อย ทั้งสูญเสียกำลังพล ทหารที่หนีเอาชีวิตรอดจากสนามรบ และอาวุธที่ถูกกองทัพรัสเซียยึด รวมถึงอาวุธใหม่ที่ต้องสะดุดลงด้วย

ล่าสุดทางสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ว่านายยูริ บอริซอฟ รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย รับผิดชอบด้านการพัฒนาทางทหาร กล่าวว่า กองทัพรัสเซียใช้ระบบเลเซอร์เพื่อการโจมตีนำวิถีระยะไกล มีชื่อว่า “เปเรสเวต” ( Peresvet ) ในปฏิบัติการสู้รบที่ยูเครน โดยคุณสมบัติของอาวุธดังกล่าว สามารถโจมตีและทำลายดาวเทียมซึ่งโคจรอยู่เหนือโลกที่ระดับความสูง 1,500 กิโลเมตร

และนับตั้งแต่มีการเปิดตัวเปเรสเวต เมื่อปี 2561 พร้อมกับขีปนาวุธอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธข้ามทวีป ( ไอซีบีเอ็ม ) และขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง หรือ ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก รัสเซียแทบไม่เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธเลเซอร์มากนัก ทั้งนี้บอริซอฟกล่าวอีกว่า กองทัพได้ทดสอบประสิทธิภาพของอาวุธเลเซอร์ต้นแบบอีกชนิดหนึ่งในสงครามยูเครนด้วย มีชื่อว่า “ซาดิรา” ( Zadira ) สามารถโจมตีและทำลายโดรนที่อยู่ห่างออกไป 5 กิโลเมตร ได้ภายในระยะเวลาเพียง 5 วินาที

 

ขณะที่ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เป็นนักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ถึงเรื่องอาวุธเลเซอร์นี้ ผ่านทาง Blockdit ระบุด้วยว่า “รัสเซียนำอาวุธเลเซอร์ซาดีร่า (Zadira Laser Weapon) ตอนนี้ ถ้าเราดูข่าวประจำวัน เราจะเห็นว่ามีแต่รัสเซียที่ถล่มยูเครนฝั่งเดียวเป็นหลัก ยูเครนตอบโต้ได้บ้างโดยใช้โดรน รัสเซียจึงนำเอาอาวุธเลเซอร์ไปใช้ ข้อดีของอาวุธเลเซอร์นี้ก็คือสามารถกำจัดโดรนได้และขณะเดียวกันก็ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าใช้ขีปนาวุธอื่น ๆ ที่มีราคาแพงกว่า ในขณะเดียวกัน สามารถทำลายระบบดาวเทียมและสอดแนมของศัตรูได้ด้วย”

 

 

ขอบคุณข้อมูล : ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์