เปิดลึกสัมพันธ์พิเศษ! จีนอุ้มไทยย้ายฐานผลิตEEC ช่วยชูเป็นผู้นำอาเซียน-รบ.บิ๊กตู่หนุนโครงการสำคัญของปักกิ่ง

0

เปิดลึกสัมพันธ์พิเศษ! จีนอุ้มไทยย้ายฐานผลิตEEC ช่วยชูเป็นผู้นำอาเซียน-รบ.บิ๊กตู่หนุนโครงการสำคัญของปักกิ่ง

จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางเพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ สมัยพิเศษ (ASEAN-US Special Summit) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. ที่สหรัฐอเมริกาว่าเรื่องการเดินทางไปต่างประเทศ ตนขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีประเด็นอะไรอย่างที่สื่อบางแขนงไปพาดหัวข่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ ยืนยันว่าเป็นการประชุมปกติเป็นเหมือนการประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น หรืออาเซียน-จีน

โดยก่อนหน้านี้ นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีดังกล่าวว่า นาโต 2 มีเรื่องฮือฮาในสื่อ ที่คนมีชื่อเสียงหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเดินทางไปวอชิงตันของลุงตู่ ในทำนองว่า จะไปร่วมมือจัดตั้งนาโต 2 หรือจะชักศึกเข้าบ้าน ต้องเล่าถึงเรื่องนาโต 2 ก่อน คำนี้ยังไม่มีอยู่พจนานุกรม ไม่มีการเอ่ยถึง ไม่อยู่ในหัวข้อเจรจา ขออธิบายให้คนรุ่นหลังๆได้ทราบข้อมูลเก่า เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

นาโตเป็นองค์กรความร่วมมือทางทหารและการเมืองที่สหรัฐและพันธมิตรจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อต่อต้าน ยับยั้งการแผ่ขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น หรือรัสเซียในวันนี้ ชื่อเต็มๆคือ North Atlantic Treaty Organization NATO. ในขณะที่สหภาพโซเวียตก็มีกลุ่มองค์กรทางทหารชื่อ Warsaw Pact เช่นกัน แต่ต่อมาเมื่อคอมมิวนิสต์ล่มสลาย องค์กรวอร์ซอร์แพ็คก็ล่มไปสมาชิกวอร์ซอร์แพ็คหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐก็มาชวนหลายประเทศในเอเชียก่อตั้งองค์กรความร่วมมือทางทหาร ชื่อ
ซีโต้ South East Asia Treaty Organization SEATO. ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของซีโต้
นอกจากนี้ ไทยมีความกังวลใจต่อการรุกคืบของคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน จึงมีความตกลงร่วมมือทางทหารและการเมืองกับสหรัฐ ที่เรียกว่า สนธิสัญญาถนัด -​ รัสก์
ยิ่งกว่านั้น ในสมัยรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลในขณะนั้น กระดี้กระด้ากับคำหวานหูว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ได้รับสถานะ พันธมิตรนอกนาโต นักการเมือง สื่อมวลชนต่างหลงไหลได้ปลื้มกับพันธมิตรนอกนาโต
แล้วนาโต 2 มายังไง คนที่เอ่ยถึงคือเลขาธิการนาโต สโตเทนแบร์ก พูดเมื่อต้นเมษายนว่า ควรมีการขยายบทบาทของนาโตมายังเอเชียแปซิฟิก เพื่อกดดันจีนที่ไม่ร่วมมือโดดเดี่ยวรัสเซีย
ไทยเป็นประเทศเล็ก ที่ต้องร่วมมือกันกับเพื่อนอาเซียน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง ที่จะต้องมีการปรึกษาหารือกัน ไทยคงเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบข้ามาคนเดียวไม่ได้ ประเทศไทยมีผลประโยชน์กับหลายประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ทั้งทางด้านการค้า เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งต้องดูแลความร่วมมั่นคงของประเทศด้วย ไทยคงไม่สามารถเลือกคบหรือปฏิเสธใครได้ ไทยคงไม่สามารถเลือกข้าง คบใครคนเดียว เทอีกคนทิ้ง ไทยคงต้องสร้างสมดุลย์ ไม่ผูกพันทางทหารกับใครเพื่อเป็นศัตรูกับใคร ไทยต้องรักษาอธิปไตย ผลประโยชน์ ความมั่นคงของไทย และอาจต้องดำเนินนโยบายแบบไผ่ลู่ลม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องเริ่มต้นด้วยการทูต การเจรจา การผูกมิตร การมีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่สงคราม ไทยคงต้องรับฟังทุกปัญหา และนำกลับมาปรึกษาหารือกัน ทั้งในส่วนที่ผลประโยชน์ของไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน
การร่วมมือทางทหารคงไม่ใช่เจอกันทีเดียวจบ ต้องผ่านกระบวนการทั้งหน่วยงานความมั่นคง สภาความมั่นคงฯ ต้องหารือกัน ลุงตู่ ลุงดอน ผ่านงานความมั่นคงมานาน และมีประสบการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงอย่างดี ไม่ตกหลุมพรางง่ายๆหรอก คนไทยอาจคิดต่างกันได้ แต่ต้องไม่แตกแยก ในภาวะที่การเมืองระหว่างประเทศตึงเครียดมาก เราควรจะร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว
ล่าสุด อดีตบิ๊กข่าวกรอง ก็ได้โพสต์ข้อความต่อว่า นาโต 2 (2) ขอเพิ่มเติมเรื่องนาโต 2 เอาให้ชัดเจน จะได้ไม่คาใจ

แรกสุดอยากจะเล่าว่า ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่จะไปร่วมประชุมกับผู้นำอเมริกัน แต่ไทยและกลุ่มอาเซียนได้รับเชิญจากไบเดนให้ไปร่วมประชุม ลุงตู่ไม่ได้วิ่งไปขอให้เค้าเชิญ มีเพียงพม่าประเทศเดียวที่ไม่ได้รับเชิญ และผู้นำฟิลิปปินส์ที่จะไม่ไปเพราะติดเลือกตั้งในประเทศ
เรื่องที่สอง งงๆกับวิธีคิดว่า การไปอเมริกาจะเป็นการชักศึกเข้าบ้าน วิธีคิดอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ ไทยไม่ได้มีความขัดแย้งอะไรกับประเทศใด เราดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ ไทยพยายามถ่วงดุลย์อำนาจ ไม่ได้เป็นศัตรูกับประเทศใด ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับประเทศใด เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ที่หลายคนเป็นห่วง ไทยมีความสัมพันธ์กับจีนใกล้ชิดลึกซึ้ง ในทุกระดับ
อยากจะเล่าให้คนไทยได้ทราบว่า ไทยได้ทำความตกลงกับจีนที่เรียกว่า Comprehensive Stretegic Partnership ความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน แปลเป็นไทยง่ายๆ คือ หุ้นส่วนรอบด้าน และจีนสนับสนุนไทยในการย้ายฐานการผลิตมายัง EEC.
จีนสนับสนุนบทบาทนำของไทยในอาเซียน และไทยยังสนับสนุนโครงการ Belt and Riad Initiative ของจีน ที่สำคัญ จีนไม่เคยเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทย ความสัมพันธ์ไทยจีนเป็นความสัมพันธ์พิเศษที่หลายประเทศอิจฉา ไทยดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ ไม่เป็นศัตรูกับใคร และไม่ก้าวขาไปเข้าค่ายใดแน่นอน