ปูตินนำเกษตรครั้งเยือนไทยพัฒนาไครเมีย ปลูกข้าวได้เป็นครั้งแรก หลังโดนยูเครนปิดเขื่อนกั้นน้ำ

0

จากที่การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงดำเนินอยู่ ล่าสุดได้มีการเผยแพร่สถานการณ์ในดินแดนไครเมีย ที่โลกต้องพิจารณา กับการพัฒนา ทั้งก่อนและหลังการเข้าสู่การดูแลของประธานาธิบดีปูติน ด้วยการทำเกษตรกรรมตามรอยประเทศไทย

ทั้งนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 โดยเพจเฟซบุ๊ก World Update  ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุแหล่งที่มา Tass และ Bectn pycnja ว่า “จากผืนดินแห้งแล้งไร้น้ำเพราะยูเครนกลั่นแกล้ง วันนี้ไครเมียปลูกพืชได้แล้ว

สาธารณรัฐไครเมีย เป็นดินแดนในสหพันธรัฐรัสเซีย ที่เมื่อก่อนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของยูเครน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟเชื้อสายรัสเซีย ทำให้ถูกกดขี่อย่างหนักจากรัฐบาลกลาง ทั้งปิดเขื่อนกั้นน้ำจืด ทั้งตัดไฟฟ้า จนเกิดวิกฤติขัดแย้งสงครามต่อสู้กันขึ้น มีชาวบ้านหนีเข้าไปในรัสเซียกว่า 143,000 คน

ต่อมานายเซอร์ดี อักส์โยนอฟ ผู้นำไครเมีย ร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัสเซีย ให้ช่วยรับรองสันติภาพ และความสงบของไครเมีย ในปี 2014 ประชาชนลงประชามติกว่า 90% ไปขึ้นกับรัสเซีย และรัฐสภารัสเซียรับรองสถานะ

พื้นที่ไครเมียมีลักษณะเป็นพื้นราบยื่นไปในทะเลอยู่ในคาบสมุทรไครเมีย มีขนาดเล็กราว 27,000 ตารางกิโลเมตร  มีประชากร 2.15 ล้านคน ภายหลังมาอยู่ในปกครองรัสเซีย ก็พัฒนาที่นี่ขนานใหญ่ทุกด้านจนเจริญ มีการสร้างสะพานขนาดมหึมาเชื่อมข้ามทะเลไปแผ่นดินรัสเซีย จนเป็นพื้นที่ขึ้นชื่อด้านแหล่งท่องเที่ยว เพราะสภาพอากาศที่พอเหมาะ

ดังนั้นจึงมีรีสอร์ทริมทะเลหลายแห่ง ที่โด่งดังคือ ยัลตา มีฐานทัพของรัสเซียในเมืองเอกเซวาสโตโพล คอยปกป้องน่านน้ำ ท้องฟ้า และเป็นพื้นที่แบ่งทะเลอาชอฟ และทะเลดำ

ในด้านการเกษตรนั้นไครเมียเป็นดินแดนเหมาะแก่การเพาะปลูกด้านการเกษตร รวมถึงการปลูกผลไม้ผลิตไวน์ ทั้งยังอุดมไปด้วยต้นยาสูบ แต่ปัญหาใหญ่คือ รัฐบาลยูเครน ได้แกล้งปิดเขื่อนกั้นน้ำจืดไม่ให้มีน้ำไหลไปยังไครเมีย ทำให้เกษตรกรไม่เคยมีน้ำเพาะปลูกมาตั้งแต่ปี 2014

ภายหลังรัสเซียปลดปล่อยเมืองทางไต้ออกจากยูเครนแล้ว ทหารรัสเซียได้รับคำสั่งให้เปิดประตูเขื่อนน้ำจืดแม่น้ำดนิปาร์ให้ไหลไปตามท้ายแม่น้ำที่แห้งผากมาตลอด 8 ปี ส่งผลให้พื้นที่ไครเมียที่แห้งแล้ง เริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์ทำการเกษตรได้อีกครั้ง

เมื่อก่อนการปลูกข้าวที่นี่จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันนี้แค่ไม่ถึง 2 เดือน ในไครเมีย ข้าวถูกปลูกครั้งแรก ในพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กราว 4,000 ไร่ ในเขตเทศบาล 3 แห่ง ตอนนี้ข้าวกำลังหว่านเมล็ดและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การเก็บเกี่ยวครั้งแรกราว กันยายน 2565 แต่จะไม่ส่งออกไปขาย จะใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูถัดไป และรัฐบาลได้ส่งเสริมและวางแผนให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณและขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นในปี 2023

ประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย ได้แรงบัลดาลใจสำคัญจากครามาเยือนไทย จากนั้นมาเขาได้ขยายพื้นที่เพราะปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ จนรัสเซียกลายเป็นผู้ส่งออกอาหารขายเลี้ยงชาวโลกถึงราว 30% ในทุกวันนี้ เกษตรกรไครเมีย กำลังพลิกผืนดินให้อุดมสมบูรณ์อิ่มอาหารจากวีรบุรุษชื่อ วลาดิเมียร์ ปูติน อีกครั้ง”